การพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่: แอปพลิเคชั่น “ดูฟัน” จังหวัดตรัง ปี 2565 (การแปรงฟันคุณภาพโดยใช้แอปพลิเคชั่น “ดูฟัน” บันทึกผลการย้อมสีฟัน)

Main Article Content

อาภาพรรณี เขมวุฒิพงษ์
สุนิสา อินทนิน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชั่น “ดูฟัน” สำหรับครูในการบันทึกการย้อมสีฟันของเด็กระดับชั้นประถมศึกษา และ 2) ประสิทธิผลของการใช้งานแอปพลิเคชั่น “ดูฟัน” ในการบันทึกการย้อมสีฟัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครูจากโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในจังหวัดตรังที่สมัครใจเข้าร่วมใช้แอปพลิเคชั่น “ดูฟัน” จำนวน 25 คน และ 2) นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 3-5 จำนวน 213 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแอปพลิเคชั่น “ดูฟัน” ที่มีการใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน ทั้งในระบบแอนดรอยด์และไอโอเอส ที่สามารถบันทึกข้อมูลการย้อมสีฟัน ข้อมูลสาระความรู้ และการประมวลผล และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชั่น “ดูฟัน” ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา เปรียบเทียบผลการย้อมสีแผ่นคราบจุลินทรีย์โดยใช้สถิติการทดสอบวิลคอกซัน


ผลการวิจัยพบว่า ในการย้อมสี ครั้งที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยการติดสีคราบจุลินทรีย์ เท่ากับ 2.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .31 มีค่ากลางเท่ากับ 3.00 ส่วนในการการย้อมสี ครั้งที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยการติดสีคราบจุลินทรีย์เท่ากับ 2.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .67 มีค่ากลางเท่ากับ 2.00 และผลการทดสอบโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (Z = -10.08, p <.001) และความพึงพอใจของครูต่อการใช้แอปพลิเคชั่น “ดูฟัน” ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.65, SD = .28)


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าแอปพลิเคชั่น “ดูฟัน” สามารถช่วยในการบันทึกข้อมูลและประมวลผลอย่างเป็นระบบ สามารถเรียกดูผลเพื่อเปรียบเทียบสีที่ติดบนตัวฟันได้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยตรวจเช็คความสะอาดของฟัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย เรื่อง เด็กไทยกับโรคฟันผุ ปัญหาใหญ่ที่ส่งผลถึงอนาคต. https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/kid-and-decay-tooth/

กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. (2563). รายงานสรุปผลการสำรวจสภาวะ ทันตสุขภาพประจำปี 2563. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง

กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. (2565). สรุปรายงานผลกิจกรรมรณรงค์ “ฟัน สะอาด เหงือกแข็งแรง” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง.

กิติศักดิ์ วาทโยธา, และ ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนอายุ 12 ปี เขตพื้นที่อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. ทันตสาร, 40(1), 81-96.

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2562). Chatbot 21 วันฟันดี ตัวช่วยดูแลฟันลูกน้อยตลอด 21 วัน. https://www.dent.psu.ac.th/unit/rohc/index.php/inovation/

คณาวุฒิ คำพินิจ, วชิรา เครือคำอ้าย และ สนิท สัตโยภาส. (2558). ผลการใช้แบบบันทึกความดี ในการปลูกจิตสํานึกเชิงจริยธรรมด้านความเคารพของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษารองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 3(2), 96-110.

จุฬนาริน วิทยวรรณกุล, อรวรรณ นามมนตรี, และ วรวัฒน์ แก่นจันทร์. (2562). สภาวะทันตสุขภาพและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 30(2), 131-141.

ธิดารัตน์ นวนศรี. (2556). ผลกระทบของโรคในช่องปากต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/9781

เปรมฤดี ศรีสังข์, และ นุชวรา ดอนเกิด. (2562). ผลของการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ. วารสารทันตาภิบาล, 30(2), 105-120.

พรอนันต์ ลือสกุล, ชูศักดิ์ เอกเพชรม และ นัฎจรี เจริญสุข. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชั่นบันทึกพฤติกรรมนักเรียนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยแอปชีทของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 123-135.

ภัชรพล สำเนียง, คมฤทธิ์ วะราโพธิ์, กาญจน์กษิต ตียปรีชญา, ธนาฤทธิ์ ศิริวัฒน์, และ เจษฎาพันธ์ ทหารเสือ. (2562). การสร้างโมบายแอปพลิเคชั่นเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสำหรับวัยรุ่น. วิทยาสารทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(2), 52-64.

วัฒนา สุนทรธัย. (2551). เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาเกณฑ์การตัดสินใจชนิด 5 ระดับ. วารสารนักบริหาร, 28(3), 97-101.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. สามเจริญพาณิชย์.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). (ร่าง) คู่มือสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก วัยทำงานในสถานประกอบการ. https://dental.anamai.moph.go.th/web-upload/5x9c01a3d6e5539cf478715290ac946bee/tinymce/07/working%20age_ver%201.pdf

เสมอจิต พิธพรชัยกุล, ปรียจักษณ์ ชินวราพัฒน์, พรพรรณ แซ่โล่, วินิตา วัชรานนท์, และ สิริพร รังสิตเสถียร. (2562). ประสิทธิผลของการแปรงฟันโดยผู้ปกครองร่วมกับการใช้สีย้อมคราบจุลินทรีย์บนฟันชนิดเจลเพื่อกำจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ในเด็กพิเศษ. วารสารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 7(1), 20-36.

Lally, P., Van Jaarsveld, C. H., Potts, H. W., & Wardle, J. (2010). How are habits formed: Modelling habit formation in the real world. European Journal of Social Psychology, 40(6), 998-1009.

Mathers, C. (2020, 8 March). How long does it take to form a habit? 21 days? 66 days?. https://www.developgoodhabits.com/long-form-habit/

Tonglairoum, P., Rojanarata, T., Ngawhirunpat, T., Akkaramongkolporn, P., Kaomongkolgit, R. & Opanasopit, P. (2017). Erythrosine incorporated fast-dissolving patches for dental plaque disclosing. Advances in Pharmacology and Pharmacy, 5(1), 12-19.