การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และประเมินผลของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 12 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในกลุ่มหลอดเลือดสมองตีบตันแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบวัดความรู้และทักษะเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันของพยาบาลวิชาชีพ มีค่าความเชื่อมั่นคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .75 และ.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ประกอบด้วย 1) คัดกรองเข้าช่องทางด่วน 2) ประเมินและวินิจฉัย 3) การพยาบาลเบื้องต้นและเฉพาะเจาะจง 4) การเรียกทีมช่วยเหลือ 5) เตรียมการส่งต่อทางทะเลและทางบก 6) เข้าระบบดูแลผู้ป่วยแบบเคลื่อนที่ และ7) ติดตามผลหลังส่งต่อ
2. พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน หลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน เพิ่มสูงขึ้น มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.49, p = .032; t = 5.16, p <.001)
3. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน มีระยะเวลาในการเข้าถึงหน่วยเคลื่อนที่สำหรับรักษาโรคหลอดเลือดสมอง และระยะเวลาในการเข้าถึงการรักษาโรคหลอดเลือดสมองแบบเร่งด่วน ภายหลังการทดลองใช้รูปแบบ เร็วกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (t = 1.30, p = .003; t = 1.13, p < .001)
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้พัฒนาประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลันส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ปลอดภัยและผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมาย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
Butsing, N. (2019). Caring process for acute stroke patients. The Journal of Thailand and Midwifery Nursing Council, 34(3), 15-29. (in Thai)
Kiatchaipipat, S., Chanbang, S., Kamsuwan, C., & Chuypitak, P. (2021). A development of nursing model for acute stroke patients in the ischemic group nursing network in Ratchaburi Province. Journal of Nursing Division, 48(3), 39-51. (in Thai)
Koh Sichang Hospital. (2021). Hospital annual report, year 2020-2021. Koh Sichang Hospital. (in Thai)
Middleton, S., Grimley, R., & Alexandrov, A. W. (2015). Triage, treatment, and transfer: evidence-based clinical practice recommendations and models of nursing care for the first 72 hours of admission to hospital for acute stroke. Stroke, 46(2), 18-25. https://doi.org/10.1161/STROKEAHA.114.006139
Ministry of Public Health. (2017). Health Data Center: HDC. https://kkhdc.moph.go.Th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11 (in Thai)
Neurological institute of Thailand. (2015). Clinical nursing practice guideline for stroke. Neurological institute of Thailand. (in Thai)
Phongsa, Y. (2020). The results of the development of a care model for cerebrovascular disease patients at Sirinthon Hospital, Khon Kaen Province. Journal of the Khon Kaen Provincial Public Health Office, 2(2), 139-54. (in Thai)
Polchaiyo, S., Masaeng, A., & Kerdkaew, B. (2018). Development of a care system for stroke patients within the context of a tertiary hospital. Nakhon Phanom University Journal, 25th Anniversary Academic Conference Issue Boromarajonani College of Nursing Nakhon Phanom, 26-35. (in Thai)
Powers, W. J., Rabinstein, A. A., Ackerson, T., Adeoye, O. M., Bambakidis, N. C., Becker, K., Biller, J., Brown, M., Demaerschalk, B. M., Hoh, B., Jauch, E. C., Kidwell, C. S., Leslie-Mazwi, T. M., Ovbiagele, B., Scott, P. A., Sheth, K. N., Southerland, A. M., Summers, D. V., Tirschwell, D. L., & The American Heart Association Stroke Council. (2018). 2018 guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: A guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke, 49(3), 46-99. https://doi.org/10.1161/STR.0000000000000158
Proctor, B. (2010). Training for the supervision alliance: Attitude, skills and intention. In Routledge handbook of clinical supervision (pp. 23-33). Routledge.
Wiwattrakul K., & Anosri, L. (2017). Development of a nursing model for acute stroke patients at Kalasin Hospital. Journal of Nursing Division, 44(2), 26-45. (in Thai)
World Stroke Organization. (2020). Annual report 2020. https://www.world-stroke.org/aboutwso/wso-annual-report