จิตบริการสู่งานเป็นเลิศ: บทบาทบุคลากรสายสนับสนุน
Main Article Content
บทคัดย่อ
จิตบริการ เป็นหัวใจสำคัญของงานบริการ ผู้ให้บริการที่ดีต้องแสดงพฤติกรรมบริการที่เหมาะสมด้วยความเต็มใจ ใส่ใจและมุ่งทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้รับบริการด้วยใจที่เป็นสุข โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน พฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร โดยเฉพาะบุคลากรสายสนับสนุนซึ่งมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอกองค์กร
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ ความหมายและความสำคัญของจิตบริการ บทบาทของบุคลากรสายสนับสนุนในการสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร และปัจจัยเสริมแรงที่ทำให้พฤติกรรมจิตบริการคงอยู่ พฤติกรรมจิตบริการที่ดี ได้แก่ ให้บริการด้วยรอยยิ้ม สุภาพอ่อนโยน กระตือรือร้น รวดเร็ว ลดขั้นตอน ถูกต้องครบถ้วน มีคุณภาพ เปิดใจ ยอมรับข้อเสนอแนะ และปรับปรุงพฤติกรรมบริการบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ และส่งเสริมให้การปฏิบัติงานตามพันธกิจ มีความคล่องตัว เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายขององค์กร นอกจากนี้ ลักษณะเฉพาะของบุคคลก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้บุคคลเป็นผู้ให้บริการที่เป็นเลิศ ทั้งความสามารถทางสติปัญญา ลักษณะพฤติกรรม ค่านิยม และทัศนคติในการให้บริการ
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
ชมพู เนินหาด, สุชาดา นิ้มวัฒนากุล, และปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์. (2561). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาตน พัฒนางานอย่างสร้างสรรค์: กรณีศึกษา บุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(3), 217-230.
ชมพู เนินหาด, ดาราวรรณ รองเมือง, ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์, และนุชนาถ ประกาศ. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 43-55.
ตรีเพ็ชร์ อ่ำเมือง. (2553). คู่มือ-เทคนิคการให้บริการด้วยใจ. นครปฐม: งานเลขานุการกิจและสภาคณาจารย์ กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
นักรบ นาคสุวรรณ์. (2559). วัฒนธรรมการบริการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 283-295.
มนต์จรัส วัชรสิงห์, เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์, และสุนทรี ศักดิ์ศรี. (2558). จิตบริการและแรงจูงใจในการทำงานที่พยากรณ์ประสิทธิภาพการให้บริการของพยาบาล. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 8(2), 115-131.
พระราชบัญญัติ สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562. (2562, เมษายน 5). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 43 ก หน้า 40-65.
แสงโฉม ถนอมสิงห์, วิไล ทองทวี, สุนีย์ โยละกุล, และสุรีย์พร องอาจอิทธิชัย (บ.ก.). (2562). แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก สถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2563 – 2567. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
ลักษณ์มี จิรวัฒนธรรม, ภารดี อนันต์นาวี, และเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 9(2), 139-150.
ส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารกองการพยาบาล, 35(1), 16-30.
สมยศ พนธารา, ปราณี เกิดผล, ศักดิ์นรินทร์ หลิมเจริญ, และพิชชาภา ห้อมา. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ และความสมดุลในชีวิตของบุคลากร โรงพยาบาลเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 128-139.
Vongsarayankura, S. (2014). Ombudsman function to enhance social trust and quality of public service. Journal of Thai Ombudsman, 7(2), 7-12.