ผลของตำรับยาอายุวัฒนะต่อคุณภาพการนอนในผู้สูงอายุที่มีภาวะนอนไม่หลับ

Main Article Content

รสริน ใจเย็น
ศุภะลักษณ์ ฟักคำ
ยงยุทธ วัชรดุลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะนอนไม่หลับระหว่างก่อนและหลังการได้รับตำรับยาอายุวัฒนะ และ 2) เปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะนอนไม่หลับระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับตำรับยาอายุวัฒนะและกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาภาวะนอนไม่หลับ คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ซึ่งได้รับตำรับยาอายุวัฒนะ และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน ซึ่งได้รับยาหลอก ในปริมาณ 300 มิลลิกรัม จำนวน 2 แคปซูล ก่อนนอน เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ และได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะนอนไม่หลับ มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับภายหลังการได้รับตำรับยาอายุวัฒนะ ในระดับดี (M = 3.30, SD = 2.02) ซึ่งแตกต่างจากก่อนการทดลอง ซึ่งอยู่ในระดับไม่ดี (M = 13.25, SD = 2.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 21.55, p < .05) และแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก (M = 11.40, SD = 2.45) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 11.36, p < .05)


ผลศึกษาแสดงให้เห็นว่า ตำรับยาอายุวัฒนะสามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560 – 2564 (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2555). รหัสยาแผนไทย 24 หลัก. https://www.dtam.moph.go.th/images/document/thai-med/No_01-103.xls

ณัชชา เต็งเติมวงศ์ (2564). ประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ในโรคนอนไม่ หลับเรื้อรัง: การศึกษาย้อนหลังเบื้องต้นในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 19(2), 331-334.

ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์, และ วรัญ ตันชัยสวัสดิ์. (2540). ปัญหาคุณภาพการนอนหลับของพยาบาล ประจำการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 42(3), 123-132.

นภัสชญา เกษรา, อารีวรรณ ต้นทัพไทย, ปวัชสรา คัมภีรธัม, และ กัญญารัตน์ ระลึกชอบ. (2564). การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับกลีบบัวแดงในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 19(1), 34-48.

นันทิดา จ้อยชะรัด, และ สุรศักดิ์ ลิ้มสุวรรณ. (2556). ฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสกุล Albizia Biological Activities of Albizia spp. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 41(3), 542-566.

ปุณณภา ชุมพรฐายี. (2559). ยาอายุวัฒนะตามหลักการแพทย์แผนไทย. ใน สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2559 การวิจัยเพื่อยั่งยืน (หน้า 129-137). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พินิต ชินสร้อย, และ กรมิษฐ์ แมลงภู่ทอง. (2563). นวดไทยกับการบำบัดอาการนอนไม่หลับ. ใน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, สาระประชุมวิชาการประจำปี การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 17: นวดไทย สมุนไพรไทย สร้างสุขทุกวัย (หน้า 106-110). กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

ลดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์. (2563). ปัญหาการนอนหลับในผู้สูงอายุและแนวทางการจัดการทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 43(1), 139-150.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ. อิส ออกัส.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์. (2464). ตำรายาพิเศษของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์. โสภณพิพรรฒธนากร. http://eresource.car. chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=clra53_0134

สฤษดิ์พงศ์ แซ่หลี, และ ปิยะภัทร เดชพระธรรม. (2560). การศึกษาความตรงเชิงเกณฑ์ของแบบสอบถาม PHQ-9 และ PHQ-2 ฉบับภาษาไทย ในการคัดกรองโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุชาวไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 27(1), 30-37.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศ จากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย. อมรินทร์.

สุภาภรณ์ ปิติพร. (2559). บอระเพ็ดกับภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยพาร์กินสัน. พิมพ์ดี.

เสาวลักษณ์ กิติยามาตย์. (2558). ผลของยาไทยตำรับยาหอมเทพจิตรต่อคุณภาพการนอนในผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับ [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

อรจิรา สุขเจริญเวช, และ อโรชา เรืองสุริยกิจ. (2560). การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเตอเรสและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของตำรับยาอายุวัฒนะ. คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-research-special-abstract.php?num=41&year=2560

อารยา ข้อค้า. (2560). สารพฤกษเคมีจากพริกไทยดำและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 1(2), 28-39.

Bruni, O., Ferini-Strambi, L., Giacomoni, E., & Pellegrino, P. (2021). Herbal remedies and their possible effect on the GABAergic system and sleep. Nutrients, 13(2), Article 530. https://doi.org/10.3390/nu13020530

Dwita, L. P., Dewanti, E., Ladeska, V., Sediarso, S., Muntashir, A., Safni, U., & Sari, R. W. (2018). Neuropharmacological activity of nut grass (Cyperus Rotundus L.) rhizome fraction. Pharmaciana, 8(2), 217-224.

Gautam, A., Kaur, H., Kaur, A., Prashar, P. K., Sood, A., Singh, S. K., Gulati, M., Pandey, N. K., & Kumar, B. (2020). Tinospora cordifolia: A successful story from botanical background to pharmaceutical product. Research Journal of Pharmacy and Technology, 13(11), 5620-5630.

Luanchoy, S., Tiangkul, S., Wongkrajang, Y., Temsiririrkkul, R., Peungvicha, P., & Nakornchai, S. (2014). Antioxidant activity of a Thai traditional formula for longevity. Mahidol University Journal of Pharmaceutical Sciences, 41(3), 1-5.

McCleery, J., & Sharpley, A. L. (2020). Pharmacotherapies for sleep disturbances in dementia. Cochrane Database of Systematic Reviews, 11, Article CD009178. https://doi.org/10.1002/14651858.CD009178.pub4

Samariya, K., & Sarin, R. (2013). Isolation and identification of flavonoids from Cyperus Rotundus Linn. in vivo and in vitro. Journal of Drug Delivery and Therapeutics, 3(2), 109–113.

Samer, J., Sukcharoenvech, O., Ruangsuriyakij, A., Pratuangdejkul, J., Saengklub, N., & Kitphati, W. (2019). Study on antioxidant and anti-acetylcholinesterase activities of aqueous extracts of Ayuwatana recipes. Journal of Physiological and Biomedical Sciences, 32(2), 66-70.

Trongsakul, S., Lambert, R., Clark, A., Wongpakaran, N., & Cross, J. (2015). Development of the Thai version of Mini‐Cog, a brief cognitive screening test. Geriatrics & Gerontology International, 15(5), 594-600.

Wasowski, C., & Marder, M. (2012). Flavonoids as GABAA receptor ligands: The whole story?. Journal of Experimental Pharmacology, 4, 9-24.

Watson, C. J., Baghdoyan, H. A., & Lydic, R. (2010). Neuropharmacology of sleep and wakefulness. Sleep Medicine Clinics, 5(4), 513-528.

Werawattanachai, N., & Kaewamatawong, R. (2016). Screening for acetylcholinesterase inhibitory activity from the Piperaceae. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, 18(3), 25-25.