ผลของโปรแกรมการจัดการความรู้ต่อการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ได้รับยายับยั้งการคลอดของพยาบาลวิชาชีพ ประจำห้องคลอด ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง

Main Article Content

นงลักษณ์ เกิดท่าไม้

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 2) ผลการให้การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และ 3) เปรียบเทียบผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยด้านการคลอดก่อนกำหนด ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการจัดการความรู้ต่อการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดฯ แบบบันทึกข้อมูล และแบบวัดความรู้และการปฏิบัติการพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ เท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและการทดสอบไคสแควร์


ผลการเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างก่อนและหลังหลังใช้โปรแกรมการจัดการความรู้ต่อการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ได้รับยายับยั้งการคลอด พบว่า 1) อัตราการคลอดก่อนกำหนดลดลงจากร้อยละ 21.62 ลงมาที่ร้อยละ 8.11 2) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการบริหารยายับยั้งการคลอดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 72.97 เป็นร้อยละ 91.89 ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยดีขึ้นตามเป้าหมาย สอดคล้องกับผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ได้รับยายับยั้งการคลอด เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01, p < .001)


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการจัดการความรู้ต่อการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ได้รับยายับยั้งการคลอดที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alijahan, R., Hazrati, S., Mirzarahimi, M., Pourfarzi, F., & Hadi, P. A. (2014). Prevalence and risk factors associated with preterm birth in Ardabil, Iran. Iranian Journal of Reproductive Medicine, 12(1), 47-56.

Beck, S., Wojdyla, D., Say, L., Betran, A. P., Merialdi, M., Requejo, J. H., Rubens, C., Menon, R., & Van Look, P. F. (2010). The worldwide incidence of preterm birth: A systematic review of maternal mortality and morbidity. Bulletin of the World Health Organization, 88, 31-38. https://doi.org/10.2471/BLT.08.062554

Blencowe, H., Cousens, S., Oestergaard, M. Z., Chou, D., Moller, A. B., Narwal, R., Adler, A., Garcia, C. V., Rohde, S., Say, L., & Lawn, J. E. (2012). National, regional, and worldwide estimates of preterm birth rates in the year 2010 with time trends since 1990 for selected countries: A systematic analysis and implications. The Lancet, 379(9832), 2162-2172.

Rubenstein-Montano, B., Liebowitz, J., Buchwalter, J., McCaw, D., Newman, B., Rebeck, K., & Team, T. K. M. M. (2001). A systems thinking framework for knowledge management. Decision Support Systems, 31(1), 5-16.

Chang, Y. K., Tseng, Y. T., & Chen, K. T. (2020). The epidemiologic characteristics and associated risk factors of preterm birth from 2004 to 2013 in Taiwan. BMC Pregnancy and Childbirth, 20, 1-7.

Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Dashe, J. S., Hoffman, B. L., Casey, B. M., & Spong, C. Y. (2018). Williams Obstetrics (25th ed.). McGraw-Hill.

Kaewsiri, P., Hemadhulin, S., Ansook, P., & Naosrisorn, P. (2020). The empowerment of pregnant women to prevent the risk of preterm labor: Nurse’s roles. Srinagarind Medical Journal, 35(2), 238-245. (in Thai)

Khongkha, U. (2022). The nursing care to pregnant women in preterm labor by using collaborative partnership: The multiple case study. The Academic and Nursing Journal of Boromarajonani College of Nursing, Chakriraj, 2(1), 50-65. (in Thai)

Nakhopathom Hospital Quality Center. (2021). Annual report of Nakhonpathom Hospital. Nakhopathom Hospital Quality Center. (in Thai)

Office of Policy and Strategy, Ministry of Public Health. (2020). Inspection report form Ministry of Public Health Fiscal year 2020, Topic 3.1 Mother and child health Zone 5, Round 2/2020. https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2020/07-4052-20200707114121/15d3d74cafe01e4427001553cad2bfff.pdf (in Thai)

Pinkaew, S., Ratinthorn, A., & Serisathien, Y. (2014). The effect of program of care for pregnant women at risk for preterm labor on the rate of preterm labor and preterm birth. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 22(4), 58-71.

Royal College of Obstetricians and Gynecologists of Thailand. (2015). Medical practice guidelines for the Royal College of Obstetricians and Gynecologists of Thailand. P.A. Living. (in Thai)

World Health Organization. (2016). WHO recommendation on antenatal care for a positive pregnancy experience. https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/250796/97892415?sequence=1