ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

พิชญาภา สาแดง
นงณภัทร รุ่งเนย
รัตนา สิงห์ครูบอน
พรสุดา ปลอดโปร่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน จำนวน 120 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95, และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแคว์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


1. นักศึกษาพยาบาลมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์อยู่ในระดับมาก (M = 4.09, SD = .75) และมีทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์อยู่ในระดับมาก (M = 3.92, SD = .68)


2. ชั้นปีและจำนวนครั้งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้นมีความสัมพันธ์กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (x2= 78.37, 221.00, p < .01 ตามลำดับ) และทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (r = .90, p <. 01)


ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า สถาบันการศึกษาควรส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ รวมทั้ง จัดสรรทรัพยากรการเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติยารัตน์ ต้นสุวรรณ์, นันทวัน สุวรรณรูป, และนันทิยา วัฒายุ. (2562). การรับรู้อุปสรรคการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ทัศนคติและประสบการณ์การวิจัยต่อการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(2), 25-40.

ชมพู วิพุธานุพงษ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, และพาณี สีตกะลิน. (2559). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลเดช. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(31), 37-44.

นงณภัทร รุ่งเนย, และศิริพร ครุฑกาศ. (2559). การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้สูงอายุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารกองการพยาบาล, 43(3), 169-179.

นุสรา นามเดช, จิราภา บุญศิลป์, นงคาร รางแดง, และดวงดาว อุบลแย้ม. (2560). ผลของการสอนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตต่อทักษะทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(2), 111-120.

นุสรา ประเสริฐศรี, มณีรัตน์ จิรัปปภา, และอภิรดี เจริญนุกูล. (2559). ผลของโปรแกรมการสอนตามแนวคิดการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ต่อสมรรถนะการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 17(3), 145-155.

ปานทิพย์ ปูรณานนท์, และทัศนีย์ เกริกกุลธร. (2550). ผลการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่เน้นการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี (รายงานผลการวิจัย). สระบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี.

ปานทิพย์ ปูรณานนท์, และทัศนีย์ เกริกกุลธร. (2554). ปัจจัยทำนายสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(1), 45-53.

ฟองคำ ติลกสกุลชัย. (2553). การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ หลักการและวิธีปฏิบัติ(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: พรี-วัน.

ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา, รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์, และประนอม โอทกานนท์. (2559). ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 94-103.

ศศิวิมล ศิริรักษ์, ทัศนี ประสบกิตติคุณ, และอาภาวรรณ หนูคง. (2559). ปัจจัยทำนายการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลเด็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34 (2), 5-15.

Black, A. T., Balneaves, L. G., Garossino, C., Puyat, J. H., & Qian, H. (2015). Promoting evidence-based practice through a research training program for point-of-care clinicians. The Journal of Nursing Administration, 45(1), 14-20.

Closs, S. J., & Cheater, F. M. (1999). Evidence for nursing practice: A clarification of the issues. Journal of Advanced Nursing, 30(1), 10-17.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly,13(3), 319-339.

Estabrooks, C. A., Floyd, J. A., Scott-Findlay, S., O’Leary, K. A., & Gushta, M. (2003). Individual determinants of research utilization: A systematic review. Journal of Advance Nursing, 43(5), 506–520.

French, P. (1999). The development of evidence‐based nursing. Journal of Advanced Nursing, 29(1), 72-78.

Ingersoll, G. L. (2000). Evidence-based nursing: what it is and what it isn't. Nursing Outlook, 48(4), 151-152.

Naeem, S. B., Bhatti, R., & Ishfaq, K. (2017). Nurses' attitude and belief toward evidence‐based nursing practices in tertiary care hospitals of Multan, Pakistan. ISRA Medical Journal, 9, 101-105.

Weng, Y. H., Kuo, K. N., Yang, C. Y., Lo, H. L., Chen, C., & Chiu, Y. W. (2013). Implementation of evidence-based practice across medical, nursing, pharmacological and allied healthcare professionals: A questionnaire survey in nationwide hospital settings. Implementation Science, 8(1), 112. Retrieved from https://doi.org/10.1186/1748-5908-8-112.