ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

Main Article Content

จิรพรรณ โพธิ์ทอง
อรุณี สังขพานิต
สาวิตรี ศิริผลวุฒิชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี จำนวน 235 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิโดยคำนวณตามสัดส่วนประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปัจจัยและความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี มีความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพในระดับมาก (M= 3.92, SD = .49) มีปัจจัยที่ 5 ด้านได้แก่ การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Beta = .30) การสร้างนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพของวิทยาลัย (Beta =.16) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Beta =.14) ภาวะผู้นำ (Beta =.13) และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ (Beta =.10) ที่สามารถร่วมทำนายความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ร้อยละ 72.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 5.64, p = . 018)  


ผลการวิจัย สามารถนำไปใช้วางแผนกลยุทธ์ โดยเน้นการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล การสร้างนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพของวิทยาลัย เทคโนโลยีสารสนเทศ ภาวะผู้นำ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานสร้างเสริมสุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สุพรรณบุรี (2561). รายงานการผลการ ดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2561. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.

กลุ่มยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพ. (2559). รายงานการประเมินตนเอง ประจำปี 2559. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.

กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. (2557). การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

กุนนที พุ่มสงวน. (2557). สุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพ: บทบาทที่สำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 10-14.

ชิดชม เจนตลอด, และจุมพจน์ วนิชกุล. (2560). รูปแบบการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลในประเทศไทย. วารสารสารสนเทศ, 16(1), 185-198.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. (2563). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136. ตอนที่ 56 ก หน้า 254.

ไพลิน บุญนา. (2559). ลักษณะความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี, จันทบุรี.

พัชรกันย์ เมธาอัครเกียรติ, และธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 717-739.

พัชรกันย์ เมธาอัครเกียรติ, และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 1944-1960.

ยิ่งศักดิ์ ไกรพินิจ, และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ขององค์กรระดับบุคคล ในหน่วยงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(3), 385-395.

วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. (2561). การสร้างเสริมสุขภาพในสถานศึกษา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 11(2), 1-11.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. (2555). แผนปฏิบัติการประจำปี 2556. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.

ศิริพร พุทธรังษี, ชวลี บุญโต, สายสมร เฉลยกิตติ, นุชรัตน์ มังคละคิรี, และหทัยรัตน์ ขาวเอี่ยม. (2558). การสร้างเสริมสุขภาวะของบุคลากรทางการพยาบาลในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(2), 8-14.

สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

สุฤดี โกศัยเนตร, และวรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 34(4), 50-67.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563 – 2565. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/ guide_civilservice_update.pdf.

อัมพร ปัญญา. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในวิทยาลัยราชพฤกษ์.วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 180-190.

Bennett, J. K., & O'Brien, M. J. (1994). The building blocks of the learning organization. Training, 31(6), 41-48.

Ngamjarus, C. (2016). n4Studies: Sample size calculation for an epidemiological study on a smart device. Siriraj Medical Journal, 68(3), 160-170.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday.

World Health Organization (WHO). (2009). Milestones in health promotion: Statements from global conferences. Geneva, Switzerland: WHO Press.