ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเสมือนจริงของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก ต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

สรินทร เชี่ยวโสธร
ญาดา นุ้ยเลิศ
สายสมร เฉลยกิตติ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเสมือนจริงต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 2) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนพยาบาลกองทัพบก ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อเสมือนจริง แบบสอบถามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเสมือนจริง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .84 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า


ค่าเฉลี่ยทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนพยาบาลกองทัพบกโดยรวม ภายหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเสมือนจริง (M = 4.00, SD = .48) สูงกว่าก่อนเรียน (M = 3.66, SD = .18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.83, p < .05) มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี (M = 4.45, SD = .20) และสูงสุดในรายข้อการถึงบทเรียนได้ง่ายสามารถทบทวนบทเรียนด้วยตนเองบ่อยขึ้น (M = 4.67, SD = .53)


การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเสมือนจริงนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนพยาบาลได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, สราญ นิรันรัตน์, จิราภรณ์ จันทร์อารักษ์, บุญเตือน วัฒนกุล, และทุติยรัตน์ รื่นเริง. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(2), 178-193.

จินตนา ลี้ละไกรวรรณ, ธรณิศ สายวัฒน์, สุมลชาติ ดวงบุบผา, ปราณี แสดคง, และนวลใย พิศชาติ. (2562). นวัตกรรมการเรียนการสอนทางการพยาบาล: สถานการณ์เสมือนจริง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(4), 6-11.

ชัชวาล วงค์สารี. (2558). การสอนบนคลินิกในรายวิชาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ สำหรับนิสิต Generation Z. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 31(2), 130-140.

ดวงมณี แสนมั่น, นนกาญจน์ ฉิมพลี, และวิภาวรรณ อารยะชัย. (2561). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยแอพพลิเคชันสมาร์ทโฟนในรายวิชาโลหิตวิทยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(3), 73-89.

ทินกร บัวชู. (2561). การศึกษาความคิดเห็นของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 30(3), 26-37.

ธัญญลักษณ์ วจนะวิศิษฐ. (2557). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์, 21(1), 100-113.

นิภา กิมสูงเนิน, และสุวรีย์ เพชรแต่ง. (2559). ผลการใช้สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(1), 63-74.

ปราณี อ่อนศรี. (2561). รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3), 147-157.

เปศล ชอบผล, งามนิตย์ รัตนานุกูล, นฤมล พรหมภิบาล, จิตรลดา สมประเสริฐ, และนิติบดี ศุขเจริญ. (2563). การจัดการความรู้พยาบาลศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียน เสมือนจริง. วารสารเกษมบัณฑิต, 21(2), 193-210.

วิจารณ์ พานิช. (2562). วิจัยชั้นเรียนเปลี่ยนครู. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วงเดือน สุวรรณคีรี, สุรีภรณ์ สุวรรณโอสถ, รุ้งนภา ชัยรัตน์, อรอุมา ไชยเอม, และธัญลักษณ์ ทองสอาด. (2562). การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 13(1), 89-98.

ศักดา ขำคม. (2558). ผลการใช้สื่อการสอนอัจฉริยะฯ (SEMC) ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชและการคิดแบบมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(4), 127-139.

สายสมร เฉลยกิตติ, สรินทร เชี่ยวโสธร, และญาดา นุ้ยเลิศ. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมสื่อการสอนเสมือนจริงโดยสมาร์ทโฟน. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(1), 5-15.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2575. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อุมาพร แก้วทา. (2558). การพัฒนาบทเรียนผ่านสมาร์ทโฟนตามแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์สาหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 3(2), 69-86.

Chang, Y., Chen, C., & Liao, C. (2020). Enhancing English-learning performance through a simulation classroom for EFL students using augmented reality: A junior high school case study. Applied Sciences Journal, 10(7854), 1-24.

Delello, J. A., McWhorter, R. R., & Camp, K. M. (2015). Integrating augmented reality in higher education: A multidisciplinary study of student perceptions. Journal of Educational Multimedia and Hypermedia, 24(3), 209-233.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191.

Scrivner, O., Madewell, J., Buckley, C., & Perez, N. (2016, December). Augmented reality digital technologies (ARDT) for foreign language teaching and learning. In 2016 future technologies conference (FTC) (pp. 395-398). IEEE. Retrieve from https://ieeexplore.ieee.org/ abstract/document/7821639.