การพัฒนาระบบบริการพยาบาลหน่วยสังเกตอาการ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

วรรณิภา เจริญศรี
บุญทิพย์ สิริธรังศรี
จุไรรัตน์ ดวงจันทร์
วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบบริการพยาบาลหน่วยสังเกตอาการ และ ประเมินความเหมาะสมของระบบบริการพยาบาลหน่วยสังเกตอาการ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางการให้บริการพยาบาลหน่วยสังเกตอาการ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการ จำนวน 15 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์รายบุคคลตามแนวคำถามปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างระบบบริการพยาบาลหน่วยสังเกตอาการ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี และ 3) การประเมินความเหมาะสมของร่างระบบบริการพยาบาลหน่วยสังเกตอาการโดยใช้แบบประเมินตามแนวคิด AGREE II ฉบับภาษาไทย 2556 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ให้บริการ และผู้รับริการ รวมทั้งสิ้น 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคิดคะแนนเป็นร้อยละเทียบกับเกณฑ์


ผลการวิจัยพบว่า ระบบบริการพยาบาลหน่วยสังเกตอาการที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 3 ด้าน ดังนี้ 1) โครงสร้าง ได้แก่ การจัดแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมและปลอดภัย อัตรากำลังพยาบาลที่เพียงพอและมีสมรรถนะเหมาะสม วัสดุอุปกรณ์เพื่อบำบัดรักษามีเพียงพอ 2) กระบวนการ ได้แก่ มีการใช้เกณฑ์มาตรฐานในการรับ/ ย้ายผู้ป่วยที่อาการทรุดลง ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลและมีการบันทึกทางการพยาบาล มีการสื่อสารระหว่างทีมการพยาบาล ทีมสหสาขาวิชาชีพ และผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการบริหารความเสี่ยงในหน่วยงานแบบมีส่วนร่วม 3) ผลลัพธ์ ได้แก่ ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร คุณภาพการบริการพยาบาล และความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ระบบบริการพยาบาลหน่วยสังเกตอาการที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมโดยรวม ร้อยละ 88.49


ผลการวิจัยนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพระบบบริการพยาบาลหน่วยสังเกตอาการต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางการจัดเก็บตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ประจำปีงบประมาณ 2563. นนทบุรี: สื่อตะวัน.

กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการออกแบบอาคารสถานบริการสุขภาพและสภาพแวดล้อม แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. นนทบุรี: กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

ชาติชาย คล้ายสุบรรณ (บ.ก.). (2561). คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามชัย 2017.

ธัญรดี จิรสินธิปก, เพียงใจ เจิมวิวัฒน์กุล, สุวิภา นิตยางกูร, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, และสารา วงษ์เจริญ (บ.ก.). (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

นพรุจ ลือกิตติกุล. (2556). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งห้องสังเกตอาการผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิภูมิ (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นรีลักษณ์ สุวรรณโนบล, จินตนา ตาปิน, และศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์. (2561). ศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ของโรงพยาบาลในภาคะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 24(2), 76-95.

พงษ์ลัดดา ปาระลี, และชัจคเณค์ แพรขาว. (2563). ปัจจัยทำนายการเกิดความแออัดที่ห้องฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(2), 52-65.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2551). หลักการและการใช้วิจัยเชิงคุณภาพสำหรับทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

แพรว โคตรุฉิน, ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน, ปริวัฒน์ ภู่เงิน, และลัดดาวัลย์ ภักดีราช. (2560). การกลับมารักษาซ้ำโดยมิได้นัดหมายของผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 29-36.

ภัทร์ธิตา โภคาพันธ์, สงครามชัย ลีทองดี, และชาญชัย ติกขะปัญโญ. (2555). การพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการความเสี่ยงด้านคลินิกตามมาตรฐานงานบริการ ผู้ป่วยในของพยาบาล โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลทหารบก, 13(2), 38-48.

ภัทรรัช เทศถนอม. (2561). ความปลอดภัยของผู้ป่วยกับวิกฤติความแออัดในหน่วยอุบัติเหตุ–ฉุกเฉิน. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(2), 237-249.

ลดาวัลย์ จันทร์แจ้ง, และบุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2557). คุณภาพการบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยและผู้ให้บริการ หอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลตราด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า, 31(4), 281-295.

ศากุล ช่างไม้. (2549). การประเมินแนวทางปฏิบัติเพื่อใช้ในการวิจัยและการประเมินผล. วารสารมหาวิทยาลัย คริสเตียน, 12(1), 15-24.

ศิริลักษณ์ ฤทธิ์ไธสง. (2560). การบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล ในบริบทของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารกฎหมายสขภาพและสาธารณสุข, 3(1), 77-87.

ศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. (2561). รายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง. เพชรบุรี: โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561ก). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. นนทบุรี: หนังสือดีวัน.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561ข). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ.2561. นนทบุรี: เฟมัสแอนด์ซัคเซสฟูล.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561ค). เป้าหมายความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุขของประเทศไทย พ.ศ.2561. นนทบุรี: เฟมัสแอนด์ซัคเซสฟูล.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). เครื่องมือการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติ สำหรับการวิจัยและการประเมินผล. นนทบุรี: สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์, และจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. (2557). การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

American College of Emergency Physicians. (2015). Emergency department observation services. Retrieved from https://www.acep.org/search/?searchtext=emergenc%20-department-observation-services.

Ayanian, J. Z., & Markel, H. (2016). Donabedian's lasting framework for health care quality. The New England Journal of Medicine, 375(3), 205-207.

Burgess, A., van Diggele, C., Roberts, C., & Mellis, C. (2020). Teaching clinical handover with ISBAR. BMC Medical Education, 20(2), 1-8.

Ghaffari, F., Jahani Shourab, N., Jafarnejad, F., & Esmaily, H. (2014). Application of Donabedian quality-of-care framework to assess the outcomes of preconception care in urban health centers, Mashhad, Iran in 2012. Journal of Midwifery and Reproductive Health, 2(1), 50-59.

Marsden, E., Taylor, A., Wallis, M., Craswell, A., Broadbent, M., Barnett, A.,... & Glenwright, A. (2017). A structure, process and outcome evaluation of the geriatric emergency department intervention model of care: A study protocol. BMC Geriatrics, 17(1), 76. doi:10.1186/s12877-017-0462-z.

Polit, D. F., Beck, C. T., & Owen, S. V. (2007). Is the CVI an acceptable indicator of content validity? Appraisal and recommendations. Research in Nursing & Health, 30(4), 459-467.

Ross, M. A., Hockenberry, J. M., Mutter, R., Barrett, M., Wheatley, M., & Pitts, S. R. (2013). Protocol-driven emergency department observation units offer savings, shorter stays, and reduced admissions. Health Affairs, 32(12), 2149-2156.

Waltz, C., Strickland, O. L., & Lenz, E. (2017). Measurement in nursing and health research (5th ed.). New York: Springer.