ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของข้าราชการทหารที่สำนักงานแพทย์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย

Main Article Content

ปฏิพัทธ์ วุฒิวิทยารักษ์
นิตยา เพ็ญศิรินภา
เอกพล กาละดี

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบสำรวจเชิงวิเคราะห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตราการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของข้าราชการทหารที่สำนักงานแพทย์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (สนพ.) และ 2) อิทธิพลของปัจจัยดังกล่าวต่อการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ สนพ. กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการทหารสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและ/หรือโรคเบาหวาน จำนวน 350 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิตามหน่วยงานในพื้นที่กองบัญชาการกองทัพไทย เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87 และ .84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก


ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของข้าราชการทหาร ที่ สนพ. เท่ากับ ร้อยละ 67.14 2) ข้าราชการทหารที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 49.63 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 30,001-40,000 บาท เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีระยะเวลาที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี และไม่มีโรคประจำตัวชนิดอื่น ปัจจัยด้านความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านคุณภาพบริการพบว่าอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ สนพ. คือ ความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ โดยสามารถอธิบายโอกาสที่ข้าราชการจะไปใช้บริการรักษาที่ สนพ.ได้เป็น 1.94 เท่า (95% CI = 1.02-3.72)


ผลการวิจัยนี้ นำไปปรับปรุงคุณภาพการให้บริการรักษา การเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาโรคให้ครอบคลุมทุกกลุ่มโรค การเพิ่มจำนวนบุคคลากรให้เพียงพอต่อการให้บริการ และรักษามาตรฐานด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการให้บริการต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aekplakorn, W. (Ed.). (2021). Thai national health examination survey, NHES VI B.E. 2019-2020. Aksorn Graphic and Design. (in Thai)

Baunoo, W., & Sitakalin, P. (2019). Expectation and perception of service quality of clients of the accident and emergency department in Nongkhai Hospital. Journal of Health Education, 42(1), 157-172. (in Thai)

Guolla, M., Belch, G. E., & Belch, M. A. (2017). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective (6th ed.). McGraw-Hill.

Daengprom, R. (2018). Factors affecting the service of Songklanagarind Hospital [Unpublished master thesis]. Ramkhamhaeng University. (in Thai)

Kamolrat, T. (2021). Service quality affecting satisfaction of customers of Kasemrad International Rattanathibeth Hospital [Unpublished master thesis]. Ramkhamhaeng University. (in Thai)

Karnjanapiboonwong, A., Khamwangsanga, P., & Kaewtha, S. (2020). Situation report on NCDs, diabetes, hypertension, and related risk factors. Aksorn Graphic and Design. (in Thai)

Kim, K. Y., Eunmi, L. E. E., & Jeonghyun, C. H. O. (2020). Factors affecting healthcare utilization among patients with single and multiple chronic diseases. Iranian Journal of Public Health, 49(12), 2367-2375.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Levesque, J. F., Harris, M. F., & Russell, G. (2013). Patient-centred access to health care: Conceptualising access at the interface of health systems and populations. International Journal for Equity in Health, 12, Article 18. http://www.equityhealthj.com/content/12/1/18

Military Service Regulations Act B.E. 1978. (1978, 20 April). Thai Government Gazette. Vol. 95. part 43 Special Edition, 1-20. (in Thai)

Mosadeghrad, A. M. (2014). Factors influencing healthcare service quality. International Journal of Public Health and Management, 3(2), 77-89.

Murphy S. L, Kochanek, K. D., Xu, J. Q., & Arias, E. (2021). Mortality in the United States, 2020. National Center for Health Statistics. https://dx.doi.org/10.15620/cdc:112079

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.

Preventive Medicine Division. (2022). Fiscal annual health survey report. Medical Office, Support Services Department, Royal Thai Armed Forces Headquarters. (in Thai)

Sangthong, K., Taengkliang, B., Tepraksa, N., Chotchara, P., & Nhothong, S. (2020). Factors of service quality affecting the decision-making to use service of Nabon Hospital in Nakhon Si Thammarat. Local Administration Journal, 13(2). 1-13. (in Thai)

Silanoi, L., & Chindaprasert, K. (2019). The use of rating scale in quantitative research on social sciences, humanities, hotel, and tourism study. Journal of Management Science, Ubon Ratchathani University, 8(15), 112-116. (in Thai)

Tunwong, T., Pensirinapa, N., & Keerapong, P. (2016). Factors related to medical care usage of chronic disease patients at Sub-district Health Promoting Hospitals in Khao Yoi Health Network, Phetchaburi Province. Journal of Safety and Health, 9(31), 26-36. (in Thai)

World Health Organization. (2022, 16 September). Noncommunicable diseases. http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases.