ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบความรู้รวบยอดของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบความรู้รวบยอดของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ในปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต จำนวน 42 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนบุคคล มีค่าความเชื่อมั่น .78 แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบบันทึกคะแนนผลการสอบความรู้รวบยอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สำเร็จการศึกษามีผลการสอบความรู้รวบยอดผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ 100 (M = 82.62, SD = 6.61) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบความรู้รวบยอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (r = .51) เกรดเฉลี่ยกลุ่มวิชาอาชีวอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม (r = .61) กลุ่มวิชาป้องกันโรค ควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข (r = .59) และกลุ่มวิชาตรวจประเมิน การบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพและการส่งต่อ (r = .40) ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบความรู้รวบยอด
ผู้บริหารการศึกษา จึงควรจัดโครงการพัฒนาสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนจำแนกตามกลุ่มวิชา เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการเตรียมบัณฑิตให้สอบผ่านการสอบความรู้รวบยอดได้สำเร็จตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
เกศราภรณ์ ชูพันธ์, พนิดา พาลี, และ ปริศนา ยิ่งราษฎ์สุข. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ เพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ ปีการศึกษา 2560. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(2), 74-84.
จตุพร สุทธิวงษ์, และ เวทสินี แก้วขันตี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดของผู้สำเร็จการศึกษาประจำปี พ.ศ. 2556-2558 คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล: กรณีศึกษา. วารสารกายภาพบำบัด, 39(3), 85-96.
ชุติมา บูรณธนิต, ธีริศา สินาคม, นภัสวรรณ บุญประเสริฐ, และ ราตรี เที่ยงจิตต์. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(2), 229-248.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
พิศิษฐ์ พลธนะ, ชุติกาญจน์ ฉัตรรุ่ง, เรวดี โพธิ์รัง, และ จันทร์ฉาย มณีวงษ์. (2563). การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบเกี่ยวกับรูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(2), 52-69.
พรทิพา ทักษิณ ,ศุกร์ใจ เจริญสุข, และ อุบล สุทธิเนียม (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการเตรียมความพร้อมและผลสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารสภาการพยาบาล, 26(3), 117-129.
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก. (2559). หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก.
วิลัยพร นุชสุธรรม, ลาวัลย์ สมบูรณ์, เทียมศร ทองสวัสดิ์, สุทธิดา แก้วขจร, และ วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย. พยาบาลสาร, 40(พิเศษ), 61-72.
สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2563 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์. สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ข้อบังคับสถาบันพระบรมราชชนก ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. ปี พ.ศ.2564 สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
สุพัตรา จันทร์สุวรรณ, สุภาวดี นพรุจจินดา, และ อุมากร ใจยั่งยืน. (2559). ปัจจัยที่มีความสำคัญกับผลการสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(2), 81-92.
Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed). Prentice-Hall.
Khazaei, M.R., Zarin, A., Rezaei, M., & Khazaei, M. (2018). Factors affecting the results of comprehensive pre-internship exam among medical students of Kermanshah Medical Sciences. Korean Journal of Medical Education, 30(2), 131-139.
Miller, W. (2013). Statistics and measurement concepts with open stat. Springer.