ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ในพื้นที่ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

อัจริยา วัชราวิวัฒน์
พัชนา เฮ้งบริบูรณ์พงศ์ ใจดี
จิรภัค สุวรรณเจริญ
ปราชญาวตี ยมานันตกุล
สรัญญ์รักษ์ บุญมุสิก
มนตรี อภัยวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความรุนแรงของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ระหว่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการฝึกควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะของผู้สูงอายุที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ มีค่าความเชื่อมั่นคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .70 และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการใช้โปรแกรมสูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 5.25, 12.66) มีระดับความรุนแรงด้านปริมาณปัสสาวะลดลง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.67 ในขณะที่มีระดับความรุนแรงด้านความบ่อยของการปัสสาวะลดลง จำนวน 6 คน ร้อยละ 20.00 และมีระดับความพึงพอใจต่อโปรแกรมการฝึกควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะอยู่ในระดับมาก (M = 4.24, SD = .42)


ควรนำโปรแกรมการฝึกควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะตามบทบาทพยาบาล ดังนี้ 1) คัดกรองกลุ่มเสี่ยง 2) ป้องกันการเกิดปัญหา 3) แก้ไขปัญหา 4) จัดโปรแกรมการปัสสาวะ และ 5) ฟื้นฟูความสามารถในการกลั้นปัสสาวะ ไปใช้ในผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงที่ต้องการดูแลใกล้ชิด เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและหูรูดกระเพาะปัสสาวะ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Fumaneeshoat, O., & Phaktongsuk, P. (2017). Prevalence of urinary incontinence in the elderly in Banpru Municipality, Hat Yai District, Songkhla Province, Thailand. Songklanagarind Medical Journal, 35(2), 133-138. (in Thai)

Inkum, J. (2015). Urinary incontinence in the elderly. Journal of Medicine and Health Sciences, 22(1), 58-68. (in Thai)

Jirawaranan, S., & Jaipang, C. (2019). Urinary incontinence in the elderly: Role of nurses. Vajira Nursing Journal, 21(2), 77-87. (in Thai)

Numchaisrika, O., & Thaithae, S. (2019). Effects of empowerment program and using smartphone application on self-management behaviors in the women with urinary incontinence. Kuakarun Journal of Nursing, 26(2), 78-62. (in Thai)

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). Mosby.

Phithanthananukul, P. (2020). Urinary incontinence in the elderly. Journal of Health Science Boromarajonani College of Nursing Sanphasitthiprasong, 4(1), 20-36. (in Thai)

Pongmeta, S., Nuansing, T., Singweratham, N., Nawsuwan, K., & Khammathit, A. (2021). The effect of an exercise program to reduce the severity of urinary incontinence among female elderly at Ban Dung municipal elderly school, Ban Dung District, Udon Thani Province. Journal of Community Health Council, 3(3), 75-84. (in Thai)

Ruangpraphan, C. (2000). Basic statistics with examples of analysis using Minitab SPSS and SAS. Khon Kaen University. (in Thai)

Sribenjalak, W., & Limpawattana, P. (2013). Urinary incontinence in the elderly. North-Eastern Thai Journal of Neuroscience, 8(2), 82-92. (in Thai)

Wongsri, P., & Chintapanyakul, T. (2018). The application of Orem's theory to the care and counseling of patients with heart failure. Journal of the Police Nurses, 10(1), 209-213. (in Thai)

World Health Organization. (2017). Integrated care for older people guidelines (ICOPE) about evidence profile: Urinary incontinence. World Health Organization.