ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และผลการตรวจเสมหะของผู้ป่วยวัณโรค
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยวัณโรคปอด, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผลการตรวจเสมหะบทคัดย่อ
วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างมาก หากการรักษาไม่ประสบความสำเร็จจะทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อสู่ชุมชนและการดื้อยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยวัณโรคต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและอัตราการตรวจเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรคเมื่อสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาวัณโรคด้วยสูตรยาระยะสั้น ณ คลินิกวัณโรคโรงพยาบาลราชบุรี สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากรายชื่อผู้ป่วยที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยในแต่ละวันที่มีบริการคลินิก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 22 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับคำแนะนำตามปกติจากบุคลากรสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การค้นพบสภาพการณ์จริง (2) การสะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสม (4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ ระยะเวลาดำเนินโปรแกรม 4 สัปดาห์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบบันทึกผลการตรวจเสมหะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบเปรียบเทียบด้วย Chi-square test, Fisher’s exact test, และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง หลังการทดลอง ของกลุ่มทดลองและ กลุ่มเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 10.17, p < 0.001) อัตราการตรวจเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรคเมื่อสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้นของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ผลการศึกษาแสดงว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยวัณโรคส่งผลให้ผู้ป่วยวัณโรคมีพฤติกรรมการดูแลตนเองมากขึ้น ผลการวิจัยสรุปว่า สามารถนำการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นแนวทางการพัฒนาระบบงานในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ และป้องกันการดื้อยาวัณโรคในชุมชน
References
World Health Organization. Global tuberculosis control: A short update to the 2009 report. WHO report 2009. Geneva: World Health Organization; 2009.
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Report of tuberculosis program performance in Thailand, 2009-2015; 2016. (in Thai)
Bureau of tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. National tuberculosis control program guidelines Thailand. 2nded. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited; 2013. in Thai)
Bureau of tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Tuberculosis treatment guidelines in adults, 2012. Bangkok: Office of Publishing Enterprise Veterans Affairs under the Royal Patronage; 2012. (in Thai)
Doncommul P. Effectiveness of implementing empowerment program on adherence to treatment regimen among persons with intensive phase of pulmonary tuberculosis ,Lampang Hospital. [Master Thesis (Nursing)]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2012.
Boonnak S, Boompendej R, Hutanoon V, Vijitbanjong S. Death of tuberculosis patients during reatment Phra Nakhon Si Ayuthaya Province. Thai journal of tuberculosis chest diseases and critical care 2005; 28: 137-149. (in Thai)
Singhares R. Factors related to medication adherence among tuberculosis patients. [Master Thesis (Nursing)]. Chonburi: Burapha University; 2007.
Soonthorndhada A. Tuberculosis policy in Thailand : A civil society perspective. Nakhon Pathom: Institute for population and social research; 2007. (in Thai)
Rientrairat P, Chalasonthi M, Worakasemsuk P. The evaluation of treatment outcome of anti-tuberculosis drugs regimen CAT 2(2HRZES/1HRZE/5HRE) and anti-tuberculosis drugs regimen CAT 4 (second line drugs ) in pulmonary tuberculosis patients at tuberculosis cluster, Bureau of AIDS-TB-STIS. Thai journal of tuberculosis chest diseases and critical care 2006; 27: 222-228. (in Thai)
Sumano A. Effects of home visit program toward pulmonary tuberculosis patients' compliant behavior in Si Racha District, Chonburi Province. [Master Thesis (Nursing)]. Chonburi: Burapha University; 2007.
Pungsakul J. Default rate and related factors of new pulmonary tuberculosis cases in the social security system of the private hospitals in Samut-Prakan Province. [Master Science (Community Medicine)]. Bamgkok: Chulalongkorn University; 2005.
Ratchaburi Provincial Health Office. Performance report summary of results Ratchaburi. Ratchaburi: Ratchaburi Provincial Health Office; 2013. (in Thai)
Lertvasana S. Factors effecting self-care practices of pulmonary tuberculosis patients at Department of Health Bangkok Metropolitan Administration. [Master of Science Degree].Bangkok: Srinakharinvirot University; 2003.
Thanasilp S, Pakcharoen N. The effect of using educative-supportive group program on self care agency of HIV persons with pulmonary tuberculosis. Thai AIDS journal 2006; 18: 12–26. (in Thai)
Gibson CH. A study of empowerment in mothers of chronically ill children. [Unpublished Doctoral Dissertation]. Boston: Boston College; 1993.
Puraya A. Effects of empowerment program based on family participation self-efficacy and caring behavior for caregivers with cerebrovascular disease: A case study of Wangnumyen District: Srakeaw Province. [Master Thesis (Nursing)]. Chonburi: Burapha University; 2008.
Meetean T. Empowerment process for leukemic children: A case study method. [Master of Nursing Science Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2008.
Mahawarakom S. The effectiveness of the empowerment to control blood sugar on personal self-care with diabetes mellitus type II, and complications patients, Udon Thani Hospital, Udon Thani Province. [Master of Public Health Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2008.
Srisatidnarakul B. Research methodology in nursing. 5thed. Bangkok: U & I International Media; 2010. (in Thai)
Cohen S, Wallis TA. Stress social support and buffing hypothesis. Psychological Bulletin 1987; 98: 310-353.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)