ผลของการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลและความมั่นใจ ในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง
วิรดา อรรถเมธากุล
รัตนา นิลเลื่อม
นาตยา วงศ์ยะรา

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง โดยการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล และความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ปีการศึกษา 2561 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติการดูแลและช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาเลือดออกเฉียบพลันในระบบทางเดินอาหารส่วนบน แบบสอบถามความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล และความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .92 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล และคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 11.11, 15.79, p < .05)


ผลการวิจัยนี้ สนับสนุนให้ผู้สอนได้นำการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงมาใช้ เพื่อช่วยพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลและเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจมส์ เบลลันกา และรอน แบรนด์ (บ.ก.). (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, และอธิป จิตตฤกษ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ.2560. (2561, 3 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 1 ง. หน้า 7-11.

มาลี คำคง, ผาณิต หลีเจริญ, ยุวนิดา อารามรมย์, และอริสา จิตต์วิบูลย์. (2559). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการดูแล และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับผู้ป่วยวิกฤติ-ฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 52-64.

รจนารถ ชูใจ, กมลพร แพทย์ชีพ, และกรรณิการ์ กิจนพเกียรติ. (2564). คุณภาพบัณฑิตพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ตามการรับรู้ของผู้ใช้บัณฑิต ปีการศึกษา 2559. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 1(1), 58-67.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. (2560). รายงานประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.6) รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ปีการศึกษา 2560. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.

สายสมร เฉลยกิตติ, พรนภา คำพราว, และสมพิศ พรหมเดช. (2557). ความปลอดภัยของผู้ป่วยกับคุณภาพการบริการ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 66-70.

สภาการพยาบาล. (2553). สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์.

สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, และสุนีย์รัตน์ บุญศิลป์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความรู้ ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาฝึกทักษะทางวิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(1), 113-127.

อรนันท์ หาญยุทธ. (2557). กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 137-143.

Aldhafeeri, F., & Alosaimi, D. (2020). Perception of satisfaction and self-confidence with high fidelity simulation among nursing students in government universities. Perception, 11(11), 137-149.

Demirtas, A., Guvenc, G., Aslan, Ö., Unver, V., Basak, T., & Kaya, C. (2021). Effectiveness of simulation-based cardiopulmonary resuscitation training programs on fourth-year nursing students. Australasian Emergency Care, 24(1), 4-10.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191.

Jeffries, P. R., & Rogers, K. J. (2007). Theoretical framework for simulation design. In P. R. Jeffries (Ed.), Simulation in nursing education from conceptualization to evaluation (pp.21-33). New York: National League for Nursing.

Kolb, A. Y., & Kolb, D. A. (2005). Learning styles and learning spaces: Enhancing experiential learning in higher education. Academy of Management Learning & Education, 4(2), 193-212.

Lau Y. (2014). Factors affecting the social problem-solving ability of baccalaureate nursing students. Nurse Education Today, 34(1), 121-126.

Maneejak, N., & Yasri, P. (2018). Nursing students’ perception toward high fidelity simulation. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 7(2), 104-111.

Mirzakhani, K., & Shorab, J. N. (2015). Study of the self-confidence of midwifery graduates from Mashhad College of nursing and midwifery in fulfilling clinical skills. Electron Physician, 7(5), 1284-1289. doi: 10.14661/1284.

Najjar, R. H., Lyman, B., & Miehl, N. (2015). Nursing students’ experiences with high-fidelity simulation. International Journal of Nursing Education Scholarship, 12(1), 27-35.

Omer, T. (2016). Nursing students' perceptions of satisfaction and self-confidence with clinical simulation experience. Journal of Education and Practice, 7(5), 131-138.

Park, S. N., Chu, M. S., Hwang, Y. Y., Kim, S. H., & Lee, S. K. (2015). Effects of integrated nursing practice simulation-based training on stress, interest in learning, and problem-solving ability of nursing students. Journal of Korean Academy of Fundamentals of Nursing, 22(4), 424-432. doi: 10.7739/jkafn.2015.22.4.424.

Song, Y. A. (2014). Effect of simulation-based practice by applying problem based learning on problem solving process, self-confidence in clinical performance and nursing competence. Korean Journal of Women Health Nursing, 20(4), 246-254.

Stayt, L. C., & Merriman, C. (2013). A descriptive survey investigating pre-registration student nurses' perceptions of clinical skill development in clinical placements. Nurse Education Today, 33(4), 425-430.

Tutticci, N., Coyer, F., Lewis, P. A., & Ryan, M. (2016). High-fidelity simulation: Descriptive analysis of student learning styles. Clinical Simulation in Nursing, 12(11), 511-521.

Yoo, J. H., & Kim, Y. J. (2018). Factors influencing nursing students' flow experience during simulation-based learning. Clinical Simulation in Nursing, 24, 1-8. doi.org/10.1016/J.ECNS.2018.09.001.