การประเมินคุณภาพการบริการและการบริหารจัดการของวิทยาลัยพยาบาล เพื่อพัฒนาสู่องค์กรคุณภาพ

Main Article Content

เพ็ญแข ดิษฐบรรจง
นงณภัทร รุ่งเนย
ผกามาศ พีธรากร
วรวุฒิ แสงทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการและการบริหารจัดการของวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับบริการ จำนวน 501 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 134 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคาดหวังและแบบสอบถามความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการและการบริหารจัดการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .95 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า


1. ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการและการบริหารจัดการของวิทยาลัยโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (M = 4.62, SD = .33) และมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการและการบริหารจัดการ โดยรวมอยู่ในระดับดี (M = 4.28, SD = .33)


2. ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังสูงกว่าความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการและการบริหารจัดการของวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 18.60)


3. มีปัญหาอุปสรรค ในการรับบริการมากที่สุดในด้านสารสนเทศ ได้แก่ ระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร ร้อยละ 43.31 ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ไม่ทันสมัย ร้อยละ 17.32 โดยมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้มีความเร็วสูงและมีเสถียรภาพ ปรับปรุงฐานข้อมูลและเว็บไซต์ให้ทันสมัยและนำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ลดขั้นตอนการให้บริการ จัดสรรอัตรากำลังให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูง


ผลการวิจัยแสดงถึงแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาบริการและการบริหารจัดการของวิทยาลัย เพื่อเพิ่มความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุพร เสถียรคง. (2557). กลยุทธ์แห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการภาครัฐของไทย. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 15(2), 115-127.

วรพิชญ์ ลิขิตตายน. (2560). การบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสระบุรี ให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 179-189.

สุดารัตน์ จันทร์พุธ, และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2559). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(2), 2143-2157.

สุภาพร วุกถ้อง, และ อัมพร ศรประสิทธิ์. (2557). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบทบาทของศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11802/1/396905.pdf

สุริยะ บุตรไธสงค์. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้คุณภาพการบริการของสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(3), 78-93.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ. (2557). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558. วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

Best, J. W. & Kahn, J. V. (2006). Research in education (10th ed.). Pearson Education.

Daniel, B. (2015). Big data and analytics in higher education: Opportunities and challenges. British Journal of Educational Technology, 46(5), 904-920.

Danjuma, I., & Rasli, A. (2013). Empirical assessment of service quality dimension in technology-based universities. Jurnal Teknologi, 60(1), 71-76.

Hood, C. (1995). The “new public management” in the 1980s: Variations on a theme. Accounting, Organizations and Society, 20(2-3), 93-109.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Kalimullah, N. A., Alam, K. M. A., & Nour, M. A. (2012). New public management: Emergence and principles. Bangladesh University of Professionals Journal, 1(1), 1-22.

McSharry, E., McGloin, H., Frizzell, A. M., & Winters-O’Donnell, L. (2010). The role of the nurse lecturer in clinical practice in the Republic of Ireland. Nurse Education in Practice, 10(4), 189-195.

Mukhopadhyay, M. (2020). Total quality management in education. SAGE.

Nadiri, H. (2012). Zone of tolerance–How to determine whether it is “Narrow” or “Broad”. Journal of Business and Financial Affairs, 1(3), Article 1000e112. https://www.researchgate.net/publication/259475158

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.

Ruben, B. D. (2007). Excellence in higher education guide: An integrated approach to assessment, planning, and improvement in colleges and universities. National Association of College and University Business Officers.

Sharabi, M. (2013). Managing and improving service quality in higher education. International Journal of Quality and Service Sciences, 5(3), 309-320.

Zeithaml, V. A., Parasuraman, & L. L., Berry. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions. The Free Press.

Zeithaml, V. A., Berry, L. L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of Marketing, 60(2), 31-46.

World Health Organization. (2016). Nurse educator core competencies. https://www.who. int/hrh/nursing_midwifery/nurse_educator050416.pdf