แนวทางการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี: การวิจัยแบบผสมผสาน

Main Article Content

ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ
สรัลรัตน์ พลอินทร์
ชนาภา สมใจ

บทคัดย่อ

    


การวิจัยผสมผสานแบบขั้นตอนเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี และ 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน และบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ปี 2563 กลุ่มละ 131 คน รวมทั้งสิ้น 363 คน ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน และบัณฑิต ที่สำเร็จการศึกษา ปี 2563 กลุ่มละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


1. คะแนนเฉลี่ยคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี อยู่ในระดับมาก (M = 4.16, SD = .38) ความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน และบัณฑิตเกี่ยวกับคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของบัณฑิต โดยรวมไม่แตกต่างกัน (p = .73) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และรูปแบบการเรียนการสอน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของบัณฑิต (r = .22 และ .18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2. มีแนวทางการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ดังนี้ 1) จัดการเรียนการสอนทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงกับโรคอุบัติใหม่และภาวะสุขภาพของประชาชน 2) พัฒนาผู้เรียนที่สามารถใช้ให้เหมาะสมกับแหล่งทุน 3) จัดการเรียนการสอนที่คำนึงยุคสมัยของผู้เรียน เน้นการพัฒนาการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาการปฏิบัติงาน 4) เลือกใช้และพัฒนานวัตกรรมหรือแนวทางใหม่มาแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการได้ 5) พัฒนาภาวะผู้นำ 6) พัฒนาการสื่อสารทางบวก 7) ทักษะการคำนวณยา สารน้ำ และการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 8) นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน และ 9) การปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์


ผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตพยาบาลตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติด้านทักษะทางปัญญาและความรู้มากขึ้น เพื่อการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และสอดคล้องความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 16). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉันท์ทิพย์ พลอยสุวรรณ, กนกอร พิเดช, สุวารี โพธิ์ศรี, และ ฐานิตา พึ่งฉิ่ง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 13(1), 97-113.

นาตยา พึ่งสว่าง, และ สิริพร บุญเจริญพานิช. (2562). คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. วารสารแพทย์นาวี, 44(2), 1-17.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. (2561, 3 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 1 ง. หน้า 7-11.

ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ, ศิริลักษณ์ กิจสวัสดิ์, กัญญาณัฐ ศิริโชติ, และ สุภลักษณ์บุญเหลือ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 1(1), 57-69.

ปวิดา โพธิ์ทอง, สุพัตรา จันทร์สุวรรณ, สุนทรี ขะชาตย์, และ เสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ และผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF). วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 124-131.

ปัทมาภรณ์ คงขุดทด, ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์, นุชมาศ แก้วกุลฑล, นฤมล ปรมาสวัสดิ์, และ มยุรี พางาม. (2563). ความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณภาพบัณฑิตและอัตลักษณ์ของพยาบาลจบใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ปีการศึกษา 2561. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(6), 1086-1094.

ผจงศิลป์ เพิงมาก, เทวิกา เทพญา, พิมพิศา ศักดิ์สองเมือง, และ อุดม พานทอง. (2561). การรับรู้ทัศนคติ และประสบการณ์การใช้เทคนิควิธีการสอนด้วยแนวคิด “การเรียนรู้เชิงรุก” ตามมุมมองของอาจารย์ผู้สอน ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19(1), 137-149.

รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ, และพีระ เรืองฤทธิ์. (2560). คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ ประชารักษ์ นครสวรรค์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2559. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

รุ่งนภา จันทรา, เพ็ญศรี ทองเพชร, และ อติญาณ์ ศรเกษตริน. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(4), 90-101.

ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา, รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์, และ ประนอม โอทกานนท์. (2559). ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 94-103.

ศุภามณ จันทร์สกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจ กับความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลของ นักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม,19(37), 119-134.

ศิริมา เขมะเพชร. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา พยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(1), 116-124.

ศุกร์ใจ เจริญสุข, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, ทุติยรัตน์ รื่นเริง, กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, และ สุนทราวดี เธียรพิเชฐ. (2563). การประเมินสมรรถนะด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของบัณฑิตพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(2), 158-168.

สมใจ วินิจกุล และ วัลยา ตูพานิช. (2556).ปัจจัยทำนายสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษารายวิชาสุขภาพคนเมืองและการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์, 21(พิเศษ), 51-65.

สุปราณี พลธนะ, และนันทกาญจน์ หาญพรม. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 19-34.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาพพิมพ์.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.

Graneheim, U. H., & Lundman, B. (2004). Qualitative content analysis in nursing research: Concepts, procedures and measures to achieve trustworthiness. Nurse Education Today, 24(2), 105-112.

Guba, E. G., & Lincoln, Y. S. (1989). Fourth generation evaluation. Sage.