การเจรจาต่อรองเพื่อลดความขัดแย้งที่ประสบผลสำเร็จ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 5: วิจัยเชิงคุณภาพ

Main Article Content

ประทีป หมีทอง
พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์
รัชพร ศรีเดช
นพภัสสร วิเศษ
กิ่งแก้ว แสงแผ้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเจรจาต่อรองเพื่อลดความขัดแย้งที่ประสบผลสำเร็จโดยบุคลากรด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 12 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด คือ มีประสบการณ์ด้านการจัดการความขัดแย้งด้วยการใช้การเจรจาต่อรองจนประสบความสำเร็จพื้นที่ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 5 รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจนข้อมูลมีความอิ่มตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบประเด็นที่สำคัญในการเจรจาต่อรองลดความขัดแย้งที่ประสบความสำเร็จ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ดำเนินการอย่างเป็นระบบ คือ ก่อนเจรจาต้องฟังอย่างตั้งใจ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจรจาต่อรอง สร้างทางออกให้เลือก ยึดมั่นในมาตรฐานและต้องยุติธรรม และเน้นแก้ที่ปัญหาที่เกิดอย่างรวดเร็ว 2) ความเหมาะสม ได้ผลประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย คือ สัมพันธภาพยังคงอยู่ ประโยชน์เกิดกับผู้ป่วยหรือญาติ และการดูแลทุกคนคือญาติเหมือนคนในครอบครัว และ3) ปิดท้ายด้วยการสรุป คือ สรุปผลการเจรจาตามที่ตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร


ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาและพัฒนาโปรแกรมการฝึกการเจราจาต่อรองในหลาย ๆ แนวคิด เพื่อพัฒนาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิชาชีพ และสถานการณ์ในปัจจุบัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประกิจ โพธิอาศน์. (2560). การศึกษาการจัดระบบการจัดการความขัดแย้งในระบบการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของหน่วยบริการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 95-118.

ปรียกร กมุทชาติ. (2559). กรณีศึกษาการจัดการความขัดแย้งทางการแพทย์ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 2(2), 191-208.

ปิยาณี รอดบำรุง, และวาสินี วิเศษฤทธิ์. (2560). ประสบการณ์การใช้ศิลปะการไกล่เกลี่ยที่ประสบความสำเร็จของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารเกื้อการุณย์, 24(1), 70-85.

เพ็ญศรี หว่านล้อม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 11(1), 30-38.

วรวุฒิ อินทนนท์. (2660). กลยุทธ์ในการเจรจาต่อรองกับความขัดแย้งในองค์การ. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 619-634.

วรัฐกานต์ อัศวพรวิพุธ. (2559). มาตรฐานการพยาบาล: กระบวนการพยาบาลและจริยธรรมวิชาชีพ. วารสารกฎหมายสขภาพและสาธารณสุข, 2(3), 393-400.

วิรุจน์ คุณกิตติ, และขนิษฐา นวลไธสง. (2560). ผลของการร้องเรียนแพทย์และพยาบาล: ศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32(4), 366-371.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (2563). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สหมิตร.

สุมล ชิดสกุล. (2557). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงพยาบาลของรัฐ: กรณีโรงพยาบาลในเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 17. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(1), 146-153.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ. (2562). ประสบการณ์: การเจรจาต่อรองและการจัดการความขัดแย้ง เพื่อลดความขัดแย้งในระบบการให้บริการสุขภาพและสาธารณสุข. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(3), 158-164.

อภิญญา ผลสวัสดิ์, และธนัท วรุณกูล. (2558) ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อสิ่งแวดล้อมกายภาพในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลมหาราชนคร เชียงใหม่. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 75-94.

อรุณรัตน์ คันธา. (2557). ผลกระทบและทางออกของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล ในประเทศไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(1), 81-90.

Graneheim, U. H., & Lundman, B. (2004). Qualitative content analysis in nursing research: Concepts, procedures and measures to achieve trustworthiness. Nurse Education Today, 24(2), 105-112.

Guba, E. G., & Lincoln, Y. S. (1989). Fourth generation evaluation. California: Sage.

Malterud, K., Siersma, V. D., & Guassora, A. D. (2016). Sample size in qualitative interview studies: guided by information power. Qualitative Health Research, 26(13), 1753-1760.

Robbins, S. P. (2001). Organizational behavior (9thed.). New Jersey: Prentice-Hall.