ผลของการใช้หุ่นจำลองเสมือนจริงในการตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจในเด็ก ต่อความสามารถ และความมั่นใจในการตรวจร่างกาย ระบบทางเดินหายใจในเด็กของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

จารุวรรณ สนองญาติ
ยุคนธ์ เมืองช้าง
ลักขณา ศิรถิรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถและความมั่นใจก่อนและหลังการใช้หุ่นจำลองเสมือนจริงในการตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจในเด็กของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความมั่นใจและแบบประเมินความสามารถในการฝึกตรวจระบบทางเดินหายใจในเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า


1. ความสามารถในการตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจในเด็กของกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมการเรียนการสอนโดยการใช้หุ่นจำลองเสมือนจริงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง (t = 12.52, p < .001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 13.42, p < .05)


2. ความมั่นใจในการตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจในเด็กของกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมการเรียนการสอนโดยการใช้หุ่นจำลองเสมือนจริง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 13.89, p < .001)


ผลการวิจัยแสดงว่า หุ่นจำลองเสมือนจริงในการตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจในเด็กสามารถนำไปใช้เป็นเป็นสื่อในการเรียนการสอนภาคทดลองก่อนการปฏิบัติจริงกับผู้ป่วยในคลินิกได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิศารัตน์ รวมวงษ์, มัณฑนา เหมชะญาติ, และ บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์. (2554). ผลของการใช้หุ่นแขนและหลอดเลือดจำลองต่อความสามารถในการใช้สารน้ำและเจาะเลือดทางหลอดเลือดดำของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(1), 395-407.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวิริยาสาส์น.

ลักขณา ศิรถิรกุล, ดารินทร์ พนาสันต์, และ จารุวรรณ สนองญาติ. (2563). ผลของการใช้หุ่น Suction ต่อความสามารถในการดูดเสมหะของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(6), 374-388.

วโรดม เสมอเชื้อ, กวินวรา นาวินประเสริฐ, นัยนา เมธา, และ ณยฎา สรวิสูตร. (2563). การเรียนการสอนทางการพยาบาลโดยใช้หุ่นจำลองผู้ป่วยเสมือนจริงสมรรถนะสูง. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 26(1), 1-12.

สมจิตต์ สินธุชัย, และ กันยารัตน์ อุบลวรรณ. (2560). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 29-38.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม. (2559). การพัฒนาหุ่นจำลองเพื่อฝึกทักษะทางคลินิกของนักศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พยาบาลสาร, 43(2), 142-151.

สุรชาติ สิทธิปกรณ์. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยหุ่นจำลองเสมือนจริงต่อความมั่นใจในตนเองและความพึงพอใจของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Bandura A. (1977). Self-efficacy: the exercise of control. W.H. Freeman and Company.

Cohen J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences (2nd ed). Academic Press.

Foronda, C., Liu, S., & Bauman, E. B. (2013). Evaluation of simulation in undergraduate nurse education: An integrative review. Clinical Simulation in Nursing, 9(10), 409-416.

Kolb, A. Y., & Kolb, D. A. (2009). Experiential learning theory: A dynamic, holistic approach to management learning, education and development. In Armstrong, S. J. & Fukami, C. (Eds.) Handbook of Management Learning, Education and Development (pp.42-68). Sage.

Kolb, D. A. (2014). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. FT press.

Mould, J., White, H., & Gallagher, R. (2011). Evaluation of a critical care simulation series for undergraduate nursing students. Contemporary Nurse, 38(1-2), 180-190.