ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสะโพก หอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสงขลา

Main Article Content

ศุภพร ศรีพิมาน
ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา
ชุติวรรณ ปุรินทราภิบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสะโพก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก ที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสงขลา จำนวน 27 คน เครื่องมือการวิจัย คือ 1) โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสะโพก และ 2) แบบสอบถามผลโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสะโพก ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสะโพก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ซึ่งแบบสอบถามความรู้ มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร K-R 20 เท่ากับ .74 แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .84 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


           ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสะโพก กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


          พยาบาลสามารถนำโปรแกรมส่งเสริมการการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดข้อสะโพกนี้ไปใช้ เพื่อการฟื้นฟูสุขภาพหลังผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชญานันทน์ ช่วยบุดดา, ศิริพรรณ ศรีเปารยะ, และเพ็ญศรี ยาวส่ง. (2552). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกันการหักซ้ำของผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน โรงพยาบาลกระบี่. กระบี่เวชสาร, 2(2), 9-16.

ธนพร รัตนาธรรมวัฒน์, และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก. วารสารพยาบาลตำรวจ, 10(2), 289-295.

เพ็ญศรี เลาสวัสดิ์ชัยกุล, และบังอร ชาตริยานุโยค. (2554). ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิกในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม: การศึกษาเปรียบเทียบย้อนหลัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 17(1), 20-35.

วิภาพร ลีเลิศมงคลกุล, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, และพัชรพล อุดมเกียรติ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย ความเจ็บปวดและการสนับสนุนทางสังคมกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระยะฟื้นตัว ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. วารสารพยาบาลศาสตร์, 31(2), 26-37.

วีณา วงษ์งาม, กนกพร สุคำวัง, และภารดี นานาศิลป์. (2557). ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ทีกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้น. พยาบาลสาร, 41(2), 72-82.

สุชีลา จันทร์วิทยานุชิต. (2554). The challenging treatment in osteoporosis patient. ใน สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย, การประชุมวิชาการสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ.2554 (pp. 19-21). กรุงเทพฯ: สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย.

สุวคล โกสีย์ไกรนิรมล, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, อรพรรณ โตสิงห์, และชลเวช ชวศิริ. (2553). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะของตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการเคลื่อนไหวของลำไส้ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว. วารสารพยาบาลศาสตร์, 28(2), 58-66.

เสาวภา อินผา (2550). โปรแกรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลศิริราช (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

หน่วยสถิติ โรงพยาบาลสงขลา. (2563). สถิติผู้ป่วย พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562. สงขลา: โรงพยาบาลสงขลา.

Abbas, A. K., Murtaza, G., Umer, M., Rashid, H., & Qadir, I. (2012). Complications of total hip replacement. Journal of the College of Physicians and Surgeons Pakistan, 22(9), 575-578.

American Academic of Orthopedic Surgeons. (2014). American academy of orthopaedical surgeons clinical practice guideline on management of hip fractures in the elderly. Retrieved from https://www.guidelinecentral.com/summaries/american-academy-of-orthopaedic-surgeons-clinical-practice-guideline-on-management-of-hip-fractures-in-the-elderly/#section-society.

Bandura, A. (1977). Self-Efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychology Review Issues, 84(2), 191-215.

Bertram, M., Norman, R., Kemp, L., & Vos, T. (2011). Review of the long –term disability association with hip fracture. Injury Prevention, 17(6), 365-370.

Brauer, C. A., Coca-Perraillon, M., Cutler, D. M., & Rosen, A. B. (2009). Incidence and mortality of hip fractures in the United States. Journal of American Medical Association, 302(14), 1573-1579.

Cheng, S. Y., Levy, A. R., Lefaivre, K. A., Guy, P., Kuramoto, L., & Sobolev, B. (2011). Geographic trends in incidence of hip fractures: A comprehensive literature review. Osteoporosis International, 22(10), 2575–2586.

Cushner, F., Agnelli, G., Fitzgerald, G., & Warwick, D. (2010). Complications and functional outcomes after total hip arthroplasty and total knee arthroplasty: Results from the Global Orthopaedic Registry (GLORY). American Journal of Orthopedics, 39(9), 22-28.

Feng, L., Scherer, S. C., Tan, B. Y., Chan, G., Fong, N. P., & Ng, T. P. (2010). Comorbid cognitive impairment and depression is a significant predictor of poor outcomes in hip fracture rehabilitation. The Psychologist, 22(2), 246-253.

Lee, S. J., & Reeves, T. C. (2007). Edgar Dale: A significant contributor to the field of educational technology. Educational Technology, 47(6), 56-59.

Mak, J. C. S., Cameron, I. D., & March, L. M. (2010). Evidence-based guidelines for the management of hip fractures in older persons: An update. The Medical Journal of Australia, 192(1), 37-41.

Marques, A., Lourenco, O., & Da Silva, J. A. P. (2015). The burden of osteoporotic hip fractures in Portugal:Costs, health related quality of life and mortality. Osteoporosis International, 26(Suppl2), 2623-2630.

Nikkel, L. E., Fox, E. J., Black, K. P., Davis, C., Andersen, L., & Hollenbeak, C. S. (2012). Impact of comorbidities on hospitalization costs following hip fracture. The Journal of Bone & Joint Surgery, 94(1), 9-17.

Phadungkiat, S., Chariyalertsak, S., Rajatanavin, R., Chiengthong, K., Suriyawongpaisal, P., & Woratanarat, P. (2002). Incidence of hip fracture in Chiang Mai. Journal of Medical Association of Thailand, 85(5), 565-571.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2018). Essentials of nursing research: appraising evidence for nursing practice (9th ed). Philadelphia, PA: Wolters Kluwer.

Scottish Committee for Orthopaedics and Trauma, Royal College of Emergency Medicine National Board for Scotland, & British Geriatrics Society. (2018). Scottish standards of care for hip fracture patients 2018. Retrieved from https://www.shfa.scot.nhs.uk/_ docs/2018/ Scottish-standards-of-care-for-hip-fracture-patients-2018.pdf

Taylor, N. F., Harding, K. E., Dowling, J., & Harrison, G. (2010). Discharge planning for patients receiving rehabilitation after hip fracture: A qualitative analysis of physiotherapists’ perceptions. Journal Disability and Rehabilitation, 32(6), 492-499.

Taylor, D. C. M., & Hamdy, H. (2013). Adult learning theories: Implications for learning and teaching in medical education: AMEE Guide No.83. Medical Teacher, 35(11), e1561-1572.

Wallace, S., & Ellington, B. J. (2014). Factors affecting postsurgery hip fracture recovery. Journal of Osthopaedics, Trauma and Rehabilitation, 18, 54-58.

Wills, T. A., & Ainette, M. C. (2012). Social networks and social support. In A. Baum, T. A. Revenson, & J. Singer (Eds.), Handbook of health psychology (pp. 465–492). Washington DC: Psychology Press.