การรับรู้การป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการทำแท้ง ของแกนนำนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Main Article Content

นิภาดา ธารีเพียร
โกสุม เศรษฐาวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการรับรู้การป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการทำแท้งของแกนนำนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาเอกชน และเป็นแกนนำที่เข้าร่วมอบรมการให้คำปรึกษาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของนักศึกษา ลือกแบบเฉพาะเจาะจง ทั้งหมด 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้ข้อคำถามกึ่งโครงสร้าง พร้อมทั้งบันทึกเทปและบันทึกภาคสนาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาสะท้อนการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการทำแท้ง แบ่งเป็น 2 หัวข้อใหญ่ ได้แก่ 1) การรับรู้อุปสรรคของนักศึกษา ได้แก่ ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่ถูกต้อง บุคคลที่ให้คำปรึกษา และกลัวสังคมไม่ยอมรับ 2) การรับรู้วิธีป้องกันก่อนและหลังเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ได้แก่ ทางเลือกที่หลากหลายให้ผู้รับคำปรึกษาตัดสินใจเอง การทำแท้งภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ และการให้ครอบครัวร่วมตัดสินใจและแก้ไขปัญหา  


จากการสะท้อนการรับรู้ของแกนนำนักศึกษา แสดงให้เห็นว่าควรเปิดช่องทางให้ผู้ขอรับคำปรึกษาเข้าถึงได้ง่ายและมั่นใจว่าจะได้รับการรักษาความลับ การเปิดช่องทางที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้ขอรับคำปรึกษาเข้าถึงได้รวดเร็ว ตลอดจนการมีครูหรืออาจารย์ที่ปรึกษา นักจิตวิทยาเป็นเครือข่ายที่คอยกำกับดูแลให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือ ในกรณีที่ปัญหาซับซ้อนเกินความสามารถของนักศึกษาแกนนำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย. (2561). ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เสียงเด็กและเยาวชนไทยต่อสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ ภายใต้ พรบ. การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: UNFPA. สืบค้นจาก https://thailand.unfpa.org/th/youth-voice.

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). แม่วัยใส ความท้าทายการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: แอดวานส์ปริ้นติ้ง.

เกสร เหล่าอรรคะ, อรทัย แสนบน, เจน โสธรวิทย์, และสมจิตร เมืองพิล. (2563). ผลของการให้คำปรึกษาทางเลือกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 35(6), 713-719.

จิราจันทร์ คณฑา, ปิ่นแก้ว โชติอำนวย, วิภา ประสิทธิโชคม, และอุษนันท์ อินทมาศน์. (2562). แนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ. พิฆเนศวร์สาร, 15(2), 161-173.

ชาลี ยะวร. (2560).รูปแบบการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในจังหวัดมหาสารคามอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 1(1), 9-17.

ฐิติกานต์ บัวรอด, ชิดชนก แก้วพรรณนา, เสาวนีย์ ทองนพคุณ, และสาวิตรี วิษณุโยธิน. (2563). การรับรู้สุขภาพทางเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ของนักศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(1), 78-76.

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์, และขวัญใจ เพทายประกายเพชร. (2559). การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการทำแท้ง: แนวทางป้องกันสำหรับวัยรุ่น. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 32(2), 133-141.

พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564. (2564, 6 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนที่ 10 ก. หน้า 1-3.

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. (2559). สืบค้นจาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A1158/%A1158-20-2559-a0001.htm

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2557). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่น ตามการรับรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 90-98.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, กฤตยา แสวงเจริญ, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, ยุพา ถาวรพิทักษ์, สมพร วัฒนนุกุลเกียรติ,... ทรงพร จันทรพัฒน์. (2561). การบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัด: ผลการวิจัยระยะที่ 2. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(6), 1023-1038.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2559). การให้คำปรึกษาทางเลือกสำหรับวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล, 31(2), 5-16.

สุดาภรณ์ อรุณดี, วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์, พรรณทิพย์ กาหยี, และวรวุฒิ พึ่งพัก. (2559). ความต้องการของแม่วัยเยาว์เพื่อการแก้ไขปัญหาและป้องกัน การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1), 276-289.

อภิญญา ยุทธชาวิทย์. (2562). ประสบการณ์การตั้งครรภ์ระหว่างเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารทันตาภิบาล, 30(2), 25-40.

UNICEF Thailand. (2558). การวิเคราะห์สถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในประเทศไทย: รายงานสังเคราะห์ 2558. กรุงเทพฯ: องค์การยูนิเซฟประจำ ประเทศไทย.

Adanikin, A. I., Adanikin, P. O., Orji, E. O., & Adeyanju, B. T. (2017). Survey of sexual activity and contraceptive use among unmarried young school and college drop-outs in a defined Nigerian population. Journal of Biosocial Science, 49(5), 675-684. doi: 10.1017/S002193201600050X.

Agbeno, E. K., Gbagbo, F. Y., Morhe, E. S. K., Maltima, S. I., & Sarbeng, K. (2019). Pregnancy options counseling in Ghana: A case study of women with unintended pregnancies in Kumasi metropolis, Ghana. BMC Pregnancy and Childbirth, 19(1), 1-9. Retrieved from https://doi.org/10.1186/s12884-019-2598-7.

Creswell, J. W. (2009). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approach. (3rd ed.). Los Angeles: Sage.

Scott-Ashley, O., Akande, S., Adebayo, A., & Iken, O. (2020). Adolescents’ knowledge of sexuality and perceptions regarding teenage pregnancy: A qualitative study among secondary school students in Ibadan, Southwest Nigeria. International Journal of School Health, 7(2), 37-45. doi: 10.30476/intjsh.2020.84758.1047.

Streubert, H. L., & Carpenter, D. R. (2011). Qualitative research in nursing: Advancing in the humanistic imperative. (5th ed.). Philadelphia: J.B. Lippincott Williams & Wilkins.

Udmuangpia, T., Häggström-Nordin, E., Worawong, C., Tanglakmankhonge, K., & Bloom, T. (2017) A qualitative study: Perceptions regarding adolescent pregnancy among a group of Thai adolescents in Sweden. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 21(1), 75-87.