แนวปฏิบัติการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องมีผลต่อระดับความปวด: การทบทวนวรรณกรรมเชิงบูรณาการ

Main Article Content

ณัฐพล ยุวนิช
มนพร ชาติชำนิ
นิพาดา ลัทธิธนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยทบทวนวรรณกรรมเชิงบูรณาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยที่มีมาก่อนเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการการจัดการความปวดจากแนวปฏิบัติการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ที่สืบค้นได้จำนวน 1,275 เรื่อง นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยจำนวน 11 เรื่อง โดยแบ่งเป็นระดับ 1b การทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน จำนวน 1 เรื่อง ระดับ 1c การวิจัยแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม จำนวน 1 เรื่อง ระดับ 2c งานวิจัยเชิงกึ่งทดลอง จำนวน 3 เรื่อง และระดับ 2d งานวิจัยเชิงกึ่งทดลองที่ออกแบบการศึกษาก่อนหลังการทดลอง จำนวน 6 เรื่อง


ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการความปวด พบว่า พยาบาลจัดการความปวดหลังผ่าตัดช่องท้องมี 2 ส่วน คือ 1) การใช้วิธีการจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยา ได้แก่ ดนตรีบำบัด การบำบัดด้วยการผ่อนคลาย การใช้พลังงานชีวภาพ และการใช้เครื่องพยุงเดินหลังผ่าตัด 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดหลังผ่าตัดช่องท้องโดยประยุกต์ตามกรอบแนวคิด 4 รูปแบบ ได้แก่ CURN Model แบบจำลองของสเต็ทเลอร์ การปรับตัวของรอย และกระบวนการพยาบาล


การจัดการความปวดในกลุ่มผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง มีความสำคัญในการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัด ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย รวมไปจนถึงให้ผลลัพธ์ทางบวกในด้านค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ลดภาระงานของบุคลากรประจำหอผู้ป่วย และความพึงพอใจในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตา โกสุมภ์. (2557). ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี (วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน,นครปฐม.

จุฑารัตน์ สว่างชัย, และศรีสุดา งามขำ. (2560). ความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(พิเศษ), 1-11.

ดรุณี วินัยพานิช, น้อมจิต จันทร์น้อย, และดารารัตน์ อินทสุวรรณ์. (2558). การศึกษาผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลอุทัยธานี. วารสารกองการพยาบาล, 42(1), 58-75.

พัชรา อัมรินทร์พรชัย, อำภาพร นามวงศ์พรหม, และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์, (2558). ประสิทธิผลของระบบการพยาบาลในการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเฉียบพลัน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(1), 80-87.

เพ็ญประภา อิ่มเอิบ, วรีวรรณ คงชุ่ม, และกรณิศ หริ่มสืบ. (2557). ผลของดนตรีบรรเลงต่อระดับความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดศัลยกรรมทั่วไป. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(3), 53-62.

มนพร ชาติชำนิ. (2563). บทบาทพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(1), 1-13.

วีรยุทธ อนันต์สวัสดิ์, และณัชพร นพเคราะห์. (2564). การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของระบบทางเดินอาหารจากมะเร็ง. จุลสารสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย, 28(127), 92-111.

วันเพ็ญ กันกา, พัทยา แพทองคำ, และขนิษฐา พันธุ์สุวรรณ, และรติกร อนุสรธนาวัฒน์. (2560). อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการได้รับยาแก้ปวดของผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารแพทย์เขต 4-5, 36(2), 59-70.

สัญญา โพธิ์งาม, และมนพร ชาติชำนิ. (2563). การศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อน ระดับความปวด จำนวนวันนอน และค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดช่องท้อง โรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(3), 49-63.

สราวุฒิ สีถาน. (2560). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต่อการฟื้นตัวในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. วารสาร มฉก.วิชาการ, 20(40), 101-113.

สิริอร ข้อยุ่น, วริศรา ภู่ทวี, และอาภา ศรีสร้อย. (2562). ผลของการใช้โปรแกรมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดร่วมกับเครื่องพยุงเดินหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(4), 386-392.

อังคนา จงเจริญ, และสิริกร เทียนหล่อ. (2558). ผลการจัดการกับความปวดอย่างมีแบบแผนต่อความปวดและความพึงพอใจในการจัดการกับความปวดของผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง ณ โรงพยาบาลชลบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(2), 76-90.

แอน ไทยอุดม, และนที ลุ่มนอก. (2561). การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับผู้ป่วยสมองบาดเจ็บระดับปานกลางถึงรุนแรง. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3), 107-116.

Aslan, B., & Özkan, M. (2019). The effect of bioenergy on postoperative pain in patients experienced abdominal surgery: A nonpharmacological approach. Complementary Therapies in Clinical Practice, 36, 158-163.

Basnayake, C., Kamm, M. A., Salzberg, M. R., Wilson‐O'Brien, A., Stanley, A., & Thompson, A. J. (2020). Delivery of care for functional gastrointestinal disorders: A systematic review. Journal of Gastroenterology and Hepatology, 35(2), 204-210.

Chatchumni, M., Namvongprom, A., Eriksson, H., & Mazaheri, M. (2016). Treating without seeing: pain management practice in a Thai context. Pain Research and Management, 2016. doi: 10.1155/2016/9580626.

Ellis, J. M, Wells, Y., Ong, J. S. M. (2019). Non-pharmacological approaches to pain management in residential aged care: A pre-posttest study. Clinical Gerontology. 42(3), 286-296. doi: 10.1080/07317115.2017.1399189.

Fatima, A., & Serife, K. (2017). Experience of pain in patients undergoing abdominal surgery and nursing approaches to pain control. International Journal of Caring Sciences, 10(3), 1456-1464.

Gan, T. J., Habib, A. S., Miller, T. E., White, W., & Apfelbaum, J. L. (2014). Incidence, patient satisfaction, and perceptions of post-surgical pain: Results from a US national survey. Current Medical Research and Opinion, 30(1), 149-160.

Haghighi, M. J., Shahdadi, H., Moghadam, M. P., & Balouchi, A. (2016). The impact of evidence-based practices on postoperative pain in patients undergoing gastrointestinal surgery in Amiralmomenin Hospital in Zabol during 2014-2015. Journal of Clinical and Diagnostic Research: JCDR, 10(7), IC01.

Hopia, H., Latvala, E., & Liimatainen, L. (2016). Review of the methodology of integrative review. Scandinavian Journal of Caring Sciences, 30, 662-669. doi: 10.111/scs.12327.

Ju, W., Ren, L., Chen, J., & Du, Y. (2019). Efficacy of relaxation therapy as an effective nursing intervention for post operative pain relief in patients undergoing abdominal surgery: A systematic review and meta analysis. Experimental and Therapeutic Medicine, 18(4), 2909-2916.

Kahloul, M., Mhamdi, S., Nakhli, M. S., Sfeyhi, A. N., Azzaza, M., Chaouch, A., & Naija, W. (2017). Effects of music therapy under general anesthesia in patients undergoing abdominal surgery. The Libyan Journal of Medicine, 12(1), 1260886. doi: 10.1080/19932820.2017.1260886.

Miladinia, M., Pishgooie, A. H., Aliyari, S., & Nouri, E. M. (2017). The comparison of the effect of two complementary medicine methods (music therapy and massage therapy) on postoperative acute pain after abdominal surgery: a randomized clinical trial study. Iranian Red Crescent Medical Journal, 19(6), e14974.

Ngamkham, S., Yang, J. J., & Smith, E. L. (2020). Thai Buddhism-based mindfulness for pain management in Thai outpatients with cancer: A pilot study. Asia-Pacific Journal of Oncology Nursing, 8(1), 58-67. doi: 10.4103/apjon.apjon_43_20.

Tano, P. F., Apiribu, F., Tano, E. K., Mensah, A. B. B., Dzomeku, V. M., & Boateng, I. (2021). Predicting factors that determine patients’ satisfaction with post-operative pain management following abdominal surgeries at Komfo Anokye Teaching Hospital, Kumasi, Ghana. PLOS ONE, 16(5), e0251979. doi: 10.1371/journal.pone.0251979.

The Joanna Briggs Institute. (2013). New JBI levels of evidence. Retrieved from https://joannabriggs.org/sites/default/files/2019-05/JBI-Levels-of-evidence_2014_0.pdf.

Whittemore, R., & Knafl, K. (2005). The integrative review: updated methodology. Journal of Advanced Nursing, 52(5), 546–553. doi: 10.1111/j.1365-2648.2005.03621.x.

Zeleke, S., Kassaw, A., & Eshetie, Y. (2021). Non-pharmacological pain management practice and barriers among nurses working in Debre Tabor Comprehensive Specialized Hospital, Ethiopia. PLOS ONE, 16(6), e0253086. doi: 10.1371/journal.pone.0253086.