ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองโดยใช้แถบสีสื่อสาร ต่อความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1 – 3a

Main Article Content

ลดาวัลย์ มาลัยเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3a ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองโดยใช้แถบสีสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3a ที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาแดง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง และแบบสอบถามความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3a วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตวายเรื้อรังในระยะ 1-3a ภายหลังได้เข้าร่วมโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองโดยใช้แถบสีสื่อสาร มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้นและแตกต่างจากก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.42, 8.08, 9.89, p <.05 ตามลำดับ)


รูปแบบของกิจกรรมการสนับสนุนการจัดการตนเองโดยใช้แถบสีสื่อสาร ทำให้ผู้ป่วยเกิดการรับรู้ตนเอง มีแนวทางในการปฏิบัติตัวให้ได้ผลตามเกณฑ์ในการควบคุมโรค ซึ่งจะส่งผลในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวิศรา สอนพูด, และลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2564). การพัฒนาชุมชนรักษ์ไตโดยชุมชน ตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 41(3), 85-98.

คลังข้อมูลสุขภาพ HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง. (2562). สถิติผู้ป่วย พ.ศ.2559–พ.ศ.2561.อ่างทอง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง.

จุฑามาศ จันทร์ฉาย, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, และนิรัตน์ อิมามี. (2555). โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและ การจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 69-83.

ชดช้อย วัฒนะ. (2558). การสนับสนุนการจัดการตนเอง: กลยุทธ์ในการส่งเสริมการควบคุมโรค. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 26(1), 117-127.

ดวงมณี วิยะทัศน์, และอุไร ศิลปะกิจโกศล. (2561).ผลของโปรแกรมการจัดกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลพนมสารคาม. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 5(2), 39-54.

ธวัชชัย สัตยสมบูรณ์, และยุวนุช สัตยสมบูรณ์. (2563). รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการสนับสนุนการจัดการตนเอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(2), 232-243.

นันนภัส พีระพฤฒิพงค์, น้ำอ้อย ภักดีวงค์, และอำภาพร นามวงค์พรหม. (2555). ผลของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองต่อความรู้ กิจกรรมการดูแลตนเอง และค่าฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(2), 98-104.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ.

ไพรินทร์ สำราญรัมย์, รัตน์ศิริ ทาโต, และจรรยา ฉิมหลวง. (2558). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนบำบัดทดแทนไต. วารสารพยาบาล, 64(4), 15-24.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. (2560). การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลทหารบก, 18 (พิเศษ), 17-24.

สมคิด จูหว้า, รุ่ง วงศ์วัฒน์, และอนุกูล มะโนทน. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเครื่องมือ “ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” ต่อความรู้ การรับรู้ตามทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันและการควบคุมระดับความรุนแรงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(2), 127-141.

สำนักโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เสาวนีย์ ชนะพาล. (2558). ผลของโปรแกรมสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการจัดการในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะก่อนบำบัดทดแทนไต (วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Canadian Diabetes Association Clinical Practice Guidelines Expert Committee, Jones, H., Berard, L. D., MacNeill, G., Whitham, D., & Yu, C. (2013). Self-management education. Canadian Journal of Diabetes, 37(Suppl1), 26-30.

Creer, T. L. (2000). Self-management of chronic illness. In M. Boekaerts, P. R. Pintrich, & M. Zeidner (Eds.), Handbook of self-regulation (p. 601–629). California: Academic Press. Retrieved from https://doi.org/10.1016/B978-012109890-2/50047-0.

Creer, T. L., & Holroyd, K.A. (1997). Self-management. In A. Baum, S. Newman, J. Weinman, R. West, & C. McManus (Eds.). Cambridge handbook of psychology, health, and behavior (pp.255-258). London: Cambridge University Press.

Eknoyan, G., Lameire, N., Eckardt, K., Kasiske, B., Wheeler, D., Levin, A., ... & Levey, A. S. (2013). KDIGO 2012 clinical practice guideline for the evaluation and management of chronic kidney disease. Kidney International, 3(1), 5-14.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191.

Ingsathit, A., Thakkinstian, A., Chaiprasert, A., Sangthawan, P., Gojaseni, P., Kiattisunthorn, K., ... & Thai-SEEK Group. (2010). Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrology Dialysis Transplantation, 25(5), 1567-1575.

Klein, M., Mogles, N., & Van Wissen, A. (2014). Intelligent mobile support for therapy adherence and behavior change. Journal of Biomedical Informatics, 51, 137-151.

Lorig, K. R., & Holman, H. R. (2003). Self-management education: history, definition, outcomes, and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine, 26(1), 1-7.