การพัฒนาโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ สร้างและพัฒนาโปรแกรม และประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจ มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสถานการณ์การใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยทบทวนแฟ้มประวัติการรักษาของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 121 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา 2) สร้างและพัฒนาโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจ จากการทบทวนวรรณกรรมและสถานการณ์การใช้เครื่องช่วยหายใจ มายกร่างเป็นโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และ 3) ศึกษาผลของการนำโปรแกรมฯ ไปทดลองใช้กับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสงขลา โดยกลุ่มทดลองเป็นผู้ป่วยที่ใช้โปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่พัฒนาขึ้น 30 คน และกลุ่มควบคุมใช้โปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามมาตรฐานเดิม จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann Whitney U Test และสถิติการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า
- 1. สถานการณ์การใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสงขลา พบว่ามีระดับความรู้สึกตัวที่คะแนน 8-10T ร้อยละ 91.70 ระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจ 1-7 วัน ร้อยละ 34.70 ค่าเฉลี่ยการใช้เครื่องช่วยหายใจ 12.68 วัน ความสำเร็จการหย่าเครื่องช่วยหายใจ 1-7 วันร้อยละ 38.00 รวมทั้ง ไม่มีการวัดร้อยละความสำเร็จ และดัชนีหายใจเร็วตื้น
- 2. โปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสงขลา “SICU MODEL” มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การประเมินสถานการณ์ การให้การพยาบาล แนวทางการสื่อสาร และทีมสหสาขาวิชาชีพ
- 3. ผลการเปรียบเทียบระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .001 แต่มีอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจไม่แตกต่างกัน
จากผลการวิจัยนี้ ควรสนับสนุนให้มีการนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่น เพื่อส่งเสริมคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่หย่าเครื่องช่วยหายใจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
ธารทิพย์ วิเศษธาร, กัญจนา ปุกคำ, และสมจิตร์ ยอดระบำ. (2562). การพัฒนารูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 30(2), 176-192.
นันทิกานต์ กลิ่นเชตุ, และศิริพร สว่างจิตร. (2561). ความพร้อมของผู้ป่วยกับความสำเร็จในการหย่า เครื่องช่วยหายใจ. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(2), 79-85.
ปนุฎชา พงศ์สวัสดิ์. (2561). ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลเลย. ชัยภูมิเวชสาร, 38(3), 28-38.
ปทิตตา ปานเฟือง, อำภาพร นามวงศ์พรหม และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2559). ประสิทธิผลของกาใช้แนวปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤติที่ใสเครื่องช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(3), 159-167.
ประนอม ดวงใจ. (2559). ผลของแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด ในโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารกรมการแพทย์, 41(2), 85-94.
พิศมัย นันทิเกียรติกุล. (2562). ประสิทธิผลของแนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในทารกที่ใช้เครื่องช่วยหายใจหอผู้ป่วยหนักเด็ก โรงพยาบาลนครพนม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(4), 721-729.
เยาวลักษณ์ วุฒิยาสาร, ฐิตินันท์ วัฒนชัย, นิภาดา ธารีเพียร, และพรรณราย สุนทรจามร. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(4), 89- 113.
รังสรรค์ ภูรยานนทชัย, และชิติมาภรณ์ จันทร์พราหมณ์. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ระหว่างการใช้และไม่ใช้ดัชนีการหายใจเร็วตื้นในผู้ป่วยภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันหลังจากผ่านการประเมินความพร้อมทางคลินิก. สงขลานครินทร์เวชสาร, 34(4), 153-161.
ลัดดาวรรณ เสียงอ่อน, และธารารัตน์ ส่งสิทธิกุล. (2562).การเสริมสร้างความสามารถแห่งตนต่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจ: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 13(3), 1-9.
ศรัจจันทร์ ธนเจริญพัทธ์, อุษา วงษ์อนันต์, ศศิธร ศิริกุล, จิรัญญา กาญจนโบษย์, และอุษา กลิ่นขจร. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(2), 83-91.
เอกรัฐ ทองเต็ม, วาสนา รวยสูงเนิน, และดลวิวัฒน์ แสนโสม. (2558). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสำเร็จการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(2), 74-82.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed). New York: Lawrence Erlbaum.
Chen, Y. J., Jacobs, W. J., Quan, S. F., Figueredo, A. J., & Davis, A. H. T. (2011). Psychophysiological determinants of repeated ventilator weaning failure: An explanatory model. American Journal of Critical Care, 20(4), 292-302.
Leo, M. H., & Van Der Hoeven, J. G. (2010). Clinical review: The ABC of weaning failure - A structured approach. Critical Care, 14(6), 1-9.
Kwong, M. T., Colopy, G. W., Weber, A. M., Ercole, A., & Bergmann, J. H. (2019). The efficacy and effectiveness of machine learning for weaning in mechanically ventilated patients at the intensive care unit: A systematic review. Bio-Design and Manufacturing, 2(1), 31-40.