ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร และความสุขของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรและความสุขของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 78 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรและความสุขในการ จำนวน 39 คนและกลุ่มควบคุมที่ปฏิบัติงานตามปกติ จำนวน 39 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กรและความสุขของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .86 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
1. พยาบาลวิชาชีพกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรและความสุข มีคะแนนเฉลี่ยความผูกพันต่อองค์กรและความสุขสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 28.50, 17.01; p < .05 ตามลำดับ)
2. พยาบาลวิชาชีพกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรและความสุข มีคะแนนเฉลี่ยความผูกพันต่อองค์กรและความสุขสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 34.65, 15.44; p < .01 ตามลำดับ)
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ควรนำโปรแกรมการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรและความสุข ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรพยาบาล เพื่อเพิ่มแรงจูงใจและความสุขในการทำงาน ลดความขัดแย้ง ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร และสัมพันธภาพที่ดีทั้งกับเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และผู้รับบริการ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กรรณฑวรรณ ชุ่มเชื้อ. (2558). ผลของโปรแกรมการสร้างความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ แผนก ผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 22(1), 59-71.
กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2564). รายงานอัตรากำลัง กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี ประจำปีงบประมาณ 2563 - 2564. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี.
กิจจา อ่วมแเก้ว. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 12(2) ,119-139.
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2556). หลักการจัดการ: องค์การและการจัดการสมัยใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย วรพงศธร, และ สุรีย์พร วรพงศธร. (2561). การคํานวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป G*Power. วารสารกรมอนามัย, 14(2), 11-21.
นฤมล สุธีรวุฒิ. (2558). ภาวะหมดไฟ: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางในการป้องกัน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 32(91), 16-25.
ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานการพยาบาล พ.ศ.2562. (2562, 28 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 97 ง. หน้า 30-36. https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/A111.PDF.
ประภาพร พฤกษะศรี. (2557). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทสยาม แม็คโคร จํากัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ปานจิตต์ กลันทกพันธ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ปิยะมาศ เกิดแสง. (2562). ความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนครปฐม [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.
วิจิตร ศรีสุพรรณ, และกฤษฎา แสวงดี, (2562). ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลและแนวทางการแก้ไข: การจัดการปัจจัยระดับบุคคล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 232-244.
สิรินันท์ ขุนเพ็ชร์, และ ฮอเดียะ บิลยะลา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 69-80.
อนุดิษฐ์ ฐานไชยกร. (2562). ความผูกพันในองค์การ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(1), 32-45.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of occupational psychology, 63(1), 1-18.
Devito, J. A. (2003). Human communication: The basic course (9th ed.). Pearson Education.
Herzberg, F. (1968). One more time: How do you motivate employees?. Harvard Business Review, 46(1), 53-62.
Manion, J. (2003). Joy at work!: Creating a positive workplace. JONA: The Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-659.
The Gallup Organization. (2008). Employee engagement. Gallup’s Research-Based Approach. https://www.gallup.com/workplace/229424/employee-engagement.aspx.