การศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อน ระดับความปวด จำนวนวันนอน และค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดช่องท้อง โรงพยาบาลสิงห์บุรี

Main Article Content

สัญญา โพธิ์งาม
มนพร ชาติชำนิ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อน ระดับความปวด จำนวนวันนอน และค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดช่องท้อง โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่เข้ารับการผ่าตัดเปิดช่องท้อง โรงพยาบาลสิงห์บุรี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2561 – 30 กันยายน พ.ศ.2562 จำนวน 220 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกภาวะแทรกซ้อนและผลลัพธ์เชิงปริมาณของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดช่องท้องในระบบทางเดินหายใจในวันที่ 5 หลังผ่าตัด จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 1.82) ระบบไหลเวียนโลหิตพบได้ในวันที่ 3 หลังผ่าตัด จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 0.50) ระบบทางเดินอาหารพบในวันแรกหลังผ่าตัด จำนวน 8 ราย (ร้อยละ 3.70) และระบบผิวหนังและกล้ามเนื้อในวันที่ 5 หลังผ่าตัด จำนวน 14 ราย (ร้อยละ 6.40) และผลลัพธ์เชิงปริมาณของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยความปวด ในวันแรกหลังผ่าตัดในระดับปานกลาง เท่ากับ 5.88 คะแนน และในวันที่ 2 เท่ากับ 4.89 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับน้อย มีจำนวนวันนอนเฉลี่ยเท่ากับ 13.92 วัน และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยเท่ากับ 71,839.29 บาท


ผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าระบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง จำเป็นต้องพัฒนาบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อน และผลลัพธ์เชิงปริมาณของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง เพื่อลดจำนวนวันนอน และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2560). International statistical classification of diseases and related health problem (10th revision Thai modification). กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลสิงห์บุรี. (2562). สถิติผู้ป่วยผ่าตัดห้องผ่าตัดปี 2560- 2562. สิงห์บุรี: โรงพยาบาลสิงห์บุรี.

โจธิกา เบ็ญชา, ชนิดา ไวยสุตรา, เบญจพร มั่นอยู่, และอมรวรรณ กวีภัทรนนท์. (2560). รายงานผลการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพเรื่อง แนวปฏิบัติการส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดช่องท้อง (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.

นภาพร วงศ์วิวัฒนนุกิจ. (2561). บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการฟื้นตัวการทำงานของลำไส้หลังการผ่าตัดช่องท้อง. พยาบาลสาร, 46(4), 193-201.

นฤเบศร์ เอมแสง, อภิวัฒน์ จันทร์ฉาย, คิส ชีวาไชยชวาล, และพัชรี พงษ์พานิช.(2560). อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเปิดหน้าท้องของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่งานหอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร (รายงานผลการวิจัย). ชัยนาท: โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ประภาพร จินันทุยา, และอัญชลี ชูติธร. (2559). ปัจจัยทำนายจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุมะเร็งทางเดินอาหารที่รักษาด้วยการผ่าตัด. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(1), 30-42.

มนพร ชาติชำนิ. (2563). บทบาทพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(1), 1-13.

ลลิดา อาชานานุภาพ, และรุ้งจิต เติมศิริกุลชัย. (2552). การประเมินความปวดและพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 15(3), 315-326.

วัชราภรณ์ หอมดอก, นันทา เล็กสวัสดิ์, และวันชัย มุ้งตุ้ย. (2556). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการกับความเจ็บปวดในป่วยหลังผ่าตัด ใหญ่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสภาการพยาบาล, 20(3), 74-92.

Alasousi, M., Shuaib, A., & Aljasmi, M. (2020). Bowel injury post liposuction: Case report. Journal of Surgical Research, 2(1), 1-3.

Antle, D. E., & Lewis, A. R. (2001). Surgical client. In P. A. Potter, & A. G. Perry (Eds.), Fundamentals of Nursing (5th ed.) (pp. 1660-1715). St. Louis: Mosby

Carney, A. (2017). Comparison of pain management modalities in the development of postoperative respiratory failure (Doctor of Nursing Practice). Lexington, KY: University of Kentucky. Retrieved form https://uknowledge.uky.edu/dnp_etds/131.

Fiore Jr, J. F., Figueiredo, S., Balvardi, S., Lee, L., Nauche, B., Landry, T., ... & Feldman, L. S. (2018). How do we value postoperative recovery?; A systematic review of the measurement properties of patient-reported outcomes after abdominal surgery. Annals of Surgery, 267(4), 656-669.

Ju, W., Ren, L., Chen, J., & Du, Y. (2019). Efficacy of relaxation therapy as an effective nursing intervention for post operative pain relief in patients undergoing abdominal surgery: A systematic review and meta analysis. Experimental and Therapeutic Medicine, 18(4), 2909-2916.

Kozier, B., Erb, G., Berman, A. J., & Burke, K. (2010). Fundamentals of nursing: Concepts, process, and practice (6th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Mangram, A. J., Horan, T. C., Pearson, M. L., Silver, L. C., Jarvis, W. R., & Hospital Infection Control Practices Advisory Committee. (1999). Guideline for prevention of surgical site infection, 1999. Infection Control & Hospital Epidemiology, 20(4), 247-280.

Melzack, R., & Katz, J. (1999). Pain measurement in persons in pain. In P. D. Wall, & R. Melzack (Eds.), Textbook of pain (pp. 409-426). London: Harcourt Publisher.

Nilsson, U., Rawal, N., Uneståhl, L. E., Zetterberg, C., & Unosson, M. (2001). Improved recovery after music and therapeutic suggestions during general anaesthesia: A double‐blind randomised controlled trial. Acta Anaesthesiologica Scandinavica, 45(7), 812-817.

Potter, P. A., Perry, A. G. E., Hall, A. E., & Stockert, P. A. (2009). Fundamentals of nursing. New York: Elsevier.

Supe, S. P., & Gavit, S. M. (2019). Role of laparoscopy in early diagnosis and further management: In a case of acute abdominal pain. IOSR Journal of Dental and Medical Sciences, 18(1), 25-32. doi: 10.9790/0853-1812012532.

Tappenden, K. A., Quatrara, B., Parkhurst, M. L., Malone, A. M., Fanjiang, G., & Ziegler, T. R. (2013). Critical role of nutrition in improving quality of care: An interdisciplinary call to action to address adult hospital malnutrition. Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics, 113(9), 1219-1237.