ความรอบรู้สุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และภาวะโภชนาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตเทศบาลตำบลโนนสูง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์
รัตติกร เหมือนนาดอน
ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์
วาสนา ขอนยาง
อรนิด นิคม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้สุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนแห่งหนึ่งในเทศบาลตำบลโนนสูง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามความรอบรู้สุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .73 และ.78 ตามลำดับ และแบบประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีคะแนนความรอบรู้สุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ไม่ดีพอและดีมาก ร้อยละ 56.76, 41.89,และ 1.35 ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มี 4 ด้านอยู่ในระดับไม่ถูกต้องหรือไม่ดีพอ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพตนเอง และการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพของตนเอง ร้อยละ 47.30, 62.16, 66.22 และ 58.11 ตามลำดับ มีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับไม่ดีพอ พอใช้ได้และดีมาก ร้อยละ 74.32, 25.00 และ 0.68 ตามลำดับ และมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน ค่อนข้างผอม เริ่มอ้วน ท้วน อ้วนและผอม ร้อยละ 66.89, 10.14, 7.43, 6.08, 4.73 และ 4.73 ตามลำดับ


จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และภาวะโภชนาการในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2560.สืบค้นจากhttp://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/stratistics60.pdf.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข.

กัมปนาท คำสุข, บานเย็น ล้านภูเขียว, และจริยา เสาเวียง. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองรังกา จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562: สังคมสูงวัย โอกาสก้าวหน้าการศึกษาระดับอุดมศึกษา (น 908-914).นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา

ชินตา เตชะวิจิตรจารุ. (2561). ความรอบรู้ทางสุขภาพ กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก,19(19), 1-11.

นุชจรินทร์ สุทธิวโรตมะกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพ อิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อน กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน (วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พัฒนา (บ.ก.). (2555). การพยาบาลเด็ก เล่ม 1 (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ, จุภาพร ภิรมย์ไกรภักดิ์, และวิจิตรา นวนันทวงศ์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของเด็กวัยรุ่นตอนต้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(พิเศษ), 80-90.

สาริษฐา สมทรัพย์. (2561). ความรอบรู้ทางสุขภาพในการจัดการภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 12(29), 20-33.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 . (2562). เขตสุขภาพที่ 8 Annual Report: รายงานประจำปี 2562. สืบค้น จาก https://r8way.moph.go.th/report-2562/.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

โสรยา ชัชวาลานนท์, ศิริรัตน์ อุฬารตินนท์, สุธาทิพย์ เอมเปรมศิลป์, และวินัดดา ปิยะศิลป์ (บ.ก.). (2560). คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้าน การดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน เด็กวัยเรียน 6-12 ปี. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.

อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล. (2563). บทบาทนักสาธารณสุขในการส่งเสริมโภชนาการของเด็กวัยเรียน ในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร.วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 2(2) , 1-13.

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, ฤทัยวรรณ แก้วมาลัย, เนตรนภา เครือสง่า, นิศาชล ตันติภิรมย์, ปริญญาพร ชาวบ้านเกาะ, และเบญจรัตน์ เอี่ยมสะอาด. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง ฉลากโภชนาการในเด็กวัยเรียน: กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(2), 70-82.

Berkman, N. D., Sheridan, S. L., Donahue, K. E., Halpern, D. J., & Crotty, K. (2011). Low health literacy and health outcomes: an updated systematic review. Annals of Internal Medicine, 155(2), 97-107. doi: 10.7326/0003-4819-155-2-201107190-00005. PMID: 21768583.