ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

พยงค์ เทพอักษร
Elizabeth Kelly Hom Thepaksorn
สุทัศน์ เสียมไหม
บุบผา รักษานาม
สุขุมาภรณ์ ศรีวิศิษฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ศิษย์เก่า บุคลากรสาธารณสุข และบุคคลที่สนใจ จำนวน 275 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ระยะที่ 2 ศึกษาความพร้อมในการเปิดหลักสูตรฯ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้บริหารระดับวิทยาลัย คณบดีและประธานหลักสูตร จำนวน 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้สัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า


  1. ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ร้อยละ 68.36 ในสาขา Community health leadership ร้อยละ 45.45 รองลงมาคือ สาขา Environmental and occupational health ร้อยละ 41.82 โดยมีสมรรถนะที่คาดหวังคือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพ ความสามารถในการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ และความสามารถในการตัดสินประเด็นเชิงจริยธรรม ร้อยละ 84.36, 79.27, และ 79.27 ตามลำดับ โดยมีรูปแบบการศึกษาแบบภาคพิเศษ ร้อยละ 82.91 และต้องการเรียนแบบสะสมหน่วยการเรียนรู้ ร้อยละ 54.55

  2. ความพร้อมในการเปิดหลักสูตรฯ พบว่ามีข้อเสนอให้มีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นการเรียนผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณในประเด็นทั้งรูปแบบการจัดการเรียนการสอน สาขา แผนการศึกษา การเรียนแบบสะสมหน่วยกิต แบบออนไลน์ สมรรถนะที่คาดหวัง และการเตรียมความพร้อมตามหลักการประกันคุณภาพของหลักสูตร และการบริหารหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและสนับสนุนของคณะและวิทยาลัยในการเปิดหลักสูตร พัฒนาให้ผู้สอนด้านวิชาการและมีความเป็นนานาชาติ ตลอดจนการประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

จากผลการวิจัยนี้ เห็นควรส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ในปีการศึกษา 2565 ซึ่ง สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ.2563-2567) ของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

จุฑามาศ เบ้าคำกอง, นพรัตน์ ส่งเสริม, อรอนงค์ บุรีเลิศ, และเนตรทราย ทองคำ. (2560). ความต้องการศึกษาต่อและคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิตและสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 86-94.

จริยาภรณ์ โตเผือก. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(2), 56-63.

นภชา สิงห์วีรธรรม, และยุพาวดี ขันทบัลลัง. (2560). สถานการณ์การผลิตกำลังด้านสุขภาพของสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อตอบสนองความต้องการของระบบสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 218-225.

พระราชบัญญัติ สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562. (2562, 5 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136 ตอน 43 ก หน้า 40-65.

พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พุทธศักราช 2556. (2556, 16 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130 ตอนที่ 118 ก หน้า 19 – 34.

พีระ พันธุ์งาม, ณัฐวัชต์ บุญภาพ, ธัญลักษณ์ ครึ่งธิ, และสุลีมาศ คำมุง (2559). การตัดสินใจศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 2(1), 121-127.

มารุต คล่องแคล่ว (2558).การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. Veridian E-Journal, Silapakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 2188-2203.

สถาบันพระบรมราชชนก. (2560). แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก 2560 - 2564. นนทบุรี. กองนโยบายและยุทธศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

สถาบันพระบรมราชชนก. (2562). คู่มือการประกันคุณภาพ สถาบันพระบรมราชชนก. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=6422.

สุพัฒน์ อาสนะ, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, สุทิน ชนะบุญ, ธีรศักดิ์ พาจันทร์, เจตนิพิฐ สมมาตย์, วิชุตา แสงเพชร์, และกุลธิดา กิ่งสวัสดิ์ (2562). ความต้องการศึกษาต่อปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 233-239.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 17-29.

Association of Schools of Public Health in the European Region (ASPHER). (2021). Strategic Plan 2020-2025: ASPHER 2025. Association of Schools of Public Health in the European Region. Retrieved from https://www.aspher.org/section-on-education-for-global-health.html.

Faculty of Public Health, Mahidol University. (2020). Manual for master of public health (International program). Retrieved from https://www.ph.mahidol.ac.th/phmph/.

Kirk, M. A., Kelley, C., Yankey, N., Birken, S. A., Abadie, B., & Damschroder, L. (2015). A systematic review of the use of the consolidated framework for implementation research. Implementation Science, 11(1), 1-13. doi: 10.1186/s13012-016-0437-z.

Lemeshow, S., Hosmer, D. W., Klar, J., Lwanga, S. K., & World Health Organization. (1990). Adequacy of sample size in health studies. Chichester: Wiley.

Pongsiri, M. J., Bickersteth, S., Colón, C., DeFries, R., Dhaliwal, M., Georgeson, L., ... & Ungvari, J. (2019). Planetary health: From concept to decisive action. The Lancet Planetary Health, 3(10), 402-404. doi: 10.1016/S2542-5196(19)30190-1.

The Association of Schools and Programs of Public Health (ASPPH). (2020). ASPPH 2020 Annual Report. The Association of Schools and Programs of Public Health. Retrieved from https://www.aspph.org/about/.