ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการบริโภคผักของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษาพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศศิพินทุ์ ศุภมนตรี บัวพล
สมหญิง โควศวนนท์
ชุติมา ศิริกุลชยานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยส่งเสริมการบริโภคผักกับปริมาณการบริโภคผัก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักการศึกษาพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร จำนวน 146 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล โปรแกรมการคำนวณภาวะโภชนาการ แบบสอบถามการรับรู้ปัจจัยส่งเสริมการบริโภคผัก และแบบบันทึกปริมาณการบริโภคผัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่งเสริมการบริโภคผักที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัว (M = 6.81, SD = 2.31) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการบริโภคผักของโรงเรียน (M = 6.59, SD = 2.31) ปริมาณการบริโภคผักของนักเรียน ปัจจัยส่งเสริมการบริโภคผักด้านความรู้ มีความสัมพันธ์กับปริมาณการบริโภคผักของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 8.387, p < .05)


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ควรมีการปรับวิธีการให้ความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบริโภคผักแก่นักเรียน โดยคำนึงถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียน และบูรณาการให้เข้ากับการเรียนการสอนในวิชาที่เกี่ยวข้องต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฬาลักษณ์ บารมี. (2551). สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. ชลบุรี: บางแสนการพิมพ์.

ฉันทิกา จันทร์เปีย. (2558). พัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก. ใน ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์ และคณะ (บ.ก.), ตำราการพยาบาลเด็กเล่ม1 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 4) (หน้า29-31). นนทบุรี: สหมิตร.

ชฎาภรณ์ กลิ่นกุหลาบ, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, และพรนภา หอมสินธุ์. (2557). ปัจจัยทำนายการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 45-55.

ชนิพรรณ บุตรยี่. (2563). บริโภคผักผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพื่อสุขภาพ: หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารโภชนาการ, 55(1), 53-65.

ชุติมา ศิริกุลชยานนท์, กาญจนา สุริยะพรหม, จรูญรัตน์ สุวรรณภูสิทธิ์, และสมชาย ลีลิตธรรม. (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการเปิดช่องทางแหล่งเรียนรู้ เด็กไทยดูดีสู่ชุมชน. สืบค้นจาก https://www.dekthaidoodee.com.

ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. (2561). พัฒนาการของโครงการเด็กไทยดูดี ระยะที่ 4. สืบค้นจาก https://www. dekthaidoodee.com/about/history.

ดวงใจ ลิมตโสภณ, และสุทธดา ตั้งอยู่ดี. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ต่อความรู้ พฤติกรรมและปริมาณการบริโภคผักผลไม้ และภาวะโภชนาการของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษาพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(3), 41-53.

ปนิดา กิชัยรัมย์, ภาสิณี สังฆมะนี, เกศิณี หาญจังสิทธิ์, และอุรารัช บูรณะคงคาตรี. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(1), 1-14.

ปรียานุช นารถสิทธิ์, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, และนิสากร กรุงไกรเพชร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(2), 44-56.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2564). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ดีกรี วิชั่น.

วราภรณ์ ยังเอี่ยม, พัชราณี ภวัตกุล, มันทนา ประทีประเสน, และนิรัตน์ อิมามี. (2556). การส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(2), 126-37.

วราภรณ์ เสถียรนพเกล้า, และรัชดา เกษมทรัพย์. (2554). ผลการสำรวจอาหารบริโภคโดยการสัมภาษณ์อาหารบริโภคทบทวนความจำย้อนหลัง 24 ชั่วโมง ใน วิชัย เอกพลากร (บ.ก.), รายงานผลการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทย การสำรวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 (น.31-48). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

ศิริสุข วรรณศรี, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี, และเรวดี จงสุวัฒน์. (2556). พฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนประถมศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสุขศึกษา, 36(2), 45-60.

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2538). โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ. สืบค้นจาก http://www.banhatyai.ac.th/downloadlist.html.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). สุขภาพคนไทย 2563 สองทศวรรษปฏิรูปการศึกษาไทย ความล้มเหลวและความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Appleton, K. M., Hemingway, A., Saulais, L., Dinnella, C., Monteleone, E., Depezay, L., ... & Hartwell, H. (2016). Increasing vegetable intakes: rationale and systematic review of published interventions. European Journal of Nutrition, 55(3), 869-896.

Centers for Disease Control and Prevention. (2014). Children eating more fruit, but fruit and vegetable intake still too low. Georgia: Centers for Disease Control and Prevention, US Department of Health and Human Services. Retrieved from https://www.cdc.gov/nccdphp/dnpao/division-information/media-tools/dpk/vs-fruits-vegetables/index.html.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

DeCosta, P., Møller, P., Frøst, M. B., & Olsen, A. (2017). Changing children's eating behaviour-A review of experimental research. Appetite, 113, 327-357. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.appet.2017.03.004

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191.

Goldman, R. L., Radnitz, C. L., & McGrath, R. E. (2012). The role of family variables in fruit and vegetable consumption in pre-school children. Journal of Public Health Research, 1(2), 143-148.doi:10.4081/jphr.2012.e22.

Joint WHO/FAO Expert Consultation. (2003). Diet, nutrition, and the prevention of chronic diseases. WHO Technical Report Series, 916(i-viii), 1-149. Retrieved from http://health.euroafrica.org/books/dietnutritionwho.pdf.

Lapuente, M., Estruch, R., Shahbaz, M., & Casas, R. (2019). Relation of fruits and vegetables with major cardiometabolic risk factors, markers of oxidation, and inflammation. Nutrients, 11(10), 2381. doi:10.3390/nu11102381.

Slavin, J. L & Lloyd, B, (2012). Health benefits of fruits and vegetables. Advances in Nutrition, 3(4), 506-516. Retrieved from https://doi.org/10.3945/an.112.002154.