การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

พลอยนภัส ประดิษฐ์
บุญทิพย์ สิริธรังศรี
เยาวลักษณ์ มีบุญมาก

บทคัดย่อ

การวิจัยเอกสารนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะแก่นเรื่องของวิทยานิพนธ์แขนงวิชาการบริหารทางการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เก็บรวบรวมข้อมูลจากรูปเล่มวิทยานิพนธ์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลสำนักบรรณสาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม Thai Digital Collection (TDC) ระหว่าง 1 มกราคม 2550 - 31 ธันวาคม 2559 จำนวน 216 เรื่อง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบคัดกรองงานวิจัย แบบบันทึกผลการสกัดข้อมูล และต้นไม้การตัดสินใจ จำแนกแก่นเรื่องตามงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลในประเทศไทย (วิภาดา คุณาวิกติกุล และคณะ, 2555) และแก่นเรื่องทางการพยาบาลระดับโลก (Klopper et al., 2020) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และจัดทำกราฟเพื่อเสนอทิศทางแนวโน้ม


ผลการจำแนกแก่นเรื่องตามฐานข้อมูลงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลในประเทศไทย จำนวน 10 แก่นเรื่อง พบมากที่สุดในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รองลงมาคือ ด้านการจัดการคุณภาพ ผลการจำแนกตามแก่นเรื่องทางการพยาบาลระดับโลก จำนวน 12 แก่นเรื่อง พบมากที่สุดในด้านความยั่งยืน รองลงมาคือ ด้านความร่วมมือ และด้านการดูแล ตามลำดับ โดยแก่นเรื่องด้านความยั่งยืน การเคารพความหลากหลาย ความสามารถทางวัฒนธรรม บทบาทร่วมที่พึ่งพากัน และด้านการคุ้มครองผู้ป่วยหรือการพิทักษ์สิทธิ์ มีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจศึกษามากขึ้น


ผลการวิจัย สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิจัยในการศึกษาวิจัยที่สอดคล้องกับแนวโน้มและทิศทางของงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลทั้งในประเทศไทยและทางการพยาบาลระดับโลกต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. (2559). การนำใช้แนวคิดหุ้นส่วนสุขภาพในการดูแลสุขภาพ: บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(2), 124-132.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560, 6 พฤศจิกายน). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/ files/4_StandardDr%202560(1).pdf

กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล, ไข่มุก วิเชียรเจริญ, บงกช เก่งเขตกิจ, ประภา ยุทธไตร, พรทิพย์ อาปณกะพันธ์, วัลยา คุโรปกรณ์พงษ์, สุทธิรัตน์ พิมพ์พงศ์, สุปราณี อัทธเสรี, เสาวลักษณ์ เล็กอุทัย, อุษาพร ชวลิตนิธิกุล, และ สุรชาติ กลิ่นจันทร์. (2534). การสำรวจผลงานวิจัยทางการพยาบาลในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพยาบาลศาสตร์, 9(1), 51-61.

ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต พ.ศ. 2560. (2560, 16 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 164 ง. หน้า 56-67.

ชุติกาญจน์ หฤทัย. (2557). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริการพยาบาลระดับประเทศ พ.ศ. 2556-2560. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(2), 57-69.

นิศากร กะการดี, อารี ชีวเกษมสุข, และ ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ. (2563). ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชั่นวาย โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(1), 293-301.

บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2560). คุณลักษณะและอัตลักษณ์ของมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ.2560. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประกาศสภาการพยาบาล เรื่องมาตรฐานการพยาบาล พ.ศ. 2562. (2562, 18 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม136 ตอนพิเศษ 97 ง. หน้า 30-36.

วิจิตร ศรีสุพรรณ. (2556). เร่งผลิตพยาบาลทุกระดับ สานฝันไทยฮับการแพทย์ภูมิภาค สกัดนำเข้าบุคลากรแบบผิดกฎหมายทำงาน. https://www.hfocus.org/content/2013/11/5504

วิภาดา คุณาวิกติกุล, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, อรอนงค์ วิชัยคำ, และ บุญพิชชา จิตต์ภักดี. (2555). การพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลในประเทศไทย. พยาบาลสาร, 39(พิเศษ), 7-19.

วิภาดา คุณาวิกติกุล, อรอนงค์ วิชัยคำ, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, และ บุญพิชชา จิตต์ภักดี. (2558). ฐานข้อมูลงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2553-2556. พยาบาลสาร, 42(40), 98-107.

วรรณชนก จันทชุม, อภิญญา จำปามูล, และ จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. (2556). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยการวิเคราะห์เมต้า. วารสารพยาบาลศาสตร์สุขภาพ, 36(4), 87-99.

ธีรพร สถิรอังกูร. (2556). แนวทางการจัดบริการพยาบาลเพื่อการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.

ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร. (2558). เลือกหัวข้องานวิจัยอย่างไรดี. http://www.elearning.ns.mahidol .ac.th/km/ index.php/knowledge-base/คลังความรู้ด้านการวิจัย/คลังความรู้ด้านการวิจัย2556-2560/161-เลือกหัวข้องานวิจัยอย่างไรดี.html

องค์การอนามัยโลก. (2552). Milestones in health promotion: Statements from global conferences [พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ รายงานการประชุมระดับโลกเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ]. (สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, ผู้แปล). โครงการสวัสดิการข้าราชการ สถาบันพระบรมราชชนก.

Hermansdorfer, P., Henry, B., Moody, L., & Smyth, K. (1990). Analysis of nursing administration research, 1976-1986. Western Journal of Nursing Research, 12(4), 546-557.

Hughes, R. G. (Ed.). (2008). Patient safety and quality: An evidence-based handbook for nurses. Agency for Healthcare Research and Quality.

Klopper, H. C., Madigan, E., Vlasich, C., Albien, A., Ricciardi, R., Catrambone, C., & Tigges, E. (2020). Advancement of global health: Recommendations from the Global Advisory Panel on the Future of Nursing & Midwifery (GAPFON®). Journal of Advanced Nursing, 76(2), 741-748. https://doi.org/10.1111/jan.14254

McCulloch, G. (2004). Documentary research: In education, history and the social sciences. Routledge.

Schaeffer, R., & Haebler, J. (2019). Nurse leaders: Extending your policy influence. Nurse Leader, 17(4), 340-343.

Sigma Theta Tau International Honor Society of Nursing. (2019). GAPFON. https://www.sigmanursing. org/connect-engage/our-global-impact/gapfon/about-gapfon

Thomas, R. B., Chakrabarty, J., & D’Souza, J. P. (2016). Staff nurses knowledge regarding holistic nursing care. Manipal Journal of Nursing and Health Sciences, 2(2), 38-40.

Walsh, R. T., Teo, T., & Baydala, A. (2014). A critical history and philosophy of psychology: Diversity of context, thought, and practice. Cambridge University Press.

Wang, S. Y. (2006). Review and analysis of the nursing administration research paper in VGH nursing [Unpublished master’s thesis]. Tzu Chi University, Taiwan.

Welsh, M. E. (2014). Review of Voyant tools. Collaborative Librarianship, 6(2), 96-97.

Zamanzadeh, V., Jasemi, M., Valizadeh, L., Keogh, B., & Taleghani, F. (2015). Effective factors in providing holistic care: a qualitative study. Indian Journal of Palliative Care, 21(2), 214–224. https://doi.org/10.4103/0973-1075.156506