ผลของการสอนโดยใช้นวัตกรรมสื่อการสอนทางอินเทอร์เน็ต เรื่อง การคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ ต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมสื่อการสอนทางอินเทอร์เน็ต เรื่อง การคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ รายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ และ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมสื่อการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นวัตกรรมสื่อการสอนทางอินเทอร์เน็ต เรื่อง การคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .81 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมสื่อการสอนทางอินเทอร์เน็ต มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลภายหลังการสอนด้วยนวัตกรรมสื่อการสอนทางอินเทอร์เน็ต (M = 18.26, SD = 1.85) สูงกว่าก่อนเรียน (M = 14.86, SD = .58) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 21.37, p < .001) และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (M = 3.62, SD = .87) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านอรรถประโยชน์ (M = 3.64, SD = .91) และต่ำสุดในด้านความถูกต้อง (M = 3.55, SD = .92)
ผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปเป็นข้อมูลสนับสนุนในการนำนวัตกรรมสื่อการสอน เรื่อง การคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ. (2564). คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. http://dmscaretools.dms.go.th/geriatric/download/ DMS_Aging_screening.pdf
เดือนเพ็ญ บุญมาชู, ธัญทิพย์ คลังชํานาญ, และ ภรณี แก้วลี. (2564). ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วย e-Learning ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 352-364.
นิภา กิมสูงเนิน, และ สุวรีย์ เพชรแต่ง. (2559). ผลการใช้สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(1), 63-74.
บุศบา ทาธง, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, และ บุษกร แก้วเขียว. (2562). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้แอฟฟลิเคชั่นไลน์ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตในรายวิชา การพยาบาลบุคลลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(1), 155-168.
ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ, ผกามาศ พีธรากร, และ ภคพร กลิ่นหอม. (2563). การพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(3), 1-15.
ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง: กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 8-13.
ละเอียด แจ่มจันทร์, และ สายสมร เฉลยกิตติ. (2557). พลเมืองอาเซียน: แนวคิดในการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 155-161
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วริศา วรวงศ์, พูลทรัพย์ ลาภเจียม, และ วราภรณ์ บุญยงค์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้เรียนรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ, 25(2), 1-25.
วณิชา พึ่งชมพู, และ ศิริรัตน์ ปานอุทัย. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วย E-Learning สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในกระบวนวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร, 41(ฉบับพิเศษ), 11-25.
สาวิตรี สิงหาด, สุฬดี กิตติวรเวช, และ อธิพงศ์ สุริยา. (2561). ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 124-137.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). บุญศิริการพิมพ์.
สายสมร เฉลยกิตติ, สรินทร เชี่ยวโสธร, และ ญาดา นุ้ยเลิศ. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม สื่อการสอนเสมือนจริงโดยสมาร์ทโฟน. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(1), 5-15.
สรินทร เชี่ยวโสธร, ญาดา นุ้ยเลิศ, และ สายสมร เฉลยกิตติ. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเสมือนจริงของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก ต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(3), 152-163.
อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, วารุณี เกตุอินทร์, สุวรรณี แสงอาทิตย์, และ วิโรจน์ ฉิ่งเล็ก. (2554). การทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง อุทกเศียร (Hydrocephalus) สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(2), 91-103.
Best, W. J. (1997). Research in education. Allyn and Bacon.
Gould, J. (2012). Learning theory and classroom practice in the lifelong learning sector (2nd ed.). Learning Matters.
Griffin, C. (1983). Curriculum theory in adult lifelong education. Croom Helm.
Knowles, M.S. (1984). Self-directed learning: A neglected species (3rd ed.). Gulf Publishing.
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale: Reading in attitude theory and measurement. Wiley & Son.
McGriff, S. J. (2000). Instructional system design (ISD): Using the ADDIE model.
https://www.lib.purdue.edu/sites/default/files/directory/butler38/ADDIE.pdf
Trilling, B., & Fadel, C. (2009). Learning and innovation skills. 21st century skills learning for life in our times. Jossey-Bass.