ประสิทธิผลของโปรแกรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเองและทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี คัดเลือกโดยสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยสื่อวิดีทัศน์ การสาธิตและฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยแบ่งเป็นฐาน การใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง การใช้ตัวแบบ และการใช้คำพูดชักจูง ระยะเวลา 3 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมเรียนตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้ด้านการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การรับรู้ความสามารถของตนเองในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองโดยการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการทดสอบทีแบบเป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ด้านการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การรับรู้ความสามารถของตนเองในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้ สามารถเป็นแนวทางให้บุคลากรทางด้านสุขภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับครูสุขศึกษา ในการพัฒนาความรู้และทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องให้กับนักเรียนได้
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
ปาจรีย์ ตรีนนท์, สำเร็จ เทียนทอง, ธีราภรณ์ บุญล้อม, ชิณท์ณภัทร วันชัย, ชลธิชา บุญบรรจง, ญาสุมินทร์ พลเทพ,... ดนัย ผลสะอาด. (2562). ผลของการใช้สื่อการเรียนรู้แอพพลิเคชั่นเพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(3), 98-105.
เพ็ญพักตร์ ไชยสงเมือง, และชัจคเณค์ แพรขาว. (2561). ผลของโปรแกรมการสอนการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานภาวะหัวใจหยุดเต้นในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(2), 118-132.
มาลี คำคง, ผาณิต หลีเจริญ, ยุวนิดา อารามรมย์, และอริสา จิตต์วิบูลย์. (2559). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการดูแลและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับผู้ป่วยวิกฤติ-ฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 52-64.
มัตถก ศรีคล้อ, มาลินี อยู่ใจเย็น, และธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล. (2562). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานต่อความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 35(1), 239-251.
วราพรรณ เพ็งแจ่ม. (2560). ความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 63-71.
วริศรา เบ้านู. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์กรณีพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 6, 37-47.
วิโรจน์ อารีย์กุล (บ.ก.). (2555). Practical points in adolescent health care. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.
วีรพงศ์ วัฒนาวนิช, รังสรรค์ ภูรยานนทชัย, และบดินทร์ ขวัญนิมิต. (2556). การรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลและความเป็นไปได้ในการชักนำให้อุณหภูมิต่ำลงของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 31(6), 287-295.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2559). คู่มือสำหรับประชาชนในการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นด้วยเครื่อง เอ อี ดี. กรุงเทพฯ: ศรีเมือง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สืบค้นจาก http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ระบบรายงาน Health Data Center (HDC). สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
เอกรัก ไชยสถาน, และอภินันท์ จุลดิษฐ์. (2563). ผลของโปรแกรมสอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานผ่านสื่อวิดิทัศน์ที่มีต่อระดับความรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิริรัตนาธร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(2), 211-216.
Abelsson, A., Odestrand, P., & Nygårdh, A. (2020). To strengthen self-confidence as a step
in improving prehospital youth laymen basic life support. BMC Emergency Medicine, 20(1), 1-5. doi: 10.1186/s12873-020-0304-8.
American Heart Association. (2020a). Cardiovascular Diseases (CVDs). Retrieved from https://cpr.heart.org/en/resources/cpr-facts-and-stats.
American Heart Association. (2020b). Guidelines and statements search. Retrieved from https://professional.heart.org/en/guidelines-and-statements/guidelines-and-statements-search.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.
Best, J. W. (1977). Research in education. New Jersey: Prentice-Hall.
Bloom, S. J. (1975). Taxonomy of education objective, handbook 1: Cognitive domain. New York: David McKay.
Böttiger, B. W., Van Aken, H. (2015). Kids save lives – training school children in cardiopulmonary resuscitation worldwide is now endorsed by the World Health Organization (WHO). Resuscitation, 97, 5-7. doi: 10.1016/j.resuscitation.2015.07.005.
Jeffries, P. R. (2005). A framework for designing, implementing, and evaluating: Simulations used as teaching strategies in nursing. Nursing Education Perspectives, 26(2), 96-103.
Koh, J. H. & Hur, H. K. (2016). Effects of simulation-based training for basic life support utilizing video-assisted debriefing on non-technical and technical skills of nursing students. Korean Journal of Adult Nursing, 28(2), 169-179. doi: 10.7475/kjan.2016.28.2.169.
Onan, A., Turan, S., Elcin, M., Erbil, B. & Bulut, S. C. (2019). The effectiveness of traditional basic life support training and alternative technology-enhanced methods in high schools. Hong Kong Journal of Emergency Medicine, 26(1), 44-52. doi: 10.1177/1024907918782239.
Requena-Mullor, M. D. M., Alarcón-Rodríguez, R., Ventura-Miranda, M. I., & García-González, J. (2021). Effects of a clinical simulation course about basic life support on undergraduate nursing students’ learning. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(4), 1-9. doi: 10.3390/ijerph18041409.
World Health Organization. (2020). Cardiovascular diseases (CVDs). Retrieved from https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds)