ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ

Main Article Content

วัลทณี นาคศรีสังข์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลบุตรของมารดาที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่ดูแลบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจ เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 60 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ได้รับโปรแกรมตามคู่มือการให้การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้แก่มารดาบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่วันแรกที่มารดาพาบุตรเข้ารับการรักษา รวม 2 วัน และติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์เมื่อครบ 1 เดือน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที


ผลการศึกษาพบว่า มารดากลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ มีคะแนนเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลบุตรหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05 (t = -7.07, p < .001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05 (t = -6.97, p < .001) ผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ที่นำมาใช้กับมารดาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยส่งเสริมให้มารดามีพฤติกรรมการดูแลบุตรได้อย่างถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคติดต่อ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2563). สถานการณ์โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/ 1274820200505040058.pdf.

จุฬาลักษณ์ แก้วสุก, ยุนี พงศ์จตุรวิทย์, และนุจรี ไชยมงคล. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารคณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(4), 54-64.

ดวงเนตร์ ภู่วัฒนาวนิชย์. (2560). ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถ ของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล, 19(2), 35-44.

พารุณี วงษ์ศรี, และทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. (2561). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มกับการดูแลและการให้คำแนะนำผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลตำรวจ, 10(1), 209-219.

พัชราภรณ์ อารีย์, สุภาพร เชยชิด, บุษบา หีบเงิน, และพรศิริ ศรมยุรา. (2562). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลเด็กป่วยโรคปอดอักเสบของผู้ดูแลในโรงพยาบาลเขต 5 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 13(4), 150-164.

พัฒนพร ตรีสูนย์, และประนอม รอดคำดี. (2560). ผลของโปรแกรมการสอนแนะมารดาต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กวัยเตาะแตะโรคปอดอักเสบ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(1), 55-63.

ภาวิณี ช่วยแท่น, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, และสุปรียา ตันสกุล. (2563). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริม พฤติกรรมป้องกันการกลับมารักษาซ้ำในมารดาเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารสุขศึกษา, 43(1), 12-24.

สมฤดี เลิศงามมงคลกุล, ไข่มุกข์ วิเชียรเจริญ, และอาภาวรรณ หนูคง. (2554). ผลของโปรแกรมการ พยาบาลที่เน้นระบบสนับสนุน และให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(4), 55-60.

สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ. 2562. นนทบุรี: บียอนด์เอ็น เทอร์ไพรซ์.

สาธิมา สงทิพย์, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, และอรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์. (2558). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้แก่มารดาต่อความรู้และพฤติกรรมในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว อายุ 0-2 ปี. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 26(2), 25-38.

สุทธินี สุปรียาพร. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคปอดอักเสบซ้ำ. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบ. สืบค้นจาก http://www.boe.moph.go.th/fact/Pneumonia.htm.

วรรษมน ปาพรม, สมสมร เรืองวรบูรณ์, และสมปอง พะมุลิลา. (2562). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดาวัยรุ่น. วารสารพยาบาล สงขลานครินทร์, 39(4), 86-96.

วนิดา แสนพุก, สุดใจ ศรีสงค์, และเพ็ญจุรี แสนสุริวงศ์. (2563). การพัฒนานารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารกองการพยาบาล, 47(1), 153-168.

อ้อมทิพย์ น้อยหมอ, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, และจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. (2562). ผลของการส่งเสริมแรงจูงใจ ในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันของเด็ก. พยาบาลสาร, 46(1), 132-142.

แผนกกุมารเวช โรงพยาบาลบ้านโป่ง. (2563). สถิติผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในหอผู้ป่วยแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง. ราชบุรี: โรงพยาบาลบ้านโป่ง.

Huang, C. Y., Chang, L., Liu, C. C., Huang, Y. C., Chang, L. Y., Huang, Y. C., ... & Alliance, T. P. I. D. (2015). Risk factors of progressive community-acquired pneumonia in hospitalized children: A prospective study. Journal of Microbiology, Immunology and Infection, 48(1), 36-42. doi: 10.1016/j.jmii.2013.06.009.

McAllister, D. A., Liu, L., Shi, T., Chu, Y., Reed, C., Burrows, J., ... & Nair, H. (2019). Global, regional, and national estimates of pneumonia morbidity and mortality in children younger than 5 years between 2000 and 2015: A systematic analysis. The Lancet Global Health, 7(1), 47-57.

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2004). Nursing research; principle and method. Philadelphia: Lippincott.