ความสัมพันธ์ระหว่างการเกื้อหนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน

Main Article Content

รวีวรรณ แก้วอยู่
พัชรรินทร์ เนียมเกิด
สุปราณี พรหมสุขันธ์

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกื้อหนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 65 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย แบบสอบถามการเกื้อหนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ มีค่าความเชื่อมันสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .95, .91 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


        ผลวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนมีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม อยู่ในระดับดี (M = 98.81, SD = 11.39) และมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับการเกื้อหนุนทางสังคม (r = .28, p < .05) และมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ (r = .60, p < .01)


       ผลการศึกษานี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมในการเพิ่มการเกื้อหนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ เพื่อนำมาสู่การคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับผู้สูงอายุต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). จำนวนและอัตราป่วยโดยโรค NCD. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents

กัตติกา ธนะขว้าง,จินตนา รัตนวิฑูรย์, และจามจุรีย์ ทนุรัตน์. (2554). การพัฒนาเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนและศักยภาพในการดูแลตนเองเพื่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 5(3), 381-391.

จันทนา สารแสง, และสิวลี รัตนปัญญา. (2562). คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(5), 964- 974. doi: 10.14456/tstj.2019.76.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ, และพรนภา คำพราว. (2557). รูปแบบการดูแลสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 123-127.

ชุติเดช เจียนดอน. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

ดวงใจ คําคง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตําบลลําสินธุ์ อําเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

ปริมประภา ก้อนแก้ว, จรรจา สันตยากร, ปกรณ ์ ประจันบาน, และวิโรจน์ วรรณภิระ. (2554). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 5(3), 17-28.

ภูริชญา เทพศิริ. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลทองหลาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. (สารนิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

มุทิตา วรรณชาติ. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 45(ฉบับพิเศษ), 18-29.

รติพร ถึงฝั่ง, และสุพรรณี ไชยอำพร. (2560). การเกื้อหนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในบริบทชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์ทางเครือญาติและชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์หลากหลาย. วารสารพัฒนาสังคม, 19(2), 1-20.

วิลาวัลย์ รัตนะ. (2552). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2562). อัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ. สืบค้นจาก https://pbi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd

สุวัฒน์ มหัตนิรัยดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, และราณี พรมานะจิรังกุล. (2541). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

Bakas, T., McLennon, S. M., Carpenter, J. S., Buelow, J. M., Otte, J. L., Hanna, K. M.,… Welch, J. L. (2012). Systematic review of health-related quality of life models. Health and Quality of Life Outcome, 10, e134. doi: 10.1186/1477-7525-10-134.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Cohen, S., & Syme, S. L. (1985). Social support and health. Orlando, FL: Academic Press.

House, J. S. (1985). Work stress and social support. New Jersey: Prentice-Hall.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2011). Health promotion in nursing practice (6th ed.), Boston: Pearson.

Turcotte, M. (2013). Family caregiving in chronic illness: What are the consequences. Retrieved from https://www150.statcan.gc.ca/n1/en/pub/75-006-x/2013001/article/11858-eng.pdf?st=jjeXuOL9.

Wortman, C. B. (1984). Social support and the cancer patients: Conceptual and methodological issues. Cancer, 53(Suppl. 10), 2339-2362.

Zimet, G. D., Dahlem, N. W., Zimet, S. G., & Farley, G. K. (1988). The multidimensional scale of perceived social support. Journal of Personality Assessment, 52(1), 30-41.