การพัฒนาชุดความรู้การสร้างเสริมสุขภาพในสถานการณ์แพร่ระบาด ของไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้สูงอายุ ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ปภาดา ชมภูนิตย์
ฐิติพร แสงพลอย

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาและความต้องการความรู้การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2) พัฒนาชุดความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 3) ศึกษาประสิทธิผลของชุดความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการความรู้การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบสอบถามปัญหาและความต้องการทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ จำนวน 204 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำชุมชน และแกนนำผู้สูงอายุ จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การพัฒนาชุดความรู้การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) การทดลองใช้ชุดความรู้การสร้างเสริมสุขภาพกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุและความพึงพอใจต่อการใช้ชุดความรู้การสร้างเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้พรรณนาและการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า


1. สภาพปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวร้อยละ 77.50 และเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 49.50 ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ร้อยละ 43.60 มีพฤติกรรมการดื่มสุราและดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ร้อยละ 10.80 มีความต้องการการสร้างเสริมสุขภาพเกี่ยวกับ 1) ความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและความรู้เรื่องการป้องกันการติดเชื้อจากโรคไวรัสโควิด-19 2) การออกกำลังกายที่ถูกต้องและสามารถทำได้เมื่ออยู่ที่บ้าน 3) อาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพโดยเฉพาะสมุนไพรที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นรวมทั้งสรรพคุณทางยาที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง และ 4) กิจกรรมที่สามารถสร้างรายได้และทำได้ที่บ้าน เพื่อลดความเครียด


2. ประสิทธิผลของชุดความรู้พบว่าหลังการทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพ สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 6.34) และมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดความรู้การสร้างเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.35, SD = .57)


จากผลการวิจัยแสดงว่า ชุดความรู้การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถนำไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเองได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา มั่นล้วน, วิภาดา กาญจนสิทธิ์, และ นิภา สุทธิพันธ์. (2562). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ใน วิทยาลัยนครราชสีมา, การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา” (หน้า 889-897). วิทยาลัยนครราชสีมา.

กานดาวสี มาลีวงษ์, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, เบญจวรรณ จันทพล, ยงยศ หัถพรสวรรค์, และ วณิดา มงคลสินธุ์. (2563). การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครผ่านกระบวนการเสริมสร้างความรอบรู้สุขภาพโดยชมรมผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 34(2), 84-101.

ฐิติชญา ฉลาดล้น, สุทธีพร มูลศาสตร์, และ วรรณรัตน์ ลาวัง. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุคลังปัญญา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(2), 154-167.

นงนุช โอบะ, รุ่งเพชร หอมสุวรรณ์, และ ชญาภา บุญลือ. (2564). การพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลที่อาศัยอยู่ในครอบครัว. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(1), 13-24.

ปภาดา ชมภูนิตย์, ฐิติพร แสงพลอย, และ ศิลปชัย ฝั้นพะยอม .(2563). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์กับการประยุกต์ใช้ป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 14(3), 1-8.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิมลรัตน์ บุญเสถียร, และอรทัย เหรียญทิพยะสกุล. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: สถานการณ์และผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 2(1), 1-19.

ศรีสุดา วงศ์วเศษกุล, พิไลพร สุขเจริญ, และ สมจิตร์ พะยอมยงค์. (2560). รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 10(2), 153-174.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2552). การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาตร์สุขภาพ. วิทยพัฒน์.

สมฤดี นามวงษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2564). สถานการณ์การแพร่ระบาดจากโรคไวรัสโควิด 2019 ของจังหวัดพิษณุโลก เดือนตุลาคม 2564. http:// www.facebook.com/plkhealth/

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพิษณุโลก. (2563). ข้อมูลประชากรตำบลจอมทอง. http://plkmuang.blogspot.com/2015/10/blog-post.html

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 57-69.

อะเคื้อ กุลประสูติดิลก. (2560). การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Best, J. W. & Kahn, J. V. (2006). Research in education (10th ed.). Pearson Education.

Daniel, W. W. (2010). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences (9th ed.). John Wiley & Sons.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M.A. (2006). Health promotion in nursing practice (5th ed.). Pearson Education.