ประสิทธิผลโครงการรักอย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และตั้งครรภ์ไม่พร้อมในนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

พัชนียา เชียงตา
ณัฏฐ์นรี คำอุไร
พรนิภา วงษ์มาก
ชิดชนก พันธ์ป้อม
ภัสสร เลาะหะนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโครงการรักอย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและตั้งครรภ์ไม่พร้อม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 116 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดำเนินโครงการบนพื้นฐานของแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะที่จำเป็น เก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนทดลองและหลังทดลอง โดยใช้แบบวัดความรู้ ค่าความเชื่อมั่นคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .75 แบบสอบถามทัศนคติต่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้การตั้งครรภ์ไม่พร้อม การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภายหลังเข้าร่วมโครงการรักอย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและตั้งครรภ์ไม่พร้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -3.14, -4.21, p < .01) ตามลำดับ และทัศนคติการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและตั้งครรภ์ไม่พร้อม หลังเข้าร่วมโครงการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ t = -8.29, p < .01  


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า โครงการรักอย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะที่จำเป็น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2564, 27 มิถุนายน). โควิด ทำพิษ หญิงไทยท้องไม่พร้อมพุ่ง พึ่งสายด่วน 1663 หาทางออก. https://www.hfocus.org/content/2021/06/22005

เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2565, 11 กรกฎาคม). ไทยเผยตัวเลข "ท้องไม่พร้อม" ลดลง! แต่ยังมีปัญหาพื้นที่ห่างไกล คุมกำเนิดผิดวิธี. https://www.hfocus.org/content/2022/07/25485

ชัชนัย ติยะไทธาดา, และ พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2556). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(2), 146-154.

ชลดา กิ่งมาลา, ทัศนีย์ รวิวรกุล, และ อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2558). ผลของโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 31(3), 25-34.

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, อิชยา มอญแสง, และ พัชรินทร์ ไชยบาล. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนวัยรุ่น จังหวัดพะเยา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(3), 340-353.

นันทพร ศรีเมฆารัตน์. (2563). รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5(3), 96-104.

พอเพ็ญ ไกรนรา, เมธิณี เกตวาธิมาตร, และ มัณฑนา มณีโชติ. (2556). ผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลต่อความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 19(2), 20-30.

เพียรศรี นามไพร. (2560). ความรู้ และเจตคติ ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ ตาบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 14(3), 67-75.

รัศมิ์ลภัส ใจยะสิทธิ, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, และ ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. (2561). การประยุกต์รูปแบบการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฝึกทักษะในการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(3), 1-18.

วรรณศิริ ประจันโน, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, และ พรนภา หอมสินธุ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายตามแนวความคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(2), 39-51.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. (2565). สถิติสาธารณสุข 2564. http://www.sro.moph.go.th/ ewtadmin/ewt/saraburi_web/main.php?filename=index

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานประจำปี 2564 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์.https://rh.anamai.moph.go.th/th/department-yearly-report/download/?did=207441&id=82926&reload=

อุทัยวรรณ สกุลวลีธร, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, และ นฤมล ธีระรังสิกุล. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศในวัยรุ่นหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(2), 253-264.

อรทัย ปานเพชร, และ ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2563). การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น: แนวทางการป้องกันและเฝ้าระวัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 31(2), 280-292.

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed). Prentice-Hall.

Fisher, J. D., & Fisher, W. A. (2002). The Information Motivation Behavioral Skills Model. In R. J. DiCliment., R. A. Crosby., & M. C. Kegler (Eds.), Emerging theories in health promotion practice and research (pp. 40-70). Jossey-Bass.