สถานการณ์การพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขของสถาบันพระบรมราชชนก สำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว: วิจัยเชิงคุณภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขของสถาบันพระบรมราชชนก สำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว จากตัวแทนของเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง 1 ภาคกลาง 2 และภาคใต้ รวมทั้งสิ้น 28 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการวิทยาลัยใน สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 14 คน และ 2) อาจารย์ที่รับผิดชอบงานด้านบริการวิชาการหรืองานพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 14 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จนข้อมูลมีความอิ่มตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ 1) กระบวนการจัดหลักสูตรเป็นขั้นตอนเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประเทศ 2) องค์ประกอบของระบบมีส่วนสำคัญในการผลักดันหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขเพื่อสนับสนุนทีมหมอครอบครัว 3) ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ให้ความร่วมมือในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ยิ่งไปกว่านั้น ผลการศึกษายังแสดงถึงความพร้อมของวิทยาลัยฯ ในด้านการดำเนินงานเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขของสถาบันพระบรมราชชนก สำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว ทั้งด้านการรับรู้และการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ความเพียงพอของงบประมาณ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาของพื้นที่ รวมทั้งการวิจัยร่วมกันเพื่อศึกษาหารูปแบบในการให้บริการวิชาการระหว่างวิทยาลัยกับพื้นที่ ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การดำเนินงานเพื่อตอบสนองนโยบายการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัวต่อไป
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, กัญจนา ติษยาธิคม, อุทุมพร วงษ์ศิลป์, วาริสา ทรัพย์ประดิษฐ, และนำพร สามิภักดิ์. (2561). โครงการศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster) (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหวางประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://ihppthaigov.net/DB/publication/ attachresearch/416/chapter1.pdf.
ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, จีรนันท์ แกล้วกล้า, ทัศนีย์ รวิวรกุล, จงกล โพธิ์แดง,… มงคล อักโข. (2562). การสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อพัฒนารูปแบบการบริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, และพรทิพย์ ศิริภาณุมาศ. (2560). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ (พ.ศ.2560 - 2579). นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
บุญชัย ธีระกาญจน์ (บ.ก.). (2559). แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เบญจมาศ บุญรับพายัพ, พรรณี ปานเทวัญ, อายุพร ประสิทธิเวชชากูร, กุนนที พุ่มสงวน, อารีย์ เสนีย์, และองค์อร ประจันเขตต์. (2557). การประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 107-113.
พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562. (2562). (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 165-185.
พระราชบัญญัติ สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562. (2562, 5 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 43 ก. หน้า 40-65.
ภราดร ยิ่งยวด, นครินทร์ สุวรรณแสง, กนกพร แจ่มสมบูรณ์, และพิศิษฐ์ พลธนะ. (2563). แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่: แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของวิชาชีพการพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 13(3), 14-25.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, พฤกษา บุกบุญ, และปิยฉัตร ตระกูลวงษ์. (2558). รายงานผลการสำรวจสถานการณ์การดำเนินงาน และความคิดเห็นต่อนโยบายการพัฒนาทีมหมอประจำครอบครัว (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Graneheim, U. H., & Lundman, B. (2004). Qualitative content analysis in nursing research: Concepts, procedures and measures to achieve trustworthiness. Nurse Education Today, 24(2), 105-112.
Guba, E. G., & Lincoln, Y. S. (1989). Fourth generation evaluation. Newbury Park, CA: Sage.
Sandelowski, M. (2000). Whatever happened to qualitative description?. Research in Nursing & Health, 23(4), 334-340.
Stufflebeam, D. L. (1971). The relevance of the CIPP evaluation model for educational accountability. Journal of research and Development in Education, 5(1), 19-25.