ผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในโครงการหมอในบ้านพยาบาลในใจ ต่อสมรรถนะสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลและนักศึกษาแพทย์

Main Article Content

เพ็ญจมาศ คําธนะ
จิราภรณ์ อนุชา
นงนุช วงศ์สว่าง
สมบัติ หัชลีฬหา

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษาหลังการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรในโครงการหมอในบ้านพยาบาลในใจ และเปรียบเทียบสมรรถนะสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษาก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และนักศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ศูนย์แพทย์ศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี จำนวน 80 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือการจัดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ: กิจกรรมเสริมหลักสูตรในโครงการหมอในบ้านพยาบาลในใจและแบบประเมินสมรรถนะสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษา ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบวิลคอกซัน


ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษาหลังการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ในโครงการหมอในบ้านพยาบาลในใจอยู่ในระดับมาก (M = 3.98, SD = .62) แต่ไม่แตกต่างจากก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร (M = 3.96, SD = .55)


ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ควรออกแบบกิจกรรมที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ จัดประสบการณ์ให้นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้เชิงบวก และเน้นการลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย, ปัญญา ทองนิล, นภาเดช บุญเชิดชู, ชัยยุธ มณีรัตน์ โยธิน ศรีโสภา, และ มุทิตา ทาคำแสน. (2563). การเรียนรู้จากการปฏิบัติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 10(3), 155-163.

จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, ธวัชชัย ยืนยาว, สุชาดา นิ้มวัฒนากุล, และ สุขุมาล แสนพวง. (2563). ความพร้อมต่อการเรียนแบบสหวิชาชีพของนักศึกษาอุดมศึกษาจังหวัดสุรินทร์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(1), 25-34.

ณัฐนันท์ วรสุข, สุริยะ ปิยผดุงกิจ, และ สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2563). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบสหสาขาวิชาชีพต่อสมรรถนะการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพและความสุขของนักศึกษา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 50-61.

ณัฐิกา ราชบุตร, สมหมาย กุมผัน, และ พรรวินท์ ธนินธิติพงศ์. (2563). สมรรถนะด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพ ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(2), 182-191.

ธวัชชัย ยืนยาว, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, และ วรนาถ พรหมศวร. (2562). ผลการจัดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพต่อการรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพและความสามารถในการทํางานเป็นทีม วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 20(1), 137-147.

ธัญญมล สุริยานิมิตรสุข, ทุติยรัตน์ รื่นเริง, เอกพจน์ สืบญาติ, เครือวัลย์ แพทนัทธี, และ อัจฉราวรรณ ยิ้มยัง. (2563). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบสหสาขาวิชาชีพ (IPE) เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ปกติต่อสมรรถนะในการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(2), 380-387.

เปรมฤดี ศรีวิชัย, และ กันติยา ลิ้มประเสริฐ. (2562). พฤติกรรมการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 138-147.

พรศิริ พันธสี, และ เจตจรรยา บุญญกูล. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมและการปฏิบัติตามกฎหมายในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 10(1), 81-94.

พิมพาพัญ ทองกิ่ง. (2563). บทบาทครูกับการจัดบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวกในศตวรรษที่ 21.ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(1), 50-59.

รัชฎา สหะวรกุลศักดิ์, ศิรินาถ ตงศิริ, และ หทัยชนก ประดิษฐ์ผล. (2564). ปัจจัยความสำเร็จและความท้าทายในการพัฒนากิจกรรมการเรียนร่วมสหสาขาวิชาชีพของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและเครือข่าย. บูรพาเวชสาร, 8(1), 95-111.

วณิชา ชื่นกองแก้ว. (2561). คู่มือการจัดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

วิรัช วรรณรัตน์. (2560). คะแนนสอบและการตัดเกรด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 1-11.

วิริยาภรณ์ แสนสมรส, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, นิศากร เยาวรัตน์, อมรรัตน์ สว่างเกตุ, และ นพวรรณ ดวงจันทร์. (2560). คุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล: กรณีศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(4), 144-159.

วีระศักดิ์ พุทธาศรี, และ วณิชา ชื่นกองแก้ว (บ.ก.). (2560). รายงานการประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ ครั้งที่ 3 เรียนร่วมวิชาชีพ สู่ทีมสุขภาพไทย. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพ (ศสช.).

ศิริญญ์ รุ่งหิรัญ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(1), 109-120.

สานิตย์ หนูนิล. (2556). การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(1),131-148.

สุณี เศรษฐเสถียร. (2558). รูปแบบการเรียนการสอนแบบสหสาขาวิชาชีพ ณ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูโรงพยาบาลอุดรธานี. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 25(2), 65-70.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, วารุณี เกตุอินทร์, อัจฉราวดี ศรียศักดิ์, สุทธานันท์ กัลกะ, จุรีรัตน์ กิจสมพร, อรชร อินทองปาน, และ สรัลรัตน์ พลอินทร์ (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อทักษะการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(1), 125-135.