ผลการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบมุ่งเป้าอย่างรวดเร็วใน 1 ชั่วโมงของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

Main Article Content

พิชญพันธุ์ จันทระ
สมพร ศรีทันดร
ฐิตินันท์ วัฒนะชัย
ณัฐพล ยุวนิช
กิตติศักดิ์ หมั่นเขตรกิจ
วรวรรณ สัมฤทธิ์มโนพร
นุชนารถ เขียนนุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบมุ่งเป้าอย่างรวดเร็วใน 1 ชั่วโมงของพยาบาลวิชาชีพ ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2563 –31 ธันวาคม 2563 จำนวน 73 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย แบบบันทึกกระบวนการดูแล และผลลัพธ์การดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ใช้สถิติพรรณนา    


ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบมุ่งเป้าอย่างรวดเร็วใน 1 ชั่วโมง โดยมีการส่งแลคเตทในเลือดภายใน 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 95.90 การเจาะเลือดเพาะเชื้อ 2 ขวด ก่อนให้ยาต้านจุลชีพ ภายใน 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 98.60 การได้รับยาต้านจุลชีพชนิดออกฤทธิ์กว้างขวางภายใน 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 95.90 อัตราการได้รับสารละลาย crystalloid fluid ภายใน 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 93.10 การได้รับ vasopressor คิดเป็นร้อยละ 80.80ผลลัพธ์ของปฏิบัติตาม 1-hour Sepsis Bundle ได้แก่ การเกิดภาวะช็อกเมื่อครบเป้าหมายการรักษาภายใน 6 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 16.40 และพบอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 28.80


ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติตาม 1-hour Sepsis Bundle มีแนวโน้มที่จะช่วยแก้ไขและลดอาการรุนแรงของโรคได้ภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากเข้ารับการรักษาโดยเฉพาะระบบไหลเวียนโลหิตที่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564. http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/kpi_template _edit%201.pdf

พรพิมล อรรถพรกุศล, จิราภรณ์ คุ้มศรี, สินจัย เขือนเพชร, นัยนา วัฒนากูล, พรนภา เอียมลออ, เพียงพิมพ์ ตันติลีปิกร, ยุทธนา สมานมิตร, และ นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ. (2563). ระบาดวิทยาการติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ปี 2018. วารสารกรมการแพทย์, 45(4), 175-183.

รินนิภา สวนสุข, เยาวภา เพียรพานิช, และ สาวิตริี รินทีี. (2565). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 12(1), 170-189.

ศจีรัตน์ โกศล, ประภาพร ชูกำเหนิด, และ ปราโมทย์ ทองสุข. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการการเฝ้าระวังการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 14(1), 97-111.

สุทธิชัย แก้วหาวงค์, และ ดลวิวัฒน์ แสนโสม. (2563). ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลระยะ 1 ชั่วโมงแรกต่อผลลัพธ์ที่คัดสรรในผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่แผนกงานฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(1), 196-206.

อาภรณ์ นิยมพฤกษ์, พิชญพันธุ์ จันทระ, พัชรี ยิ้มแย้ม, และ น้ำอ้อย ภักดีวงษ์. (2556). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(2), 14-24.

Boonmee, P., Ruangsomboon, O., Limsuwat, C., & Chakorn, T. (2020). Predictors of mortality in elderly and very elderly emergency patients with sepsis: A retrospective study. The Western Journal of Emergency Medicine, 21(6), 210–218. https://doi.org/10.5811/westjem.2020.7.47405

Bouza, C., & López-Cuadrado, T. (2019). Epidemiology and Trends of Sepsis in Young Adults Aged 20-44 Years: A Nationwide Population-Based Study. Journal of Clinical Medicine, 9(1), Article 77. https://doi.org/10.3390/jcm9010077

Branco, M. J. C., Lucas, A. P. M., Marques, R. M. D., & Sousa, P. P. (2020). The role of the nurse in caring for the critical patient with sepsis. Revista Brasileira de Enfermagem, 73(4), Article e20190031. https://doi.org/10.1590/0034-7167-2019-0031

Donabedian, A. (2005). Evaluating the quality of medical care. The Milbank Quarterly, 83(4), 691–729. https://doi.org/10.1111/j.1468-0009.2005.00397.x

Evans, L. M., Rhodes, A., Alhazzani, W., Antonelli, M., Coopersmith, C. M., French, C., Machado, F. R., Mcintyre, L., Ostermann, M., Prescott, H. C., Schorr, C., Simpson, S., Wiersinga, W. J., Alshamsi, F., Angus, D. C., Arabi, Y., Azevedo, L., Beale, R., Beilman, G., … & Levy, M. M. (2021). Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Critical Care Medicine, 49(11), 1063-1143. https://doi.org/10.1097/CCM.0000000000005337

Glass, G. V., McGaw, B., & Smith, M. L. (1981). Meta-Analysis in Social Research. Sage.

Harley, A., Johnston, A. N. B., Denny, K. J., Keijzers, G., Crilly, J., & Massey, D. (2019). Emergency nurses' knowledge and understanding of their role in recognizing and responding to patients with sepsis: A qualitative study. International emergency nursing, 43, 106–112. https://doi.org/10.1016/j.ienj.2019.01.005

Knaus, W. A., Draper, E. A., Wagner, D. P., & Zimmerman, J. E. (1985). APACHE II: a severity of disease classification system. Critical Care Medicine, 13(10), 818–829.

Levy, M. M., Evans, L. E., & Rhodes, A. (2018). The surviving sepsis campaign bundle: 2018 update. Intensive care medicine, 44(6), 925-928. https://doi.org/10.1097/CCM. 0000000000003119

Martin-Loeches, I., Guia, M. C., Vallecoccia, M. S., Suarez, D., Ibarz, M., Irazabal, M., Ferrer, R., & Artigas, A. (2019). Risk factors for mortality in elderly and very elderly critically ill patients with sepsis: a prospective, observational, multicenter cohort study. Annals of Intensive Care, 9(1), Article 26. https://doi.org/10.1186/s13613-019-0495-x

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2022). Essentials of nursing research: Appraising evidence for nursing practice (10th ed.). Wolters Kluwer Health.

Rhodes, A., Evans, L. E., Alhazzani, W., Levy, M. M., Antonelli, M., Ferrer, R., Kumar, Sevransky, J. E., Sprung, C. L., Nunnally, M. E., Rochwerg, B., Rubenfeld, G. D., Angus, D. C., Annane, D., Beale, R. J., Bellinghan, G. J., Bernard, G. R., Chiche, J., Coopersmith, C.,... & Dellinger, R. P. (2017). Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016. Intensive Care Medicine, 43(3), 304–377. https://doi.org/10.1007/s00134-017-4683-6

World Health Organization. (2020, 26 August). Sepsis. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sepsis#:~:text=Sepsis%20is%20a%20life-threatening, multiple%%2020 organ%20failure%20and%20death