รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการพันธกิจ เพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการพันธกิจเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สภาพการณ์ ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการพันธกิจ ระยะที่ 3 นำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปใช้ และระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล อาจารย์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ และผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล 2) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา และ 3) แบบประเมินความคิดเห็นของอาจารย์ต่อรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
1. กระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการพันธกิจ ชื่อว่า “2P2E Model”ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นวางแผนบูรณาการพันธกิจ (P: Planning stage) 2) ขั้นเตรียมความพร้อม (P: Preparing stage) 3) ขั้นเรียนรู้จากประสบการณ์ (E: Experiential learning stage) และ 4) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ (E: Evaluating stage)
2. ภายหลังการเรียนการสอนแบบบูรณาการพันธกิจ “2P2E Model” พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนผลลัพธ์การเรียนรู้โดยภาพรวมมากกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนในระดับมากขึ้นไป อาจารย์มีความเห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลได้ รวมทั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิให้การรับรองรูปแบบฯ
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กันตาภา สุทธิอาจ, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, และไสว ฟักขาว. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 1-15.
กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, และสกาวรัตน์ ไกรจันทร์. (2558). รูปแบบการบูรณาการวิจัยกับการเรียนการสอนที่เน้นชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุของวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม: กรณีศึกษา ชุมชนสามัคคี ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 124-132.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. (2561, 3 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 1 ง. หน้า 7-11.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย ยืนยงคีรีมาศ. (2557). คู่มือการบูรณาการพันธกิจ ปีการศึกษา 2557. เชียงใหม่: วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เข้าถึงได้จาก http://www.camt.cmu.ac.th/eqa/NewsFile/ QANews-412016143955.pdf
วิจารณ์ พานิช. (2555). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิบูลย์ลักษณ์ ปรียาวงศากุล, ทุติยรัตน์ รื่นเริง, และขวัญตา เพชรมณีโชติ. (2557). การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน แบบบูรณาการวิจัยเพื่อส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. ชลบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ. (2561). รายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร (มคอ.7) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) ประจำปีการศึกษา 2561.กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ.
ศุภิสรา สุวรรณชาติ, อนัญญา คูอาริยกุล, และอุราภรณ์ เชยกาญจน์. (2562). การบูรณาการพันธกิจบทบาทที่ท้าทายของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 25(1), 158-175.
สไบทิพย์ เชื้อเอี่ยม, สุพัตรา ไตรอุดมศร, และปรียสลิล ไชยวุฒิ. (2562). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีสะท้อนคิดต่อทักษะการปฏิบัติการพยาบาล และระดับความพึงพอใจของนักศึกษาในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 27(2), 150-157.
สมจินดา ชมพูนุท, และวรรณเพ็ญ อินทร์แก้ว. (2560).การบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลเลือกสรร สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(1), 24-35.
อังค์ริสา พินิจจันทร์, ปารวีร์ กุลรัตนาวิโรจน์, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, สุทิศา สงวนสัจ, และสุรศักดิ์ อธิคมานนท์.(2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับพันธกิจบริการวิชาการแก่สังคม และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท. วารสารกองการพยาบาล, 43(3), 63-90.
Bailey, P.A., Carpenter, D. R., & Harrington, P. (2002). Theoretical foundations of service learning in nursing education. Journal of Nursing Education, 41(10), 433-436.
Blumberg, P. (2004). Beginning journey toward a culture of learning centered teaching. Journal of Student Centered Learning, 2(1), 68-80.
Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report No. 1. Washington, D.C.: The George Washington University, School of Education and Human Development.
Davies, D. (2019). Transformative learning as pedagogy for the health professions: A scoping review. Medical education, 53(6), 547-558.
Eymard, A. S., Breaux, P., & Dozar, K. (2013). Transformative learning in nursing students through a service learning project with a vulnerable community. Journal of Nursing Education and Practice, 3(3), 35-43.
Kolb, D. A., Boyatzis, R. E., & Mainemelis, C. (2001). Experiential learning theory: Previous research and new directions. Perspectives on Thinking, Learning, and Cognitive Styles, 1(8), 227-247.
Mckinnon, T. H., & Fealy, G. M. (2011). Core principle for developing global service-learning programs in nursing. Nursing Education Perspectives, 32(2), 95-101.
Murray, T. A., Schappe, A., Kreienkamp, D. E., Loyd, V., & Buck, E. A. (2010). A community-wide academic-service partnership to expand faculty and student capacity. Journal of Nursing Education, 49(5), 295-299.
Tippen, M. P. (2016). Development and implementation of an international academic service-learning course for low-income children in Cambodia. Online Journal of Cultural Competence in Nursing and Healthcare, 6(1), 94-101.
Turner, R. C., & Carlson, L. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. International journal of testing, 3(2), 163-171.
Van Schalkwyk, S. C., Hafler, J., Brewer, T. F., Maley, M. A., Margolis, C., McNamee, L., ... & Davies, D. (2019). Transformative learning as pedagogy for the health professions: A scoping review. Medical education, 53(6), 547-558.