ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคจุดรับภาพชัดเสื่อมเหตุจากอายุ

ผู้แต่ง

  • ณัฐนิช ขันหลวง ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุนีย์ ละกำปั่น ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, โรคจุดรับภาพชัดเสื่อมเหตุจากอายุ, PRECEDE PROCEED

บทคัดย่อ

                 การวิจัยพรรณนาเชิงวิเคราะห์นี้ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคจุดรับภาพชัดเสื่อมเหตุจากอายุ โดยประยุกต์ PRECEDE-PROCEED Framework เป็นกรอบทฤษฎี กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคจุดรับภาพชัดเสื่อมเหตุจากอายุ ที่แผนกผู้ป่วยนอกจักษุกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เลือกตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 100 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

                 ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุโรคจุดรับภาพชัดเสื่อมเหตุจากอายุอยู่ในระดับปานกลาง ( = 73.45, SD = 13.37) ปัจจัยที่มีอืทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า การรับรู้ความรุนแรงของโรคฯ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และระดับการมองเห็น โดยสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 34.9 (Adj R²= 0.349, p = 0.024) และพบว่า ภาวะซึมเศร้ามีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด (beta= - 0.374)

                     จากข้อค้นพบนี้เสนอแนะให้พยาบาลชุมชนควรให้ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับโรคและอาการต่าง ๆ รวมถึงวิธีการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตากับครอบครัวผู้สูงอายุ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตาให้กับผู้สูงอายุ รวมถึงการดูแลด้านจิตใจของผู้สูงอายุโรคจุดรับภาพชัดเสื่อมเหตุจากอายุ เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าซึ่งจะช่วยใหคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุดีขึ้น

Author Biography

ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Assoc. Prof. Kwanjai  Amnatsatsue, Ph.D. (Nursing)

References

Kongkar R, Charoenkitkarn V, Tosuksri W, Sareewiwatthana P. Factors affecting the result of nursing licensure examination among bachelor graduates from faculty of nursing, Mahidol University. Nurs Sci J 2012; 30(3): 82-91. (in Thai)

Booranatanit C, Sinakom D, Boonprasert N, Theangjit R. Factors related to Thai Nursing Council’s Examination results for registering as first-class nursing and midwifery professionals of nursing graduates of Boromarajonani College of Nursing, Sawanpracharak Nakhonsawan. J Grad Res 2019; 10(2): 229-48. (in Thai)

Office of the Higher Education Commission (OHEC). Guidelines for Higher Education Standards. Bangkok: Office of the Higher Education Commission; 2018.

Chaijaroen S. Instructional design: Principles and theories to practices. 2nd ed. Khon Kean University; 2016.

Thammetar T. E-Learning: from theory to practice. Thailand Cyber University (TCU) Project: Office of the Higher Education Commission; 2014.

Ratanaterakul A. Install and system administration Moodle e-Learning (complete edition). Bangkok: SE-EDUCATION; 2015.

Chanchusakun S. Concept, principle and strategies for learning outcomes evaluation. JEM-MSU 2018; 24(1): 14-28. (in Thai)

Handayanto A, Supandi S, Ariyanto L. Teaching using Moodle in mathematics education. J Phys Conf Ser 2018; 1013: 1-4.

Puenkeaw N. Using Moodle E-Learning to develop learning achievement in Fundamental English of 1st year: International conference for innovation the second time; 2018.

Nasongkhla J. Digital learning design. Bangkok: Chulalongkorn University; 2018.

Chuencham J, Kittiboonthawal P, Ubolyaem D. Effects of using interactive E-learning lessons in students’ health examination topic among nursing students’ learning achievement. JHNR 2020; 36(2): 234-42. (in Thai)

Wajanawisit T. Development of E-learning on Information Technology course, Kuakarun Faculty of Nursing. KJN 2014; 21(1): 100-13. (in Thai)

Komonwipast N, Pakdevong N. Effectiveness of E-learning Courseware Media of BNS 408: Law and Professional Ethics for student’s readiness of nursing licensing examination 2013; Rangsit University.

Mostafa MF, Salama H, Elwasefy SA. Introducing Moodle as a new path for nursing education: Students’ perception, experience and barriers. Am J Nurs Res 2017; 5(6): 243-49.

Artsub S, Kunkum S, Sitipoomongkol A. Effectiveness of Moodle E-learning for Kinesiology Students JPR2R 2015; 2 (August): 81-9. (in Thai)

Namburi S, Sureerattanan N, Thianthong M. Development of model and software module for ethical behavior assessment and improvement regarding to learner’s learning responsibility in E-Learning environment. J YRU 2010; 5(1): 41-58. (in Thai)

Insa-ard, S. Tips e-learning instruction for instructional designer. Bangkok: SE-EDUCATION; 2018.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30

How to Cite

ขันหลวง ณ., ละกำปั่น ส., & อำนาจสัตย์ซื่อ ข. (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคจุดรับภาพชัดเสื่อมเหตุจากอายุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 36(1), 118–134. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/255443