ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์
ดวงหทัย ยอดทอง
พิศสมร เดชดวง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงเชิงสำรวจภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยทำนายภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาในชุมชน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 230 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย และแบบสอบถามปัจจัยทำนายภาวะสมองเสื่อม คือ 1) ด้านประชากรและสังคม ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว และแบบสอบถามการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และ 2) ด้านภาวะสุขภาพ ได้แก่ แบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ โดยแบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว มีค่า KR-20 เท่ากับ .78 แบบสอบถามการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .83 และ .81 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ.2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายภาวะสมองเสื่อมโดยใช้สถิติการถดถอยโลจิสติกหลายตัวแปร


          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ มีอายุเฉลี่ย 70.02 ± 4.57 ปี ความชุกของภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 24.35 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสมองเสื่อมคือ อายุ ระยะที่หยุดทำงานประจำ และคะแนนการประเมินภาวะซึมเศร้า ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบคือ สัมพันธภาพในครอบครัว โดยปัจจัยทั้งหมดมีประสิทธิภาพในการทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 44.20 เมื่อพิจารณาค่าขนาดความสัมพันธ์ของปัจจัยทำนายพบว่า ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ คะแนนการประเมินภาวะซึมเศร้า (OR = 1.45, 95%CI: 1.18 - 1.78) อายุ (OR = 1.10, 95%CI: 1.02 - 1.19) และระยะที่หยุดทำงานประจำ (OR = 1.05, 95%CI: 1.01 - 1.09) ส่วนสัมพันธภาพในครอบครัว (OR = .84, 95%CI: .72 - .99) เป็นปัจจัยที่ช่วยลดโอกาสของการเกิดภาวะสมองเสื่อม


          จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ควรวิจัยและพัฒนารูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว การพัฒนาอาชีพเสริม และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รวมทั้ง การส่งเสริมสุขภาพจิต เพื่อพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาของผู้สูงอายุในชุมชนและลดอัตราความชุกของภาวะสมองเสื่อมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กอบหทัย สิทธิรณฤทธ์. (2554). ปัญหาด้านพฤติกรรมอารมณ์และจิตใจในผู้ป่วยสมองเสื่อม (BPSD): แนวคิด และการรักษา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(4), 499-462.

จารุวรรณ ก้านศรี, ดลใจ จองพานิช, นภัทร เตี๋ยอนุกูล, ภัทรวดี ศรีนวล, และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2560). ผลของโปรแกรมบริหารสมองต่อการเพิ่มความจำในผู้สูงอายุที่มีความจำพร่องเล็กน้อย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(3), 176-187.

ชวนนท์ อิ่มอาบ. (2562). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่อง ทางปัญญาในผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(5), 782-791.

ชัชวาล วงค์สารี, และศุภลักษณ์ พื้นทอง. (2561). ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ: การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22(43-44), 166-179.

ดาวชมพู นาคะวิโร, สิรินทร ฉันศิริกาญจน, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ, อรพรรณ แอบไธสง, ภัทรา สุดสาคร, จารุณี วิทยาจักษุ์, และภัทรพร วิสาจันทร์. (2560). การกระตุ้นความสามารถสมองด้านทักษะการจัดการ ความใส่ใจ ความจำและมิติสัมพัทธ์ในผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 62(4), 337-348.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (บ.ก.). (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (บ.ก.). (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

ปิ่นนเรศ กาศอุดม, ฆนรส อภิญญาลังกร, กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ, และนิมัสตูรา แว. (2561). บทบาทครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(3), 300-310.

รัชนี นามจันทรา. (2553). การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสาร มฉก.วิชาการ, 4(27), 137-150.

รัตนา พึ่งเสมา. (2563). บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(1), 15-24.

วิชัย เอกพลากร. (บ.ก.). (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

วิรัช วรรณรัตน์. (2560). คะแนนสอบและการตัดเกรด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 1-11.

วีณา ลิ้มสกุล, บุรินทร์ เอี่ยมขำ, และปุณยนุช คงเสน่ห์. (2561). การพัฒนาศักยภาพสมองของผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องในระยะต้น. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 32(3), 1143–1154.

สฤษดิ์พงศ์ แซ่หลี, และปิยะภัทร เดชพระธรรม. (2560). การศึกษาความตรงเชิงเกณฑ์ของแบบสอบถาม PHQ-9 และ PHQ-2 ฉบับภาษาไทย ในการคัดกรองโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุชาวไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 27(1), 30-37.

สำนักงานสภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย 2553-2583. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2561). Health Data Center (HDC) กลุ่มรายงานมาตรฐานข้อมูลส่วนบุคคล หมวดประชากร. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.

สุจิตรา ปัญญา, สุคนธา ศิริ, ดุสิต สุจิรารัตน์, ศุภชัย ปิติกุลตัง, และนพพร ตันติรังสี. (2559). ความชุกและความสัมพันธ์ระหว่างการทำกิจกรรมกับภาวะบกพร่องทางปัญญาในผู้สูงอายุ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 46(1), 95-107.

อาทิตยา สุวรรณ์, และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2559). ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(2), 21-32.

Adam, S., Bonsang, E., Grotz, C., & Perelman, S. (2013). Occupational activity and cognitive reserve: Implications in terms of prevention of cognitive aging and Alzheimer's disease. Clinical Intervention in Aging, 8, 377-390.

Akter, S. F. U., Rani, M. F. A., Nordin, M. S., Rahman, J. A., Aris, M. A. M., & Rathor, M. Y. (2012). Dementia: Prevalence and risk factors. International Review of Social Sciences and Humanities, 2(2), 176-184.

Burns, N., & Grove, S. (1993). The practice of nursing research: Conduct, critique and utilization (2nd ed). Philadelphia, Pennsylvania: W.B.Saunders.

Chen, l., Wu, Y., Huang, C., Liu, L., Hwang, A., Peng, L., Lin, M., & Chen, L. (2017). Predictive factors for dementia and cognitive impairment among residents living in the veterans’ retirement communities in Taiwan: Implications for cognitive health promotion activities. Geriatrics Gerontology International, 17(Suppl.1), 7–13.

D'Antonio, J., SimonPearson, L., Goldberg, T., Sneed, J. R., Rushia, S., Kerner, N., . . . Devanand, D. (2019). Cognitive training and neuroplasticity in mild cognitive impairment (COGIT): Protocol for a two-site, blinded, randomized, controlled treatment trial. BMJ Open, 9, e028536.

de Winter, C. F., Bastiaanse, L. P., Hilgenkamp, T. I., Evenhuis, H. M., & Echteld, M. A. (2012). Cardiovascular risk factors (diabetes, hypertension, hypercholesterolemia and metabolic syndrome) in older people with intellectual disability: Results of the HA-ID study. Research in developmental disabilities, 33(6), 1722–1731.

Dekhtyar, S., Wang, H., Scott, K., Goodman, A., Koupil, I., & Herlitz, A. (2015). A life-course study of cognitive reserve in dementia-from children to old age. The American Journal of Geriatric Psychiatry, 23(9), 885-896.

Doungkaew, P., & Taneepanichskul, S. (2014). Prevalence of dementia among elderly in Taiban sub-district of Samutprakarn province, Thailand. Journal of Health Research, 28(3), 151-157.

Edwards, H. B., Ijaz, S., Whiting, P. F., Leach, V., Richards, A., Cullum, S. J.,… Savović, J. (2018). Quality of family relationships and outcomes of dementia: A systematic review. BMJ Open, 8, e015538. doi:10.1136/ bmjopen-2016-015538

Griffiths, J., Thaikruea, L., Wongpakaran, N., & Munkhetvit, P. (2020). Prevalence of mild cognitive impairment in rural Thai older people, associated risk factors and their cognitive characteristics. Dementia and Geriatric Cognitive Disorders Extra, 10(1), 38-45.

Grotz, C., Letenneur, L., Bonsang, E., Amieva, H., Meillon, C., Quertemont, E.,…ICTUS/DSA group. (2015). Retirement age and the age of onset of Alzheimer’s disease: Results from the ICTUS study. PLoS One, 10(2), e0115056.

Jitapunkul. S., Kunanusont, C., & Phoolcharoen, W. (2001). Prevalence estimation of dementia among Thai elderly: A national survey. The Journal of Medical Association of Thailand, 84(4), 461-467.

Lenoir, H., Dufouil, C., Auriacombe, S., Lacombe, J. M., Dartigues, J. F., Ritchie, K., & Tzourio, C. (2011). Depression history, depressive symptoms, and incident dementia: The 3C study. Journal of Alzheimer's Disease, 26(1), 27–38.

Lin, T., Tsai, S., & Kuo, Y. (2018). Physical exercise enhances neuroplasticity and delays Alzheimer’s disease. Brain Plasticity, 4(1), 95–110.

Linnemann, C., & Lang, U. E. (2020). Pathways connecting late-life depression and dementia. Frontiers in Pharmacology, 11, e279.

Peduzzi, P., Concato, J., Kemper, E., Holford, T. R., & Feinstein, A. R. (1996). A simulation study of the number of events per variable in logistic regression analysis. Journal of Clinical Epidemiology, 49(12), 1373-1379.

Prince, M., Bryce, R., Albanese, E., Wimo, A., Ribeiro, W., & Ferri, C. P. (2013). The global prevalence of dementia: A systematic review and metaanalysis. Alzheimer's & Dementia, 9(1), 63-75.

Sperandei, S. (2014). Understanding logistic regression analysis. Biochemia Medica, 24(1), 12-18.

Snowden, M. B., Atkins, D. C., Steinman, L. E., Bell, J. F., Bryant, L. L., Copeland, C., & Fitzpatrick, A., L. (2015). Longitudinal association of dementia and depression. The American Journal of Geriatric Psychiatry, 23(9), 897-905.

Wahl, D., Solon-Biet, S. M., Cogger, V. C., Fontana, L., Simpson, S. J., Le Contour, D. G., & Ribeiro, R. V. (2019). Aging, lifestyle and dementia. Neurobiology of Disease, 130, e104481.

World Health Organization. (2019). Risk reduction of cognitive decline and dementia: WHO guidelines. Geneva: World Health Organization.