ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแรงจูงใจในการเลิกดื่มสุรา ของผู้ติดสุราที่เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลราชบุรี

Main Article Content

กาญจนา เลิศถาวรธรรม
กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ
เยาวลักษณ์ มีบุญมาก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแรงจูงใจในการเลิกดื่มสุราของผู้ติดสุรา โรงพยาบาลราชบุรี และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแรงจูงใจในการเลิกดื่มสุราของผู้ติดสุรา โรงพยาบาลราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดสุราที่มารับการรักษาที่คลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลราชบุรี จำนวน 77 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกดื่มสุรา และแรงจูงใจในการเลิกดื่มสุรา ซึ่งค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .93 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ติดสุรามีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกดื่มสุรา อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.20, SD = 1.23) แรงจูงใจในการเลิกดื่มสุราอยู่ในระดับเมินเฉย (M = 7.89, SD = 1.05) และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกดื่มสุรามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับแรงจูงใจในการเลิกดื่มสุรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .50, p < .01)


ผลการวิจัยแสดงข้อมูลเชิงประจักษ์สำหรับบุคลากรด้านสุขภาพจิต ในการกำหนดแนวทางการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกดื่มสุรา และเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกดื่มสุราที่มีประสิทธิภาพต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสถิติและสังคม. (2561) การสำรวจพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย พ.ศ. 2560. พิมพ์ดี.

กัณณิกา สิทธิพงษ์. (2560). แรงจูงใจในการเลิกยาเสพติดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลธัญญรักษ์ ขอนแก่น. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 217-239.

จักรพันธ์ เพชรภูมิ. (2561). พฤติกรรมสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จุไรพร สัมพุทธานนท์, และจินตนา ยูนิพันธุ์. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่นชายสถานบำบัดยาเสพติดของรัฐ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1), 6-14.

เชษฐภูมิ วรรณไพศาล. (2562). เครื่องมือการวิจัยทางสังคมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ศูนย์บริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐพัชร์ คันศร, อานนท์ สังขะพงษ์ , วีระชัย เตชะนิรัติศัย, นภาพร เหลืองมงคลชัย, ศาสตรา เข็มบุปผา, อัจฉราพร คณิศรสมบัติ, และ เบญจมาศ ทิวทอง. (2564). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการลดการบริโภคแอลกอฮอล์ ของผู้ป่วยจิตเภทและใช้แอลกอฮอล์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(1), 474-484.

พิชัย แสงชาญชัย, ดรุณี ภู่ขาว, สังวรณ์ สมบัติใหม่, ณัฐนาฎ สระอุบล, สายรัตน์ นกน้อย, และ เพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2553). คู่มือสำหรับผู้เข้าอบรมการให้คำปรึกษาและการให้การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุรา. วนิดาการพิมพ์.

นรักษ์ ชาติบัญชาชัย, ศิริวรรณ ปิยวัฒนเมธา, และ สุวรรณา อรุณพงษ์ไพศาล. (2563). โรคที่สัมพันธ์กับการใช้สารเสพติดและการติดสารเสพติด. ใน นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล, กุศลาภรณ์ ชัยอุดมสม, ศิริวรรณ ปิยวัฒนเมธา, และ นรักษ์ ชาติบัญชาชัย (บ.ก.), จิตเวชศาสตร์ Psychiatry (น. 289-321). สยามทองกิจ.

นริสา วงศ์พนารักษ์. (2561). การพยาบาลผู้ติดสารเสพติด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กายะเยีย.

นันทวัช สิทธิรักษ์. (2559). ปัญหาการใช้สารเสพติดและการบำบัด. ใน นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผู้กฤติยาคามี, สุพร อภินันทเวช, และ พนม เกตุมาน (บ.ก.), จิตเวชศาสตร์ ศิริราช DSM-5 (พิมพ์ครั้งที่ 3) (น.187- 206). ประยูรสาส์นการพิมพ์.

นุษณี เอี่ยมสอาด, ชมชื่น สมประเสริฐ, และ สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดื่มของผู้ติดสุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(2), 120-135.

โรงพยาบาลราชบุรี. (2564). บันทึกจำนวนผู้ป่วยติดสารเสพติดที่มารับการรักษาที่คลินิกยาเสพติด. โรงพยาบาลราชบุรี.

วนาลักษณ์ รอวิลาน, และ ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ. (2559). การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจรายกลุ่มโดยครอบครัวและชุมชน มีส่วนร่วมในผู้ติดสุรา ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง: การศึกษานำร่อง. วารสารสภาการพยาบาล, 31(2), 53-66.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (2562).รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในสังคมไทย ปี 2560. สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992).

สุนทรี ศรีโกศัย, และ พาพร วงศ์หงส์กุล. (2561). วิธีการดำเนินโรคของโรคติดสุราหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 1 ปี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(2), 153-166.

สุภา อัคจันทร์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, และ ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความตั้งใจในการหยุดดื่มของผู้ติดสุราที่กลับไปดื่มซ้ำ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(1), 17-28.

อาทิตย์ พานิชอัตรา, ดลดาว ปูรณานนท์, และ ระพินทร์ ฉายวิมล. (2562). ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการการยับยั้งชั่งใจในการดื่มแอลกอฮอล์ ของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 14(1), 131-141.

อโนชา หมึกทอง, นิศานติ์ วีระชาติเทวัญ, และ อานนท์ วิทยานนท์. (2560). แรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแรงจูงใจในการเลิกดื่มสุราของผู้ป่วยติดสุรา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 35(4), 325-334.

Bandura, A. (1994). Self-efficacy. In V. S. Ramachaudran (Ed.), Encyclopedia of human behavior (pp. 71-81). Academic Press.

Cavaiola, A., Giordano, A. L., & Golubovic, N. (2021). Addiction counseling: A practical approach. Springer.

Demmel, R., Nicolai, J., & Jenko, D. M. (2006). Self-efficacy and alcohol relapse: concurrent validity of confidence measures, self-other discrepancies, and prediction of treatment outcome. Journal of Studies on Alcohol, 67(4), 637-641.

DiClemente, C. C., Schlundt, D., & Gemmell, L. (2004). Readiness and stages of change in addiction treatment. American Journal on Addictions, 13(2), 103-119.

DiClemente, C. C., Carbonari, J. P., Montgomery, R. P., & Hughes, S. O. (1994). The alcohol abstinence self-efficacy scale. Journal of Studies on Alcohol, 55(2), 141-148.

Maiuro, R. D., & Murphy, C. (Eds.). (2009). Motivational interviewing and stages of change in intimate partner violence. Springer.

Müller, A., Znoj, H., & Moggi, F. (2019). How are self-efficacy and motivation related to drinking five years after residential treatment a longitudinal multicenter study. European Addiction Research, 25(5), 213-223.

Prochaska, J. O., DiClemente, C. C., & Norcross, J. C. (1993). In search of how people change: Applications to addictive behaviors. Addictions Nursing Network, 5(1), 2-16.

Thorndike, R. (1978). Correlational procedures for research. Gardner Press.