การเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในผู้ป่วยต้อหิน: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ

Main Article Content

ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ
คมสัน แก้วระยะ
วิไลวรรณ คมขำ
ใบบัว เศวตสุวรรณ

บทคัดย่อ

การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยต้อหิน เป็นสิ่งที่สำคัญในการช่วยผู้ป่วยให้สามารถดูแลตนเองได้เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การลดความดันในลูกตาและการสูญเสียการมองเห็น การเสริมสร้างพลังอำนาจจะช่วยให้ผู้ป่วยต้อหินสามารถคิดพิจารณาไตร่ตรอง ทบทวนทำความเข้าใจกับสถานการณ์ปัญหา แสวงหาทางเลือก เพื่อการตัดสินใจและจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม ช่วยพัฒนาความรู้สึกมีพลังอำนาจในการควบคุมตนเอง รู้สึกเข้มแข็งและมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยต้อหินซึ่งมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือ เป็นการสร้างความคุ้นเคยให้เกิดความไว้วางใจระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย 2) การค้นพบสภาพการณ์จริงและการสะท้อนคิด โดยมีการค้นหาสภาพการณ์จริงของตนเอง วิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลตนเอง สะท้อนคิด และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อหิน 3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง จากการเรียนรู้จากต้นแบบ ทำพันธสัญญาการดูแลตนเอง และบันทึกในแบบบันทึกกิจกรรมการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง และ 4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ โดยการเล่าประสบการณ์ตามพันธะสัญญา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันหาแนวทางที่เหมาะสม ให้กำลังใจกัน และสรุปการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลลัพธ์ที่ดีในการดูแลและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมกับสภาพการเจ็บป่วยและวิถีการดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขของผู้ป่วยต้อหิน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กุนนที พุ่มสงวน. (2557). การสร้างเสริมพลังอำนาจทางสุขภาพ: บทบาทที่สำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3), 86-90.

กรกฎ เจริญสุข, สิริมา ชุ่มศรี, และพรทิพา ศุภราศรี. (2562). ผลของการเสริมพลังอำนาจในผู้ดูแลต่อความสามารถในการดูแลเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 4(2), 58-70.

จารวี คณิตาภิลักษณ์, ทศพร คำผลศิริ, และลินจง โปธิบาล. (2563). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. พยาบาลสาร, 47(1), 222-230.

จิรัชยา เจียวก๊ก, สุภาวี หมัดอะด้ำ, และอัสมา เกษตรกาลาม์. (2558). การรับรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยต้อหิน. วารสารจักษุธรรมศาสตร์, 8(2), 29-45.

พรรักษ์ ศรีพล. (2561). ความชุกของการสูญเสียการมองเห็นในต้อหิน. ชัยภูมิเวชสาร, 38(2), 46-55.

เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, ชุติมา มาลัย, และสุพรรณี กัณหดิลก. (2560). การเสริมสร้างพลังอำนาจ: บทบาทพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล, 44(2), 159-168.

นริสา วงศ์พนารักษ์. (2557). สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด: การประยุกต์ใช้ในกระบวนการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 84-91.

ไปรมา กลิ่นนิรัญ. (2558). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 213-230.

รัชนี ปานเพ็ชร, และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2553). การศึกษาใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 24(1), 94-107.

ลาลิน เจริญจิตต์, ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์, และเบญจมาศ สุขสถิตย์. (2563). การเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ: กรณีศึกษา. พยาบาลสาร, 47(1), 242-254.

วิศนี ตันติเสวี, สุภรัตน์ จริยโกศล, วรรณกรณ์ พฤกษากร, สุภณัฐ อภิญญาวสีสุข, และปัจฉิมา จันทเรนทร์ (บ.ก.). (2561). ตำราจักษุวิทยา สำหรับนิสิตแพทย์และแพทย์ปฏิบัติทั่วไป (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สมชาย พรวิจิตรพิศาล, พิมพ์ปรียา ขจรชัยกุล, และฉัตรชนก บุริประเสริฐ. (2561). ความเข้าใจเรื่องการใช้ยาหยอดตาผู้ป่วยนอกโรคต้อหิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 62(2), 187-195.

สุภาพร แนวบุตร. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(4), 30-40.

สุรีรัตน์ ปิงสุทธิวงศ์. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(3), 59-74.

สุวัฒนา ชุณหคล้าย, และสุจิตรา ลิ้มอํานวยลาภ. (2557). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาและความดันตาของผู้ป่วยโรคต้อหิน. ใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, Graduate Research Conference 2014 Khon Kaen University (น. 1814-1823). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Amiri, W., Khademian, Z., & Nikandish, R. (2018). The effect of nurse empowerment educational program on patient safety culture: A randomized controlled trial. BMC Medical Education, 18, 158.

Ayele, F. A., Zeraye, B., Assefa, Y., Legesse, K., Azale, T., & Burton, M. J. (2017). The impact of glaucoma on quality of life in Ethiopia: A case-control study. BMC Ophthalmology, 17(1), 1-9.

Flatau, A., Solano, F., Idrees, S., Jefferys, J. L., Volpe, P., Damion, C., & Quigley, H. A. (2016). Measured changes in limbal strain during simulated sleep in face down position using an instrumented contact lens in healthy adults and adults with glaucoma. JAMA Ophthalmology, 134(4), 375-382.

Gibson, C. H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing, 16, 354-361.

Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 21(6), 1201-1210.

Hecht, I., Achiron, A., Man, V., & Burgansky-Eliash, Z. (2017). Modifiable factors in the management of glaucoma: A systematic review of current evidence. Graefe's Archive for Clinical and Experimental Ophthalmology, 255(4), 789-796.

Kang, J. M., & Lin, S. (2018). Ginkgo biloba and its potential role in glaucoma. Current Opinion in Ophthalmology, 29(2), 116-120.

Kim, J., Aschard, H., Kang, J. H., Lentjes, M. A., Do, R., Wiggs, J. L., ... & Modifiable Risk Factors for Glaucoma Collaboration. (2020). Intraocular pressure, glaucoma and dietary caffeine consumption: A gene–diet interaction study from the UK Biobank. Ophthalmology, 128(6), 866-876.

Lee, C. S., Owen, J. P., Yanagihara, R. T., Lorch, A., Pershing, S., Hyman, L., ... & Lee, A. Y. (2020). Smoking is associated with higher intraocular pressure regardless of glaucoma: A retrospective study of 12.5 million patients using the intelligent research in sight (IRIS®) registry. Ophthalmology Glaucoma, 3(4), 253-261.

Lim, N., Fan, C. H., Yong, M. K., Wong, E. P., & Yip, L. W. (2016). Assessment of depression, anxiety, and quality of life in Singaporean patients with glaucoma. Journal of Glaucoma, 25(7), 605-612.

Park, S., Kho, Y. L., Kim, H. J., Kim, J., & Lee, E. H. (2015). Impact of glaucoma on quality of life and activities of daily living. Hong Kong Journal of Occupational Therapy, 25(1), 39-44.

Renard, J. P., Rouland, J. F., Bron, A., Sellem, E., Nordmann, J. P., Baudouin, C., ... & Delcourt, C. (2013). Nutritional, lifestyle and environmental factors in ocular hypertension and primary open-angle glaucoma: An exploratory case–control study. Acta Ophthalmologica, 91(6), 505-513.