ผลของการใช้แนวปฏิบัติการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการปฏิบัติการพยาบาล และอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการปฏิบัติการพยาบาลและอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยที่ให้ยาที่มีความเสี่ยงสูง จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาลในการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูง แบบทดสอบความรู้ในการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ แบบบันทึกการปฏิบัติการพยาบาลในการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ และแบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การคำนวณอุบัติการณ์ และการทดสอบที
ลการวิจัย พบว่า ภายหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูง พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ในการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ สูงกว่าก่อนการทดลอง (t = -1.86, p = .04) และมีคะแนนการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -2.06, p = .02) และอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ลดลงจาก 11.12 ครั้งต่อ 1,000 วันให้ยา เป็น 2.88 ครั้งต่อ 1,000 วันให้ยา
จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พยาบาลควรปฏิบัติการพยาบาลโดยยึดแนวทางมาตรฐานในการป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดดำส่วนปลาย โดยได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยจากการเกิดการอักเสบของหลอดเลือดดำส่วนปลาย
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กาญจนา อุดมอัษฎาพร, และมยุรี พรมรินทร์. (2561). ประสิทธิผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการป้องกันการ อักเสบของหลอดเลือดดำและการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดดำจากการใช้ยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือดหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 14(1), 35-45.
จุฑารัตน์ ไกรศรีวรรธนะ. (2554). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี, 19(1), 145-156.
ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2559). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการกับภาวะ extravasation. วารสารสภาการพยาบาล, 31(2), 81-95.
ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2560). การป้องกันและการจัดการกับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของหรือสารน้ำ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(2), 169-181.
ปาจรีย์ ศักดิ์วาลี้สกุล, และอุษณีย์ ศิริวงศ์พรหม. (2562). ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบจากการได้รับยานอร์อีพิเนฟริน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(2), 92-108.
พนิดา กาวินา, ทองปาน เงือกงาม, และศรีสุดา อัศวพลังกูล. (2560). ผลการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการ ติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารกองการพยาบาล, 44(3), 34-57.
วิมลวัลย์ วโรฬาร. (2560). หลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยเด็ก: การป้องกันและการดูแล. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 28(1), 16-28.
ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า, และ ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง. (2558). ผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการ พยาบาลต่อการปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลสาร, 42(พิเศษ), 95-104.
สุปาณี เสนาดิสัย, และวรรณภา ประไพพาณิช. (2554). การพยาบาลพื้นฐาน แนวคิดและการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: จุดทอง.
Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.
Corbett, M., Marshall, D., Harden, M., Oddie, S., Phillips, R., & McGuire, W. (2018). Treatment of extravasation injuries in infants and young children: A scoping review and survey. Health Technology Assessment, 22(46), 1-112. doi 10.3310/hta22460.
Corbett, M., Marshall, D., Harden, M., Oddie, S., Phillips, R., & McGuire, W. (2019). Treating extravasation injuries in infants and young children: A scoping review and survey of UK NHS practice. BMC Pediatrics, 19(1), 6. doi: 10.1186/s12887-018-1387-1.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New York: Pearson.
Lee, J. M., Lee, J., Jang, Y. S., & Kim, Y. H. (2018). Factors related to extravasation of non-chemotherapy vesicant drugs in peripheral vein catheters. Journal of Korean Critical Care Nursing, 11(2), 11-20.
Macklin, D. (2003). Phlebitis: A painful complication of peripheral IV catheterization that may be prevented. The American Journal of Nursing, 103(2), 55-60.
Murphy, A. D., Gilmour, R. F., & Coombs, C. J. (2019). Extravasation injury in a paediatric population. ANZ Journal of Surgery, 89(4), 122-126. doi: 10.1111/ans.14104.