ผลของการใช้แนวปฏิบัติการงดน้ำ งดอาหารในมารดาผ่าตัดคลอดต่อระดับน้ำตาลในเลือดของทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดทารกแรกเกิดจากหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดระหว่างกลุ่มที่ได้รับแนวปฏิบัติการงดน้ำงดอาหารแบบใหม่กับแบบเดิม ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - สิงหาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี คัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 31 คน รวม 62 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ แบบบันทึกข้อมูลของทารกแรกเกิด และแบบคัดกรองภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิดซึ่งพัฒนามาจากแนวทางการปฏิบัติในทารกที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ซึ่งได้นำแนวทางจาก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ แห่งประเทศไทย ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ค่าความตรงตามเนื้อหา .95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการทดสอบทีแบบเป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า ทารกหลังคลอดในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดจากสายสะดือสูงกว่ากลุ่มควบคุม ในขณะที่การคัดกรองภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 1.89, -1.65 , p = .03, .04 ตามลำดับ)
แนวปฏิบัติแบบใหม่สามารถนำไปปรับใช้การเตรียมผ่าตัดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดของทารกแรกเกิดต่ำกว่าปกติจากมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดปกติ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเตรียมผ่าตัดสาขาอื่นต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
American College of Obstetricians and Gynecologists. (2006). ACOG practice bulletin: Clinical management guidelines for obstetrician-gynecologists number 76, October 2006: Postpartum hemorrhage. Obstetrics & Gynecology, 108(4), 1039-1047. https://doi.org/10.1097/00006250-200610000-00046
Cheng, Y., Lu, Y., Liu, H., & Yang, C. (2022). The effect of preoperative oral carbohydrate on the time to colostrum and amount of vaginal bleeding after elective cesarean section The Journal of Obstetrics and Gynecology Research, 48(10), 2534-2540. https://doi.org/10.1111/jog.15375
Chestnut, D. H., Wong, C. A., Tsen, L. C., NganKee, W. D., Beilin, Y.,Mhyre, J., Bateman, B. T., & Nathan, N. (2019). Chestnut's obstetric anesthesia: Principles and practice: Expert consult (6th ed.). Elsevier.
Cohen, J. (1992) Quantitative Methods in Psychology: A Power Primer. Psychological Bulletin, 112, 155-159. https://doi.org/10.1037/0033-2909.112.1.155
Detintaranarak, J. (2023). Incidence and risk factor of neonatal hypoglycemia in high risk infant, Nakhonpathom Hospital. Region 4-5 Medical Journal, 42(2), 187–198. (in Thai)
He, Y., Liu, C., Han, Y., Huang, Y., Zhou, J., & Xie, Q. (2021). The impact of oral carbohydrate-rich supplement taken two hours before caesarean delivery on maternal and neonatal perioperative outcomes--a randomized clinical trial. BMC Pregnancy and Childbirth, 21, Article 682. https://doi.org/10.1186/s12884-021-04155-z
Health Promotion Hospital, Regional Health Promotion Center 5 Ratchaburi. (2024) Newborn statistics 2022-2024. Health Promotion Hospital, Health Center 5 Ratchaburi. (in Thai)
Kotfis, K., Wojciechowska, A., Zimny, M., Jamioł-Milc, D., Szylińska, A., Kwiatkowski, S., Karolina Kaim, K., Dołęgowska, B., Stachowska, E., Zukowski, M., Pankowiak, M., Torbé, A., & Wischmeyer, P. (2023). Preoperative oral carbohydrate (CHO) supplementation is beneficial for clinical and biochemical outcomes in patients undergoing elective cesarean delivery under spinal anaesthesia-A randomized controlled trial. Journal of Clinical Medicine, 12(15), Article 4878. https://doi.org/10.3390/jcm12154978
Mulyani, E. Y., Briawan, D., Santoso, B. I., & Jus' At, I. (2021). Effect of dehydration during pregnancy on birth weight and length in West Jakarta. Journal of Nutritional Science, 10, Article 70. https://doi.org/10.1017/jns.2021.59
Shi, Y., Dong, B., Dong, Q., Zhao, Z., & Yu, Y. (2021). Effect of preoperative oral carbohydrate administration on patients undergoing cesarean section with epidural anesthesia: A pilot study. Journal of PeriAnesthesia Nursing, 36(1), 30-35. https://doi.org/10.1016/j.jopan.2020.05.006
Tangwiwat, S., Wongyingsinn, M., Kasemsiri, C., Charoenraj, P., Bunchungmongkol, N., Soonthornkes, N., Nongnuang, K., Lekprasert, V., Pattaravit, N., Horatanaruang, D., Tirasuntornwong, V., Pinsopon, M., Ariyanuchitkul, T., Thienthong, S., Suraseranivongse, S. (2021). Preoperative or pre-procedural fasting guidelines in patients undergoing elective surgery and procedures by the Royal College of Anesthesiologists of Thailand. Thai Journal of Anesthesiology, 47(4), 380-387. (in Thai)
The Royal College of Anesthesiologists of Thailand. (2021). Preoperative or pre-procedural fasting guidelines in patients undergoing elective surgery and procedures. https://www.rcat.org/_files/ugd/82246c_9d2c46a24c854bcd9daaecd92325ef39.pdf
Thongbunnum, T., & Kanchanabat, S. (2017). Effects of newborn babies born to mothers with gestational diabetes at the Faculty of Medicine, Vajira Hospital, Navamindradhiraj University. Vajira Medical Journal and Urban Medicine Journal, 61(1), 20-23. (in Thai)