ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความรู้ทัศนคติ และทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดในคลินิกนมแม่ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดในคลินิกนมแม่ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติของแผนกหลังคลอด 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ทัศนคติ และทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
1. มารดาหลังคลอดกลุ่มทดลอง ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( t = 14.61, 8.25 และ 6.99 ตามลำดับ)
2. มารดาหลังคลอดกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติของแผนกหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 9.43, 2.79 และ 3.84 ตามลำดับ)
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ควรนำใช้โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไปประยุกต์ใช้เป็นมาตรฐานการพยาบาลในหน่วยงาน ตลอดจนการจัดสรรสิ่งสนับสนุนสำหรับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
นวลจันทร์ ไพบูลย์บรรพต, และ สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. (2558). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ,38(1), 41-52.
นิพรรณพร วรมงคล. (2553). คู่มือการอบรมผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
เปมิกา บุตรจันทร์, สมเสาวนุช จมูศรี, และ กชพร สิงหะหล้า. (2559). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสมาชิกครอบครัวในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(4), 97-105.
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. (2562). รายงานประจำปีโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา.
วิลาวัลย์ บุญเดช, ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์, และ ชมนาด วรรณพรศิริ. (2557). ผลของโปรแกรมสมรรถนะแห่งตนต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่น จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 8(3), 65-79.
ศิริวรรณ ทุมเชื้อ, และ อัญญา ปลดเปลื้อง. (2558). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนของครอบครัว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 32(1), 6-17.
ศุภวดี แถวเพีย, วิไลลักษณ์ เผือกพันธุ์, และ อักษราณัฐ ภักดีสมัย. (2560). พฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ในหญิงไทยหลังคลอด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(2), 123-139.
ศุภวิทย์ มุตตามระ, กุสุมา ชูศิลป์, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, วราภรณ์ แสงทวีสิน, และ ยุพยง แห่งเชาวนิช (บ.ก.). (2555). ตำราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. สำนักพิมพ์ไอยรา.
สาโรช สมชอบ. (2537). เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารและจัดการวัดและประเมินผลการศึกษาหน่วยที่ 1-7. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Altuntas, N., Turkyilmaz, C., Yildiz, H., Kulali, F., Hirfanoglu, I., Onal, E., Ergenekon, E., Koç, E. & Atalay, Y. (2014). Validity and reliability of the infant breastfeeding assessment tool, the mother baby assessment tool, and the LATCH scoring system. Breastfeeding Medicine, 9(4), 191-195.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Prentice-Hall.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191.
Khresheh, R., Suhaimat, A., Jalamdeh, F., & Barclay, L. (2011). The effect of a postnatal education and support program on breastfeeding among primiparous women: A randomized controlled trial. International Journal of Nursing Studies, 48(9), 1058-1065.
Lemeshow, S., Hosmer, D. W., Klar, J., Lwanga, S. K., & World Health Organization. (1990). Adequacy of sample size in health studies. Wiley.
Schwartz, N. E. (1975). Nutrition, knowledge, attitude, and practice of high school graduates. W. B. Saunders.
UNICEF. (2020). Breastfeeding practices worldwide. https://data.unicef.org/resources/world-breastfeeding-week-2020/
World Health Organization. (n.d.). Breastfeeding.https://www.who.int/health-topics/ breastfeeding#tab=tab_1