ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมารับการรักษาทันเวลา ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลหัวหิน

Main Article Content

สุปรียา สนธิ
ฐิฉัฐญา นพคุณ
จุไรรัตน์ ดวงจันทร์

บทคัดย่อ

        การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการรักษาทันเวลาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการวิเคราะห์อำนาจการทดสอบ ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 130 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิด PRECEDE Model ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี


          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มารับการรักษาทันเวลาภายใน 4.5 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 53.80 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพบว่า สถานภาพคู่ (ORadj = .33; 95%CI = .12 - .87) การรับรู้ความรุนแรงระดับสูง (ORadj = .65.49; 95%CI =9.43 - 454.62) ร่วมทำนายการมารับการรักษาทันเวลาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ได้ร้อยละ 54.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


         การวิจัยนี้สนับสนุนว่า การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง และสถานภาพสมรส เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการมารับการรักษาได้ทันเวลา จึงควรรณรงค์ให้บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และคู่สมรส รวมไปถึงบุคคลในครอบครัวใกล้ชิด ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค และเข้ารับการรักษาตามแนวทางช่องทางด่วนได้ทันเวลา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs: เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กัญจน์ณิชา เยียดไธสง, อภิญญา วงศ์พิริยโยธา, และ พจนีย์ ขูลีลัง. (2562). ปัจจัยทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจากเกิดอาการในระยะเฉียบพลัน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 148-156.

จิราพร บุญโท. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าก่อนถึงโรงพยาบาลในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. หัวหินเวชสาร, 1(3), 10-22.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ, และ ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 12(1), 38-48.

พัชราภรณ์ ปินตา. (2564). ปัจจัยทำนายการมารักษาทันเวลาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 4(3), 46-58.

พีชญา ศรีสา, รุ่งทิพย์ เบ้าตุ่น, ปัฐยาวัชร ปรากฏผล, และ อุทัยทิพย์ จันทร์เพ็ญ. (2562). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลามาถึงโรงพยาบาลหลังเกิดอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลพระพุทธบาท. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(1), 7-15.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2564). โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke): ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข.

สัตกช โพธิ์คำ. (2563). การรับรู้ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดชนิดขาดเลือดระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 15(4), 66-75.

Advani, R., Naess, H., & Kurz, M. W. (2017). The golden hour of acute ischemic stroke. Scandinavian Journal of Trauma, Resuscitation and Emergency Medicine, 25, Article 54. https://doi.org/10.1186/s13049-017-0398-5

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed). Prentice-Hall.

Fladt, J., Meier, N., Thilemann, S., Polymeris, A., Traenka, C., Seiffge, D. J., Seiffge, D. J., Sutter, R., Peters, N., Gensicke, H., Flückiger, B., de Hoogh, K., Künzli, N., Bringolf‐Isler, B., Bonati, L. H.,Engelter, S. T., Lyrer, P. A., & De Marchis, G. M. (2019). Reasons for prehospital delay in acute ischemic stroke. Journal of the American Heart Association, 8(20), Article e013101. https://doi.org/10.1161/JAHA.119.013101

GBD 2015 Mortality and Causes of Death Collaborators. (2016). Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: A systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015. Lancet, 388(10053), 1459-1544.

GBD 2019 Stroke Collaborators. (2021). Global, regional, and national burden of stroke and its risk factors, 1990-2019: A systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2019. The Lancet Neurology, 20, 795-820.

Hsieh, M., Tang, S., Chiang, W., Huang, K., Chang, A. M., Ko, P. C., Tsai, L., Jeng, J., & Ma, M. H. (2014). Utilization of emergency medical service increases chance of thrombolytic therapy in patients with acute ischemic stroke. Journal of the Formosan Medical Association, 113(11), 813-819.

Jin, H., Zhu, S., Wei, J. W., Wang, J., Liu, M., Wu, Y., Wong, L. K. S., Cheng, Y., Xu, E., Yang, O., Anderson, C. S., Huang, Y., & ChinaQUEST Investigators. (2012). Factors associated with prehospital delays in the presentation of acute stroke in urban China. Stroke, 43(2), 362-370.

Rakchue, P., & Poonphol, S. (2019). Factor influencing pre-hospital delay among acute ischemic stroke patients in Rajavithi hospital. Journal of Thai Stroke Society, 18(1), 5-13.

Ruiz, R. G., Fernández, J. S., Ruiz, R. G., Bermejo, M. R., Arias, Á. A., Pinto, A. S., Meneses, A. L., Paniagua, E. B., & Alemán, J. A. (2020). Factors related to immediate response to symptoms in patients with stroke or transient ischaemic attack. Neurología (English Edition), 35(8), 551-555.

Soto-Cámara, R., González-Santos, J., González-Bernal, J., Martín-Santidrian, A., Cubo, E., & Trejo-Gabriel-Galán, J. M. (2019). Factors associated with shortening of prehospital delay among patients with acute ischemic stroke. Journal of Clinical Medicine, 8(10), Article 1712. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6832968/pdf/jcm-08-01712.pdf

Stevens, J. (1996). Applied multivariate statistics for the social sciences (3rd ed.). Lawrence Erlbaum.

Vallippalam, J., Krishna, S., Suresh, N., Sunny, A. A., Karthikeyan, & Iyer, R. S. (2021). Stroke education focusing on recognition and response to decrease pre-hospital delay in India: Need of the hour to save hours. Interdisciplinary Neurosurgery, 26, Article 101309. https://doi.org/10.1016/j.inat.2021.101309

Waelveerakup, W., Lapvongwatana, P., Leelacharas, S., & Davison, J. (2019). Factors predicting stroke pre-hospital delay behavior intention among people with high risk of stroke. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 23(3), 271-284.

Wang, R., Wang, Z., Yang, D., Wang, J., Gou, C., Zhang, Y., Zian, L., & Wang, Q. (2021). Early hospital arrival after acute ischemic stroke is associated with family members’ knowledge about stroke. Frontiers in Neurology, 12, Article 652321. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8187751/

Zhou, Y., Yang, T., Gong, Y., Li, W., Chen, Y., Li, J., Wang, M., Yin, X., Hu, B., & Lu, Z. (2017). Pre-hospital delay after acute ischemic stroke in central urban China: Prevalence and risk factors. Molecular Neurobiology, 54(4), 3007-3016.