ความพร้อมการให้บริการและการรับรู้การปฏิบัติการ ตามมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพร้อมในการให้บริการตามมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 2) ระดับการรับรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และ 3) เปรียบเทียบการรับรู้การปฏิบัติการตามมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน จำแนกตามหน่วยบริการที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความพร้อมในการให้บริการตามมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และแบบสอบถามการรับรู้การปฏิบัติงานตามระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .70 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
- หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดพัทลุง มีความพร้อมในการให้บริการตามมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยรวม (ร้อยละ 90.00) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความพร้อมด้านยานพาหนะ วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ร้อยละ 100 รองลงมา คือด้านผู้ปฏิบัติ ร้อยละ 99.50 และด้านงบประมาณ ร้อยละ 90.50
- การรับรู้การปฏิบัติงานตามระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน จำแนกตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงาน พบว่าทั้งสามกลุ่มมีการรับรู้ในระดับมากที่สุด โดยผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลมีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับการรับรู้สูงที่สุด (M = 4.81, SD = .40) รองลงมาคือผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัด (M = 4.79, SD = .43) และเทศบาล (M = 4.51, SD = .59) ตามลำดับ
- ผลการเปรียบเทียบการรับรู้การปฏิบัติงานตามกระบวนการปฏิบัติงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินจำแนกตามหน่วยบริการพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F2, 66.4 = 6.991, p < .05) และผลการทดสอบรายคู่พบว่า ผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบล มีการรับรู้การปฏิบัติตามกระบวนการปฏิบัติงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แตกต่างจากผู้ปฏิบัติงานในเขตเทศบาล
ผลการวิจัยนี้ สะท้อนถึงการยกระดับการดำเนินงานตามระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ที่มีศักยภาพเป็นต้นแบบในการปฏิบัติงานตามระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กิตติพงศ์ พลเสน, ธีระ ศิริสมุด, และพรทิพย์ วชิรดิลก. (2561). สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการ แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารสุขศึกษา, 41(2), 51-63.
ภัคณัฐ วีรขจร, สุรีย์ จันทรโมลี, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, และมยุนา ศรีสุภนันต์. (2560). รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติการฉุกเฉินของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 87-103.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
นริสสา พัฒนปรีชาวงศ์, รัญชนา สินธวาลัย และนภิสพร มีมงคล. (2555). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล. วารสารวิจัย มข., 17(6), 911-932.
เมธาวี ขุมทอง. (2556). ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามการรับรู้ของอาสาสมัครกู้ชีพฉุกเฉินเบื้องต้น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
รักษ์นรินทร์ แก้วมีศรี, ธรรมพร หาญผจญศึก,นันท์นภัส สุจิมา, วธุสิริ ฟั่นคำอ้าย, สุปราณี ใจตา, ปัณณพัฒน์ คำตุ้ย, เปรมรวิทย์ เสนาฤทธิ์, และนิตยา บุญมูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินแบบบูรณาการเชิงพื้นที่สาหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในบริบทชุมชนภายใต้สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท (รายงานวิจัย). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
รสสุคนธ์ วาริทสกุล, พิเชต วงวอต, และศิริอร สินธุ. (2558). การศึกษาความพึงพอใจของเครือข่ายระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการให้การสนับสนุนของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(3), 42-50.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง. (2560). รายงานสรุปผลการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. พัทลุง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง. (2562). รายงานสรุปผลการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. พัทลุง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2551). รายงานประจำปี 2551. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2558). คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการ คัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2559). รายงานประจำปี 2559. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2562). รายงานประจำปี 2562. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2561). แพทย์หลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ.2562-2564. นนทบุรี: อัลทิเมจ พริ้นติ้ง.
สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. (2563). รายงานสถิติการแพทย์ฉุกเฉิน. สืบค้นจาก https://ws.niems.go.th/ITEMS_DWH/.
สุรภา ขุนทองแก้ว. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(1), 30-44.
Easton, D. (1965). A systems analysis of political life. New York: John Wiley.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.