ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองเด็กอายุระหว่าง 2-5 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาล จังหวัดยะลา จำนวน 92 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม พ.ศ. 2564 โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียน การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้ต่ออุปสรรคของการป้องกันโรค และสิ่งชักนำให้เกิดการป้องกันโรค มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85, .86, .83, .80, .92 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.22, SD = .07) การรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกันโรคและสิ่งชักนําให้เกิดการป้องกันโรคสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียน ได้ร้อยละ 62.30 (R2 = 0.623, p < .001)
บุคลากรทางสุขภาพสามารถนำปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกันโรคและสิ่งชักนําให้เกิดการป้องกันโรค เป็นแนวทางในการจัดโครงการหรือพัฒนาโปรแกรม เพื่อส่งเสริมผู้ปกครองให้มีพฤติกรรมการป้องกันบุตรจากโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563ก). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถานการณ์ทั่วโลก. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563ข). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/?fbclid=IwARfGNLv-GGQk-lW-quwYLATOuuj HwzjzYd9uP7bfnFK33MerxF6Fy-5aQs
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf
จารุวรรณ แหลมไธสง, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, และ พรนภา หอมสินธุ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจของผู้ดูแลเด็กประถมวัยในศูนย์เด็กเล็ก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 33(1), 1-19.
ชญาน์นันท์ ใจดี, เสริมศรี สันตติ, และ ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(3), 389-403.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, และ ทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-39.
บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์, ลักขณา คงแสง, จุฑารัตน์ คงเพ็ชร, ปราณี คำจันทร์, ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร, และ พรทิพย์ พูลประภัย. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ปกครองในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่บ้าน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(2), 23-36.
รังสฤษฎ์ แวดือราแม, ระวิ แก้วสุกใส, พรทิวา คงคุณ, อัชฌา สุวรรณกาญจน์, และ กรรณภา ไชยประสิทธิ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และการรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธาณสุขภาคใต้, 8(2), 80-92.
วรันณ์ธร โพธารินทร์, ยุทธชัย ไชยสิทธิ์, ขวัญประภัสร จันทร์บุลวัชร์, ประเสริฐ ไพบูลย์รุ่งโรจน์, และ ศิราณี อิ่มน้ำขาว. (2563). สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: บทบาทพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 4(2), 1-19.
ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย. (2564). มาตรการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับเด็กวัยเรียน วัยรุ่น และเด็กกลุ่มเสี่ยง. http://203.157.71.139/group_sr/allfile/ 1620291284.pdf
สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, และ สุมนมาลย์ อุทยมกุล. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารบำราศนราดูร, 14(2), 1-10.
อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล, และ สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 19-30.
Becker, M. H. (1974). The health belief model and personal health behavior. Health Education Monographs, 2(4), 324-473.
Duarsa, A. B. S., Mardiah, A., Hanafi, F., Karmila, D., & Anulus, A. (2021). Health belief model concept on the prevention of coronavirus disease-19 using path analysis in West Nusa Tenggara, Indonesia. International Journal of One Health, 7(1), 31-36. https://doi.org/10.14202/IJOH.2021.31-36
Fathian-Dastgerdi, Z., Khoshgoftar, M., Tavakoli, B., & Jaleh, M. (2021). Factors associated with preventive behaviors of COVID-19 among adolescents: Applying the health belief model. Research in Social and Administrative Pharmacy, 17(10), 1786-1790. https://doi.org/10.1016/j.sapharm.2021.01.014
Kim, S., & Kim, S. (2020). Analysis of the impact of health beliefs and resource factors on preventive behaviors against the COVID-19 pandemic. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(22), Article 8666. https://doi.org/10.3390/ijerph17228666
Senaviratna, N. A. M. R., & Cooray, T. M. J. A. (2019). Diagnosing multicollinearity of logistic regression model. Asian Journal of Probability and Statistics, 5(2), 1-9.
Wiersma, W. & Jurs, S. (2009). Research method in education: An introduction (9th ed). Pearson.