ผลของการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานต่อความรู้ เรื่อง ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

Main Article Content

ภาวินี เสาะสืบ
วรนาถ พรหมศวร
จุฬารัตน์ ห้าวหาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานต่อความรู้เกี่ยวกับปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ขั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ จำนวน 100 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โครงงานศึกษาวิถีชุมชนรายวิชามนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกัน แบบวัดความรู้ เรื่อง ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น KR – 20 เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่า


1. คะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง (M = 7.09, SD = 1.10) คะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับสูง (M = 10.83, SD = 1.43) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 28.11, p = .000)


2. เปรียบเทียบคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้แต่ละกลุ่มพบว่า คะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนการจัดการเรียนรู้เป็นตัวแปรร่วม พบว่าความรู้หลังการจัดการเรียนรู้แต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกัน (F(1, 89)= 1.19, p = .31)


ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีประสิทธิผลต่อการเพิ่มความรู้ของผู้เรียน สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในวิชาชีพพยาบาลที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วรนาถ พรหมศวร, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

 

  

References

ชลธิชา แก้วอนุชิต.(2556). แนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพและปัจจัยกำหนดสังคมทางสุขภาพภายใต้ ระบบสุขภาพโลกและประเทศไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 36(1), 123 – 131.

ดุษฎี โยเหลา. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.(2560). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). สุรินทร์: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.

รวงดี ชีวะสุทโธ, และศุภกร หวานกระโทก. (2561). ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลจากการสอนโดยให้จัดทำโครงการเรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพของระบบการไหลเวียนเลือด. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(3), 182-195.

วิจารณ์ พานิช. (2558).วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2), 3-14.

ศศิโสภิต แพงศรี. (2561). การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน: การประยุกต์สู่การปฏิบัติในการจัดการศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(1), 215-222.

สิทธิพล อาจอินทร์, และธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2554). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี. วารสารวิจัย มข., 1(1), 1-16.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน. นครปฐม: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.

อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 8(3), 185-199.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, ดาราวรรณ รองเมือง, และรุ่งนภา จันทรา. (2562). การศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21: สมรรถนะและบทบาทของอาจารย์พยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1). 12–20.

Efstratia, D. (2014). Experiential education through project based learning. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 152, 1256-1260. doi:10.1016/j.sbspro.2014.09.362.

Trilling, R., & Fadel, C. (2009). 21st century skills: Learning for life in our times. San Francisco: Jossey – Bass.